วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ภาพน่ารักๆของเพื่อนๆฉันเอง


ส่วนภาพนี้เป็นภาพของเด็กเวียดนามทั้งหมด พวกเขาก็เป้นเพื่อนของฉันเช่นกัน

ส่วนนี้สาวเวียดนามอีกหนึ่งคนที่เป็นเพื่อนของฉันอีกหนึ่งคน ชื่อ แป้ง

ส่วนนี้ตอนมาอยู่ได้2-3เดือนจ๊ะ

เพื่อนชาวต่างชาติของฉัน หญิง ดูท่าเทอร์นั่ง และท่ายิ้มของเทอร์ สิค่ะ นี้ตอนที่เข้ามารับน้องนะจ๊ะ


ตัวเล็กไปตอบคำถาม ได้หม้อหุงข้าว ไม่เห้นทำกับข้าวให้กินเลย แหม

ตัวเล็กไม่ต้องตั้งใจขนาดนั้นก็ได้

ภาพตลกๆของ...องค์การ



ดูนายกองค์การของเราทำอะไรก็ไม่รู้

จดหมายธุรกิจ

ความหมายของการเขียนจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจถือเป็นการสื่อสารธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างกันในวงธุรกิจโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ เช่น
เสนอขายสินค้าหรือบริการ สั่งซื้อ สินค้าและตอบรับการสั่งซื้อ ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือความเสียหาย เป็นต้น จดหมายธุรกิจมีความแตกต่าง
จากจดหมายส่วนตัวบ้างในด้านรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษา กล่าวคือจดหมายธุรกิจส่วนใหญ่มีรูปแบบและการใช้ภาษาเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ
ไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดดังที่มักปรากฏในจดหมายส่วนตัว
ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการธุรกิจ ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
๑. ด้านการประหยัด เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง
๒. ด้านความสะดวกและรวดเร็ว เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ติดต่อ ในกรณีที่ผู้ที่ต้องการติดต่อธุรกิจด้วยมีงานมากหรืออยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง จึงไม่สะดวก
ที่จะโทรศัพท์ติดต่อหรือขอเข้าพบด้วยตนเอง
๓. ด้านการให้รายละเอียดข้อมูล เป็นการเอื้อต่อการสื่อข้อความ สามารถให้รายละเอียดข้อมูลได้มาก ชัดเจน และมีระบบ เพราะผู้เขียนมีเวลาเตรียมการเขียนก่อน
ลงมือเขียนอีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนส่งไปยังผู้รับจดหมาย
๔. ด้านการใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ค้นเรื่อง และที่สำคัญที่สุดคือเป็นหลักฐานทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน
๕. ด้านการเป็นสื่อสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อธุรกิจ เป็นการส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและการติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ในการติดต่อธุรกิจซื้อขาย บางครั้งลูกค้า
อาจขาดการติดต่อไป บริษัทจำเป็นต้องมีจดหมายไปถึงลูกค้าเพื่อขอทราบสาเหตุที่แท้จริงพร้อมทั้งแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาหรือเสนอบริการพิเศษ
ต่าง ๆเพื่อจูงใจให้ลูกค้ากลับมาติดต่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทอีก
ประเภทของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจแบ่งตามจุดประสงค์ของการเขียนได้ ๓ ประเภท ดังนี้
๑. จดหมายสอบถามและจดหมายตอบ
๑.๑ จดหมายสอบถาม หมายถึง จดหมายที่ติดต่อระหว่างบริษัทห้างร้านด้วยกัน หรือที่เอกชนติดต่อกับบริษัทห้างร้าน เพื่อสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการ
ทราