วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

โปรแกรมภาษา HTML

ภาษา HTML คืออะไร ?
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา web page เพื่อให้โปรแกรม web brower ต่างๆ (Internet Explorer, Netscape, Opera) สามารถแปลงคำสั่ง แสดงผลในลักษณะของรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว โดยไฟล์ที่สร้างจะมีนามสกุล .html หรือ .htm การสร้างและแก้ไขสามารถใช้โปรแกรม NotePad, WordPad ในวินโดวส์ ลักษณะของไฟล์จะเป็น Text ไฟล์ธรรมดา
ตัวอย่างโครงสร้างภาษา HTML


โปรแกรมแรกของดิฉัน



Sawasdee ค่ะ นี่คือ Web Page แรกของดิฉัน


หมายเหตุ :- ตัวหนังสือสีแดง คือคำสั่งในภาษา HTML
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า แต่ละคำสั่งจะอยู่ในเครื่องหมาย "< >" ซึ่งเราเรียกว่า แทก "TAG" แต่ละคำสั่งจะเป็นการบอกจุดเริ่มต้นของคำสั่ง และจุดสิ้นสุดของคำสั่งจะมีสัญลักษณ์ ""
A. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นเอกสาร HTML (คำสั่งนี้จะอยู่ตอนบนสุดและล่างสุดของไฟล์)
B. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อเรื่องของไฟล์ HTML
C. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อของเอกสาร (คำสั่งนี้จะอยู่ระหว่างคำสั่ง HEAD)
D. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นส่วนของรายละเอียด (คำสั่งนี้จะอยู่หลังคำสั่ง HEAD)
E. ภาพตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจาก Notepad
โปรแกรม NotePad เป็น Text Editor (โปรแกรมที่ใส่ข้อมูลได้เฉพาะตัวอักษรและตัวเลข รูปภาพไม่สามารถบันทึกได้) ตัวหนึ่งที่มีมาพร้อมกับ Windows ทุกเวอร์ชั่น เราสามารถเรียกโปรแกรม Notepad ขึ้นมาใช้งานได้โดย
1. คลิกปุ่ม Start
2. เลือกโปรแกรม Programs
3. เลือก Accessories
4. และเลือก NotePad
หลังจากนั้นเวลาบันทึก ให้เลือกเมนู File เลือก Save เลือกตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งชื่อไฟล์หลักของ Web Page มักจะใช้ชื่อว่า index.html หรือ index.htm หลังจากสร้างเสร็จแล้ว เราสามารถเลือกโปรแกรม browser ซึ่ง ณ ที่นี้เราจะเรียกโปรแกรม Microsoft Internet Explorer ซึ่งมีมาพร้อมกับ Windows เวอร์ชั่น 95 ขึ้นไป โดยการ...
1. คลิกปุ่ม Start
2. เลือก Programs
3. เลือก Internet Explorer
4. จากนั้นเลือกเมนู File เลือก Open
5. และเลือกชื่อไฟล์ ทีเราตั้งชื่อไว้ อาจะเป็น index.html หรือ index.htm
ภาพรวมการสร้างเวป
ขั้นตอนการสร้างเวป | โดเมนเนมคืออะไร ? | ภาษา HTML ?
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ต เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งอีเมล นอกจากนี้การท่องไปยังโลกอินเตอร์เน็ต ผ่านโปรแกรมเวปบราวเซอร์ก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ตัวอักษร หรือรูปภาพที่คุณๆ เห็นอยู่นี้ เราเรียกว่า เวปเพจ ซึ่งผู้สร้างมักต้องการให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆ ทั้งนี้อาจทำเพื่อการค้า หรือเพื่อความสนุกสนานก็ได้ การสร้างเวปเพจ เราสามารถมีเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก เชื่อเถอะครับ ถ้าท่านพอมีเวลา ลองศึกษาจากเวปเพจนี้ เราจะนำท่านเข้าสู่การเป็นผู้สร้างเวป หรือที่เราเรียกว่า Web Master ได้อย่างแน่นอน...
ขั้นตอนการสร้างเวป ตั้งแต่ต้นจนจบ
จัดสร้างเวปเพจ ด้วยโปรแกรมต่างๆ หรืออาจเขียนเวปโดยใช้ภาษา HTML
การจดทะเบียนชื่อเวป เช่น http://www.siam.com หรือ http://www.siam.co.th เป็นต้น
เช่าพื้นที่ เพื่อฝากเวปเพจที่เราสร้างขึ้นกับบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือถ้าต้องการของฟรีเพื่อทดสอบฝีมือก่อน ก็หาได้ ที่นี่ (ถ้าขอใช้พื้นที่ฟรี จะมีชื่อเวปฟรีให้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนชื่อเวป)
โอนย้ายข้อมูลไปยัง Host หรือ เวปที่เราจะฝาก เวปเพจของเรา วิธีการโอนย้ายข้อมูล
ปรับปรุง แก้ไขอยู่เสมอ
การโปรโมทเวปไซท์ ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก
Domain Name คืออะไร
domain name คือชื่อเวปไซท์ เช่น www.yahoo.com ชื่อเวปไซท์คือ yahoo เป็นต้น
การจด domain name ต่อท้าย เช่น .com หรือ .co.th นั้น มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
.com จะต้องเสียค่าใช้จ่าย $70 ต่อ 2 ปีแรก
.co.th เสีย 800 บาทต่อปี และต้องใช้ ภพ.20 (หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท)
ลักษณะของโดเมน
- www.***.com หมายถึง Top-Level-Domain
- www.***.com หมายถึง ชื่อที่ขอจดโดเมน
- www.***.com หมายถึง สับย่อย (Sub) ของโดเมน
ขอจดโดเมนได้ที่ไหน ?
1. จดโดเมนจาก thnic.net คือโดเมนที่ตามด้วย .th
2. จดโดเมนจาก internic.net
การจดโดเมนจาก thnic.net
thnic.net เป็นองค์กรในประเทศไทย รับจดโดเมนเนม แต่มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งจะต้องใช้ ภพ. 20 หรือ ท.ค.0401 มาขอจด และจดที่ขอจดต้องตรงกับ ภพ.20 เท่านั้น ซึ่งต่างกับการจด internic.net สำหรับประเภทของการขอจดมีดังนี้
- ac.th สำหรับสถานศึกษา
- co.th สำหรับ บริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
- go.th สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาล
- net.th สำหรับบริษัทเครือข่ายในประเทศไทย
- or.th สำหรับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
- in.th สำหรับเวปไซท์ของบุคคลธรรมดา
ก่อนจดชื่อโดเมนเนม สามารถตรวจสอบชื่อได้ที่นี่ thnic.net
การจดโดเมนจาก internic.net
internic หรือ networksolutions.com รับจดโดเมนมีรายละเอียดดังนี้
- .org สำหรับองค์กรไม่หวังผลกำไร มูลนิธิ
- .net สำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องระบบเน็ตเวิร์ก คอมพิวเตอร์
- .edu สำหรับองค์กรด้านการศึกษา
- .com สำหรับองค์กรการค้าต่างๆ
- .gov สำหรับองค์กรราชการ
- .mil สำหรับองค์กรด้านการทหาร ความมั่นคงของประเทศ
ก่อนจดชื่อโดเมนเนม สามารถตรวจสอบชื่อได้ที่นี่ internic.net หรือ networksolutions
ภาษา HTML คืออะไร ?
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเวปเพจ เพื่อให้โปรแกรมเวปบราวเซอร์ (web brower) ต่างๆ สามารถแปลงคำสั่ง แสดงผลในลักษณะของรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว โดยไฟล์ที่สร้างจะมีนามสกุล .html การสร้างและ แก้ไขสามารถใช้โปรม NotePad, WordPad ในวินโดวส์ได้ เนื่องจากไฟล์จะมีลักษณะเป็น Text ไฟล์ธรรมดา
ตัวอย่างคำสั่งภาษา HTML


ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ภาษา HTML



Sawasdee ครับคนไทยทั้งประเทศ นี่คือเวปเพจของผม


ผลการรันโดยใช้ web browser
ที่ title bar ด้านบนสุดของโปรแกรม web browser จะมีข้อความว่า
"ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ภาษา HTML"
ส่วนในเนื้อความ จะมีข้อความ
"Sawasdee ครับคนไทยทั้งประเทศ นี่คือเวปเพจของผม"
การ Save ไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTML ต้อง Save นามสกุลเป็น .html หรือ .htm ดังตัวอย่างนี้ "sample.html"
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า แต่ละคำสั่งจะอยู่ในเครื่องหมาย "< >" ซึ่งเราเรียกว่า แทก "TAG" แต่ละคำสั่งจะเป็นการบอกจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดจะมีสัญลักษณ์ "" เช่น
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นเอกสาร HTML
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อเรื่องของไฟล์ HTML
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อของเอกสาร
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นส่วนของรายละเอียด รูปแบบหนึ่งของการบริการบนเครือข่ายที่มาแรงคือ World Wide Web หรือ WWW เพราะเป็นการปฏิวัติการสื่อสารบนเครือข่ายที่ในอดีตทำได้เฉพาะตัวอักษร (Text) หรือข้อความล้วนๆ ซึ่งขาดความน่าสนใจ มาสู่การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพและเสียง มัลติมีเดียไฟล์ชนิดต่างๆ
HTML : อักษรวิเศษของทิม
Tim Berners-Lee WWW ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางอนุภาคฟิสิกส์ของยุโรป (CERN) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในครั้งแรก ทิมเพียงคิดอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์ของสถาบันให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น จึงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลได้ เรียกว่า "ไฮเปอร์เท็กซ์" (Hypertext)
เมื่อได้ตัวอักษรที่มีคุณสมบัติพิเศษแล้ว สิ่งที่พัฒนาขึ้นต่อจากไฮเปอร์เทกซ์ก็คือเครื่องมือสำหรับอ่านตัวอักษรที่เขาประดิษฐ์ขึ้น และเรียกเครื่องมือนี้ว่า "บราวเซอร์" (Browser) เพียง 3 ปีหลังจากกำเนิดไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้นมา โปรแกรมบราวเซอร์ตัวแรกชื่อ Mosaic ซึ่งทำงานบนระบบ X-Windows ก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมาในระบบการสื่อสารข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และยังเป็นแม่แบบของบราวเซอร์ตัวอื่นๆ เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera, Firefox, Mozilla เป็นต้น และก่อให้เกิดกระแสโลกไร้พรมแดนขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเราเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้บราวเซอร์ในการสืบค้นข้อมูลสิ่งที่พบในหน้าต่างบราวเซอร์คือ โฮมเพจ หรือ เว็บเพจนั่นเอง การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจนี้จะใช้คำสั่งภาษาของทิมคือ ไฮเปอร์เทกซ์ แม้ว่าต่อมาจะมีการพัฒนาโปรแกรมที่ทำให้เราสามารถสร้างเว็บเพจได้อย่างง่ายดาย แต่สุดท้ายการจัดเก็บไฟล์ การแก้ไขให้ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุดก็ด้วยการใช้ตัวอักษรของทิม ที่เรียกกันติดปากว่า ภาษา HTML อยู่นั่นเอง
ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ HyperText
ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย ตลอดจนความสามารถในการเชื่อมโยงไปเว็บไซต์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText (ข้อความหลายมิติ) ซึ่งเป้นข้อความที่มีความสามารถมากกว่าปกตินั่นเอง ซึ่งมีผู้ให้คำนิยามของเว็บไว้ดังนี้ The Web is a Graphical HyperText Information System.
การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู
The Web is Cross-Platform
เอกสาร HTML ไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเป็น UNIX หรือ Windows ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องบริการเว็บได้
The Web is distributed.
ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล
The Web is interactive.
การทำงานบนเว็บเป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบโต้ตอบ (Interactive) ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่านบราวเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง
Homepage - Webpage - Website : อะไรกันแน่?
เว็บเพจ เว็บไซต์ และโฮมเพจ คำสามคำนี้จะมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่มักจะถูกเรียกสลับกันจนสับสน ไม่ทราบว่าคำไหนคืออะไรกันแน่ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรงกัน จึงขอให้ความหมายไว้ดังนี้
โฮมเพจ หมายถึง หน้าแรก ถ้าเปรียบหนังสือก็จะหมายถึงปกหน้าซึ่งเป็นส่วนแรกที่ผู้ชมจะพบเห็นก่อนเป็นลำดับแรก การทำโฮมเพจให้สวยงามน่าประทับใจคุณก็มีชัยมากกว่าครึ่งแล้ว
เว็บเพจ หมายถึง หน้าเว็บทุกๆ หน้าซึ่งรวมหน้าแรกด้วย เปรียบเหมือนหนังสือหน้าต่างๆ นั่นเอง ซึ่งจะขยายส่วนเนื้อหาต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เว็บไซต์ หมายถึง กลุ่มของหน้าเว็บเพจที่รวมกันและถูกอ้างถึงว่าตั้งอยู่ที่ใด เปรียบเหมือนที่วางหนังสือเล่มนั้นๆ ว่าอยู่ที่ชั้นใด หิ้งใด เราจะพบว่าการบอกตำแหน่งนั้นจะระบุเป็นชื่อ URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งเราจะพิมพ์ลงไปในช่อง Address ของบราวเซอร์ เช่น http://www.krumontree.com
HTML : ภาษาหลักของการสร้างเว็บเพจ
ภาษา HTML เป็นภาษาหลักของการสร้างเว็บเพจ ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Hyper Text Markup Language" ถูกพัฒนามาจากอักษรวิเศษของทิมนั่นเอง HTML เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ มีประโยชน์สูง ภายในเว็บเพจหน้าหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยคำสั่ง HTML ต่างๆ มากมาย โครงสร้างของภาษา HTML ถูกควบคุมและกำหนดโดยองค์กรที่เรียกว่า W3C (World Wide Web Consortium) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทำให้บราวเซอร์ทุกตัวทุกค่ายอ่านเว็บเพจได้
ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีรูปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย คำสั่ง (tag) ที่อยู่ภายในเครื่องหมาย < (น้อยกว่า) และเครื่องหมาย > (มากกว่า) มีรูปแบบดังนี้ <คำสั่ง> ในแต่ละคำสั่งสามารถมีคำสั่งขยายเพิ่มเติมเติมได้ เพื่อช่วยให้เกิดผลในการแสดงผ่านโปรแกรมบราวเซอร์แตกต่างกัน เช่น
ตัวอย่าง 1 : ตัวอักษรสีแดง
ผลลัพธ์ 1 : ตัวอักษรสีแดง
ตัวอย่าง 2 :ตัวอักษรสีแดงขนาดเท่ากับ 3
ผลลัพธ์ 2 : ตัวอักษรสีแดงขนาดเท่ากับ 3
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าคำสั่ง (tag) จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนเปิด <คำสั่ง> และส่วนปิด เป็นคู่ๆ เสมอ (ส่วนปิดจะมีเครื่องหมาย / (slash) นำหน้า และไม่มีคำสั่งขยายเพิ่ม) แต่ก็มีบางคำสั่งที่ไม่จำเป็นต้องมีคู่ปิดได้ ซึ่งเราจะได้ศึกษารายละเอียดในลำดับต่อไป
โครงสร้างหลักของภาษา HTML
ในการเขียนภาษา HTML นั้น จะมีรูปแบบโครงสร้างการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ


<br /> ข้อความนี้จะแสดงบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์ <br />


ส่วนเนื้อหาของเว็บเพจ ประกอบด้วย
- ข้อความ
- รูปภาพ
- สื่อมัลติมีเดีย
ส่วนเนื้อหา
1 ส่วนประกาศ เป็นส่วนที่กำหนดให้บราวเซอร์ทราบว่า นี่คือภาษาเอชทีเอ็มแอล และจะต้องทำการแปรผลอย่างไรมีคำสั่งคู่เดียวคือ และ ปรากฏที่หัวและท้ายไฟล์
2.ส่วนหัวเรื่อง (head) เป็นส่วนที่แสดงผลข้อความบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์ และอาจมีคำสั่งสำหรับกำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคอื่นๆ อีก แทรกอยู่ระหว่างคำสั่ง และ
3.ส่วนเนื้อหา (body) เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนมากที่สุด และสามารถใส่เทคนิคลูกเล่นเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มาก ความแตกต่างระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ แสดงความมีฝีมือของผู้จัดทำ ศิลปะในการออกแบบจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมด ซึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างคำสั่ง และ
โครงสร้างของภาษา HTML
โครงสร้างของ ภาษา HTML นั้น ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้ คือ


การกำหนด background




โดยแต่และส่วนสามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้
และ เป็น tag ที่ใช้เพื่อกำหนดว่าเอกสารต่อไปนี้เป็นเอกสารที่ใช้ภาษา HTML เป็น Markup Language และจะไม่ปรากฏในโปรแกรม Web Browser
และ เป็น tag ที่ใช้กำหนดส่วนหัวของเอกสาร Head ไม่ได้เป็นส่วนของเอกสารภายใน แต่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารฉบับนี้
และ เป็นการระบุข้อความที่ต้องการให้เป็นส่วนหัวของเอกสาร Title จะเป็นส่วนหนึ่งของ Head โดยข้อความที่อยู่ใน Title จะไปปรากฏอยู่ที่ส่วนบนสุดของ Web Browser
และ เป็น tag ที่บอกถึงลักษณะต่าง ๆ ของเอกสารฉบับนี้ ซึ่งใน Body จะมี Attributes ต่าง ๆ ได้แก่ BGCOLOR (หมายถึงกากำหนดสีพื้นด้านหลังของเอกสาร) , TEXT (หมายถึงการกำหนดสีของตัวอักษรในเอกสาร) เป็นต้น
หมายเหตุ : <คำสั่ง> เรียกว่า tag เปิด เรียกว่า Tag ปิด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
คำศัพท์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรทราบ
Web Pageเป็นเอกสารข้อมูลต่างๆ ในแต่ละหน้า
ซึ่งจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ข้อมูลที่แสดงในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าอาจจะประกอบไปด้วยข้อความต่างๆ รูปภาพ กราฟฟิกต่างๆ และเสียง เป็นต้น
Home Pageเป็นเว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง
เปรียบเสมือนปกหนังสือ ส่วนของโฮมเพจนี้เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเรื่องใด พร้อมทั้งมีหัวข้อย่อยต่างๆ แยกออกไปตามแต่ผู้ใช้ต้องการจะเข้าไปค้นคว้าหรืออาจเรียกว่าเป็นสารบัญก็ได้
Web Siteเป็นที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจแต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลขอตน
มักใช้ชื่อองค์กรของตนเป็นชื่อเว็บไซต์เลยเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่ายที่สุด เช่น ชื่อเว็บไซต์ของโรงเรียนชลกันยานุกูล มีชื่อว่า chonkanya (www.chonkanya.net)
Web Browserเป็นโปรแกรมพิเศษที่ใช้สำหรับอ่านและแสดงข้อมูลที่เป็นภาษา HTML เพื่อให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเห็นผลลัพธ์ของเว็บเพจนั้นๆ ได้ โดยปัจจุบันมีโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอยู่สองโปรแกรมคือ Internet Explorer และ Netscape Navigator
URL(Uniform Resource Locator) คือ แหล่งที่อยู่ของเว็บไซต์ใดๆ เพราะฉะนั้นเราสามารถเข้าถึง website หนึ่งได้ โดยการพิมพ์ URL เช่น URL ของโรงเรียนชลกันยานุกูล คือ ้http://www.chonkanya.net
Domain Nameชื่อที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการระบุถึงเว็บไซต์ใดๆ เช่น เว็บไซต์ของโรงเรียนชลกันยานุกุล มีชื่อโดเมนเนม ว่า chonkanya.net ชื่อโดเมนจะแบ่งออกเป็นระดับชั้น โดยอาจจะเป็น 2 ระดับ หรือ 3 ระดับ ก็ได้ โดยแต่ละระดับจะถูกคั่นด้วยเครื่องหมายจุด เช่น
chonkanya.net = ชื่อโดเมนแบบ 2 ระดับ
google.co.th = ชื่อโดเมนแบบ 3 ระดับ
ส่วนแรก จะหมายถึงชื่อองค์กร
ส่วนที่สอง จะเป็นส่วนขยายบอกประเภทขององค์กร เช่น เป็นองค์กรของเอกชน หรือองค์กรของรัฐบาล
ส่วนที่สาม จะเป็นส่วนขยายบอกประเทศที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นตั้งอยู่
เช่น
google co th
| | |
ชื่อองค์กร ส่วนขยายบอกประเภทขององค์กร ส่วนขยายบอกประเทศ
ตัวอย่างส่วนขยายประเภทขององค์กร
com หรือ co หมายถึง องค์กรของเอกชน (Commercial organization)
edu หรือ ac หมายถึง สถาบันการศึกษา (Education organization)
gov หรือ go หมายถึง องค์กรของรัฐ (Government organization)
org หรือ or หมายถึง องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (Non-commercial organization)
mil หรือ mi หมายถึง องค์กรทางทหาร (Military organization)
net หมายถึง องค์กรให้บริการเครือข่าย (Network organization)
ตัวอย่างส่วนขยายบอกประเทศ
at หมายถึง ออสเตรเลีย
ca หมายถึง แคนาดา
de หมายถึง เยอรมนี
es หมายถึง สเปน
fr หมายถึง ฝรั่งเศส
it หมายถึง อิตาลี
jp หมายถึง ญี่ปุ่น
th หมายถึง ไทย
uk หมายถึง อังกฤษ
us หมายถึง สหรัฐอเมริกา
TML ย่อมาจาก คำว่า Hypertext Markup Language เริ่มพัฒนา โดย ทิม เบอร์
เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) เป็นภาษาที่ใช้เขียนไฟล์เอกสาร HTML ซึ่งเป็นไฟล์เอกสารที่
สามารถแสดงผลลัพธ์บนโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์ (World Wide Web) ตามระบบ
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) การแสดงข้อมูลของไฟล์เอกสาร HTML บนโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบ
ราเซอร์ของเว็บไซต์ (Web site) หนึ่งๆ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ดังนั้นไฟล์เอกสาร HTML จึงเป็น
ตัวแทนของโฮมเพจของเว็บไซต์นั้นๆ
ภาษา HTML เป็นภาษาคำสั่งชนิดกำกับข้อความ ซึ่งดัดแปลงมาจากภาษาเอสจีเอ็มแอล
(SGML : Standard Generalized Markup Language) เป็นภาษาคำสั่งกำกับอักขระแอสกีตาม
มาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ (ISO : International Standrad Organization) โดยได้รับการ
ลงทะเบียนเป็นภาษามาตรฐานหมายเลข ISO8879 : 1986
ไฟล์เอกสาร HTML เป็นไฟล์แสดงข้อมูลแบบกราฟฟิกในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ โดยได้รับ
การกำหนดชี่อไฟล์เป็น *.HTML ในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) โดยมีชื่อเป็น *.HTM ภายใต้
ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากโฮมเพจเป็นแหล่งข้อมูลที่เขียนด้วยภาษา
HTML ดังนั้นไฟล์เอกสาร HTML จึงนับว่าเป็นหัวใจของระบบเวิลด์ไวด์เว็บ
ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเราเรียกว่า “มาร์คอัพ” (Markup) ซึ่งไม่ใช่ภาษาเครื่องทั่วไป เรา
สามารถใช้ภาษามาร์คอัพระบุสิ่งต่าง ๆ ลงในเอกสารที่เห็นอยู่ได้โดยใส่เพียงรหัสที่อยู่ในรูปของ
อักษรเท่านั้น โดยอาจจะเขียนใน Notepad ของวินโดว์หรือโปรแกรมจัดเอกสารอื่น ๆ ที่เราถนัดก็
ได้ ซึ่งที่จริงแล้วขณะที่เราทำการสร้างเว็บเพจก็เหมือนกับกำลังทำในสิ่งที่คล้าย ๆ กับการที่ทำงาน
ลงในโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป
ทำไมต้องเป็น HTML
เราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือมากมายให้เลือกในการสร้าง Web Page โดยไม่
จำเป็นต้องมีความรู้ในโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งเลย ก็สามารถสร้าง Web Page ได้ อย่างไรก็
ตาม Tool หรือเครื่องมือสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่มีมาให้เลือกใช้นั้น จะสามารถทำได้เท่าที่โปรแกรม
เตรียมไว้เท่านั้น หากเราจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะต่าง ๆ นอกเหนือจากที่มีให้เลือกใช้
โดยที่เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาที่เขียน Web Page เลยก็คงลำบาก
บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาษา HTML - 2 -
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องศึกษาภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่สร้าง Web
Page ที่มีขั้นตอนการสร้างไม่ยากและใช้โปรแกรมในการสร้างเอกสาร HTML ที่มีมากับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องอยู่แล้ว โดยแทบจะไม่ต้องไปหาเครื่องมือใด ๆ มาเพิ่มเติมเลย
การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร
ในความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนด นอกจาก
โครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น หรือแม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็
สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั้งนี้เป็นเพราะว่าตัวโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุก
สิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น ยกเว้นใน ส่วนหัว ที่ต้อง มีการกำหนด
แยกออกไปให้ เห็นชัดเท่านั้น จะเขียน คำสั่ง หรือ ข้อความที่ต้องการให้แสดงอย่างไรก็ได้เป็น
เสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียง แต่ทำตำแหน่งใดมีการ ทำตำแหน่ง พิเศษขึ้นมาเว็บเบรา
เซอร์ถึงจะแสดงผล ออกมาตามที่ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับรหัสที่กำหนดเท่านั้น
เว็บไซต์ (Website)
หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้น
เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้
ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบาง
เว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่
ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ
ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์
โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูล
สารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้
ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บ
เปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น
1. อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) โดยบริษัทไมโครซอฟท์
2. มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) โดยมูลนิธิมอซิลลา
3. เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) โดยบริษัทเน็ตสเคป
บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาษา HTML - 3 -
4. ซาฟารี (Safari) โดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์
5. โอ_¨ö_ôöเปร่า (Opera) โดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์
6. คามิโน
7. แมกซ์ทอน
การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์
ไฟล์ของโปรแกรมภาษา HTML เป็นเท็กซ์(Text) ไฟล์ธรรมดาที่ใช้นามสกุลว่า .htm หรือ
.html เมื่อเราเขียนคำสั่งต่าง ๆ ลงในโปรแกรม Notepad แล้วเราจะต้อง Save ให้เป็นนามสกุล
ดังกล่าว ถ้าไม่เช่นนั้นเรา จะไม่สามารถ แสดงผลได้
URL (Uniform Resource Locator) หรือชื่อย่อ URL (ยูอาร์แอล) เดิมรู้จักกันในชื่อ Universal
Resource Locator เป็นคำศัพท์ทางเทคนิคทางด้านเว็บ ซึ่งมีความหมาย 2 อย่าง
โดยทั่วไปแล้ว มีค่าเทียบเท่ากับ Uniform Resource Identifier หรือ URI แต่ถ้าพิจารณาจาก
นิยมโดยละเอียด URL เดิมเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า ซึ่ง
ในปัจจุบันตาม REF1630 ถือว่าชื่อเรียกที่ถูกต้องคือ URI เพียงแต่ URL เป็นชื่อที่มีมานานกว่าและ
ได้รับความนิยมมากกว่า
ตัวอย่าง http://www.sawananan.ac.th
เราสามารถถอดความ URL ได้ดังนี้
HTTP หมายถึง HyperText Transfer Protocol เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์
เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
WWW หมายถึง World Wide Web เป็นพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต
sawananan.ac.th หมายถึง โดเมนเนม ซึ่งสามารถใช้ที่อยู่ในเครือข่ายหรือหมายเลขไอพีแทนได้
.com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร
.info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.net ย่อมาจาก network สำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องระบบเน็ตเวิร์ก คอมพิวเตอร์
.edu สำหรับองค์กรด้านการศึกษา
.ac.th ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
co.th ย่อมาจากcommercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
.or ย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.in.th ย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
.go.th สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาล
.gov สำหรับองค์กรราชการ
บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาษา HTML - 4 -
.mil สำหรับองค์กรด้านการทหาร ความมั่นคงของประเทศ
.biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.tv ย่อมาจาก television หมายถึง รายกายการโทรทัศน์
สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการเขียนโฮมเพจ
ก่อนที่จะลงมือเขียนโปรแกรมภาษา HTML เพื่อสร้างเว็บเพจ หรือ โฮมเพจ ได้นั้น ต้อง
เช็ค ความพร้อม ของอุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับการ สร้าง ก่อนว่า มีครบหรือไม่
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดตั้งแต่ 486 หรือ pentium ขึ้นไป
2. หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 8 MB
3. พื้นที่ฮาร์ดดิสต์ขนาดไม่น้อยกว่า 20 MB
4. Mouse
5. โปรแกรม Internet Explorer Version 3.0 ขึ้นไป
6. โปรแกรม Netscape Navigator Version 3.0 ขึ้นไป
7. โปรแกรม Notepad
ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการเขียน ภาษา HTML
• โปรแกรม Notepad
• โปรแกรม Editpus
• โปรแกรม Microsoft Office FrontPage
• โปรแกรม Macromedia Dreamweaver__
คำศัพท์ควรรู้
Active X
พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เป็น LOE (Object Linking and Enbedding) ที่จะช่วยให้คุณใช้งานไฟล์รูปแบบ Word Excel Access กับอินเตอร์เน็ตได้ โดยแบ่ง 2 ส่วนคือ ส่วนของซอฟต์แวร์ (ActiveX Control) เป็น OLE ที่มีการทำงานตามข้อกำหนดของ ActiveX และส่วนแอพพลิเคชั่น (ActiveX container) โดยการนำเอา ActiveX control มาประยุกต์ใช้งานนั่นเอง ซึ่งจะเป็นรูปแบบ VBScript หรือ JavaScript ก็ได้
ASP
ASP (Active WebServer Page) เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีส่วนขยายเป็น .asp ปกติมักจะนำมาใช้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ WindowsNT โดยอาศัยการควบคุมด้วยโปรแกรมอินเตอร์เน็ต Information เว็บเซิร์ฟเวอร์ (IIS) ของไมโครงซอฟท์ ลักษณะของไฟล์ *.asp จะประกอบด้วยโค้ดที่แทรกไว้ระหว่างโค้ดภาษา HTML การทำงาน ASP นั้นจะใช้การ เรียกใช้จากฝั่งผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยบราวเซอร์โดยจะมีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะแสดงผลที่บราวเซอร์ ช่วยลด ความอืดอาดในการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงได้มาก
Browser
บราวเซอร์ (Browser Web Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยาย เป็น *.htm *.html *.asp *.php *.pl ส่วนรูปภาพจะเป็นรูปแบบ *.jpg *.gif *.png เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอรืเน็ตกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ หรือระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้ สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความหรือรูปภาพได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกและยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้อีก มากมาย เช่น บริการ E-mail รับส่งข้อมูลผ่านบราวเซอรืได้ ในปัจจุบันยังสามารถที่จะฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุ หรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยบราวเซอร์และโปรแกรมเสริม(Plug-in)ต่าง ๆ ได้อีกด้วย มีโปรแกรมบราวเซอร์หลายโปรแกรม เช่น Internet Exporer (IE) , Netscape , Opera
CGI
CGI (Common Gateway interface) เป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้จัดเตรียมโปรแกรม CGI ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในขณะ ที่ยังสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เช่น การใช้งานห้องสนทนาที่จะรับข้อความมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และส่งข้อความของเขาและคนอื่น ๆ มาแสดงที่บราวเซอร์ได้ด้วย
เบื้องหลังของ CGI จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาสคริปต์หลายอย่าง เช่น โปรแกรม Perl ASP PHP เป็นต้นซึ่งจะมีส่วนประกอบ พื้นฐาน ดังนี้
GET -- ข้อมูลจะถูกส่งไปกับ query string ของ URL จะส่งข้อมูลใน query_string ไปยัง HTTP เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงาน อยู่ในเครื่อง
POST -- ข้อมูลจะถูกส่งไปในลักษณะของ message body ติดไปกับ request message ที่ถูกส่งโดย client ไปยังเว็บ
เซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า GET แต่สามารถใช้กับข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าได้ดีกว่า
ความแตกต่างระหว่าง GET และ POST โดยทั่วไป GET ใช้สำหรับเรียกไฟล์ หรือทรัพยากรอื่น ๆ จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย สามารถมี parameter ระบุไว้ตามที่ต้องการได้ ในกรณีของการรับข้อมูล จาก form URL ของการ GET จะเป็น GET คือวิธีการที่บราวเซอร์ใช้ในการดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูล เช่น เอกสาร HTML หรือรูปภาพและยังสามารถใช้ในการส่งข้อมูลจาก
form ได้ด้วย ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นไม่มากจนเกินไป (ข้อจำกัดของขนาดข้อมูลขึ้นอยู่กับบราวเซอร์) ผลกระทบของการใช้วิธีการ
GET คือบราวเซอร์และ proxy จะสามารถจดจำผลลัพธ์ของการ GET ไว้ใน cache ได้
เพราะฉะนั้นในการเรียกใช้โปรแกรมด้วยวิธี GET หลายอาจจะได้ผลลัพธ์เก่าออกมาก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้วิธี GET ถ้าหากว่าต้องการที่จะเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมแต่ละครั้ง เฉพาะเป็นครั้ง ๆ ไป หรือกับโปรแกรม CGI ที่ต้องการ ที่จะนำเสนอข้อมูลที่ใหม่ (update) เสมอทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โดยปกติแล้ว POST ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อประมวลผล เมื่อ HTML form ส่งออกไปยังเว็บเซิร์ฟเวอรืด้วยวิธีการ POST ข้อมูลของคุณจะแนบไปกับส่วนท้ายของข้อมูล เรื่องขอใช้งานโปรแกรม เวลาใช้งานวิธี POST อาจจะไม่ง่ายและเร็วเท่ากับการใช้วิธี GET แต่สามารถทำงานกับข้อมูลที่ สลับซับซ้อนได้ดีกว่า คุณสามารถส่งแฟ้มข้อมทูลไปกับวิธีการ POST ได้ด้วยเช่นกัน ขนาดของข้อมูลที่จะส่งจะไม่ถูกจำกัด เหมือนวิธีการ GET
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เขียนโปรแกรม CGI แล้ว ทั้งวิธีการ GET และ POST ต่างก็ไม่ยากที่จะใช้งานด้วยกันทั้งคู่ ข้อดีของ วิธีการ POST คือ วิธีการ POST ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไม่จำกัดขนาด และสามารถนับจากโปรแกรม CGI ได้จริง ๆ ว่ามีการ เรียกใช้โปรแกรมกี่ครั้ง ส่วนข้อดีสำหรับการใช้วิธี GET ข้อมูลจากการกรอก form ทั้งหมดจะถูกส่งไปเป็น URL เดียว สามารถ จะใช้ผ่าน hyperlink หรือ bookmark ได้โดยไม่ต้องกรอกฟอร์มทุกครั้ง
Chat
Chat นั้นเป็นการสนทนาด้วยข้อความหรือแลกเปลี่ยนไฟล์กันแบบสด ๆ ผ่านทางอินเตอรืเน็ต (มักจะเรียกว่าแบบ
Realtime หรือเรียกอีกชื่อว่า InterActive)ที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทำให้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากโดยมีโปรแกรม สำหรับการ Chat หลายตัว เช่น ICQ IRC mIRC Perch Odigo และอื่น ๆ
FTP
FTP (File Transfer Protocol , File Transfer Program) เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการโอนไฟล์ขึ้นไปไว้ที่ เว็บเซิร์ฟเวอรที่เรียกว่าการ upload และให้บริการโอนย้ายไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เว็บไซต์อื่น ๆ ที่เรียกว่าการ Download โปรแกรมที่จะช่วยให้การ Upload download มีหลายตัวเช่น WS_FTP Flashget Download-Acc Cute-ftp เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้งานโปรแกรม Telnet ในระบบปฏิบัติการ UNIX อีกด้วย
FAQ
FAQ (Frequently Asked Questions) ซึ่งก็คือการที่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทำการรวบรวมคำแนะนำดี ๆ ที่ได้รับจากผู้ที่เข้าชม เว็บไซต์หรือคำถามต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ถูกถามถึงบ่อย ๆ เอาไว้เพื่อให้ผู้ชมสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการ และรายละเอียด
ต่าง ๆ ของ Web ที่ผู้ใช้อยากรู้
Homepage
สำหรับเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตต่างตกแต่งเว็บเพจของตนให้ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ใฝ่รู้ทั้งหลาย เป็นที่ ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้กลับมาเยี่ยมชมอีกหรือด้วยจุดประสงค์ที่ผู้ตั้งเว็บไซต์ต้องการ โดยเว็บเพจหน้าแรก ที่พบเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นจะถูกเรียกว่า โฮมเพจ (Homepage) ซึ่งก็คือเอกสาร HTML ธรรมดาที่สามารถจะเข้าถึง ข้อมูลในเว็บไซต์ได้ มีจำนวนมากมักนิยมเรียกรวบเว็บไซต์สั้น ๆ ว่าโฮมเพจ ดังนั้น Homepage นั้นก็เสมือนเป็นประตู ที่จะเข้าไปสู่เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้น จริง ๆ แล้วโฮมเพจ เป็นเพียงโฟล์เดอร์หนึ่งในเว็บไซต์ โดยทั่วไปในเมืองไทยมัก เรียกโฮมเพจแทนเว็บไซต์ เนื่องมาจากความคุ้นเคยมากกว่า
HTML
HTML (Hyper Text Marup Language) เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ
HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด
ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์
พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4
ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย
HTTP
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารกัน (Protocol) ระหว่างบราวเซอร์และ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง HTTP โปรโตคอลนั้นก็จะทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP อีกทีหนึ่งโดยที่เราเปิดโฮมเพจขึ้นมา บราวเซอร์จะ ติดต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอล HTTP และจะส่งที่อยู่ไฟล์ข้อมูลหรือที่เรียกว่า URL ที่ต้องการไป และอาจมี
ีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ชื่อและรุ่นของบราวเซอร์ที่ใช้เปิดดูไฟล์ข้อมูลได้ จากนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกับมาตามข้อกำหนดของ
HTTP เช่น ขนาดของข้อมูล , วัน เวลาที่สร้าง และเมื่อบราวเซอร์ได้รับข้อมูลครบแล้ว การติดต่อจะสิ้นสุดทันที และหากหน้า เว็บเพจใดมีข้อมูลที่มีหลายไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพและเสียง ก็จะต้องมีการติดต่อไปหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจะไม่เกี่ยวข้องกัน
Internet
อินเตอร์เน็ต (Internet) เราเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารกับเครื่องที่อยู่ระยะไกล ๆ ได้ทั่วโลก การสื่อสารที่ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลอย่างกว้างขวางได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ อาจจะเรียกกันอีกชื่อว่า ระบบใยแมงมุม (WORLD WIDE WEB หรือ WWW) ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง ในตอนแรกนั้นอินเตอร์เน็ตเริ่มมาจาก เครือข่าย
อาร์พาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Project Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา กับมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย และต่อมาได้ขยายไปยัง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น ทางการทหารของสหรัฐจึงขอแยกตัวออกไปกลายเป็น
เครือข่าว Millet Military Network แต่ก็ยังคงเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต ด้วยเทคนิคการโต้ตอบด้วย IP (Internet Protocol) ที่เรียกว่า TCP/IP และต่อมาก็ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูกกับสหรัฐอเมริกา จนมีการเชื่อมต่อ กันด้วยระบบ "Internet Protocol" จนกลายเป็นอินเตอร์เน็ตอยู่ในปัจจุบันนี้ และเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ
30 ปีที่แล้วนี่เอง
Intranet
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในพื้นที่ หรือองค์กรเดียวกัน ซึ่งเราเรียกกันว่า ระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งจะใช้กันภายในองค์กรต่าง ๆ เช่น อาจจะมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน หรือบริการ รับฝากข้อความ (E-mail) หรือฐานข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งไม่ได้ติดต่อกับภายนอกและต่อระบบ Lan ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ เครือข่ายวงกว้าง หรือระบบ Wan (Wide Area Network) ที่ใช้ในต่างพื้นที่กัน แต่ว่ามีข้อจำกัดเรื่องของสายสัญญาณภายใน ที่ใช้ต่อในแต่ละจุด ยิ่งจุดที่เชื่อมต่อไกลมาก ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงและในปัจจุบันนนี้ระบบอินทราเน็ตนั้นก็ได้มีการเชื่อมต่อเข้า
กับ ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีเครื่องอยู่ในระยะไกล ๆ กัน
ISP
ISP (Internet Service Provider) เป็นบริษัทที่ให้การเชื่อมต่อแก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าชั่วโมงการใช้งานเป็นรายเดือน หรืออาจเป็นแบบ Package ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน ก็ได้ เช่น KSC , CS-internet , Ji-net , Internet-Thailand เป็นต้น
Java Script
Java Script นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากภาษา ไลฟ์สคริปตื (LiveScript) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเน็ตสเคป และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป้น ภาษา Java Script อย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่ง Java Scipt นั้นได้ใช้งานครั้งแรกใน Netscape
Navigator รุ่น 2.0 และพัฒนามาเป็น Java Script 1.3 ใน Netscape Navigator รุ่น 4.0 สำหรับภาษาสคริปต์นั้นมีจุดเด่น กว่าภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ตรงที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการแปลงภาษา (Compile) และรูปแบบของภาษาก็ง่ายต่อการเขียน เช่น ไม่เข้มงวดเรื่องแปร , ไม่ต้องประกาศชนิดของตัวแปร , ไม่ต้องระบุขนาดของอาร์เรย์ ไม่ต้องประกาศฟังก์ชัน และง่ายต่อการ เปลี่ยนแปลงแก้ไข และเพิ่มเติมโปรแกรมในภายหลัง
MIME
MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล มาตรฐาน MIME ถูกสร้าง ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการส่งไฟล์แนบไปกับอีเมล์ แต่ภายหลังได้ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ งาน รวมทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย โดยการ แบ่งชนิดของข้อมูลใน MIME นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ โดยใช้เครื่องหมาย / คั่น เช่น text/plain หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text) และเป็นข้อความธรรมดา ส่วน text/html หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป้นข้อมูล HTML หรือ image/jpg หมายถึงข้อมูลรูปภาพ และเป็นรูปภาพแบบ JPG เป็นต้น การทำงานหลาย ๆ อย่างของเว็บไซต์นั้นขึ้นอยู่กับ MIME เช่น การที่บราวเซอร์ได้รับข้อมูลที่เป็น Plug-in ประเภท application/x-shockwave-flash ก็จะทำการเรียก Plug-in Shockwave Flash ขึ้นมาแทน

ไม่มีความคิดเห็น: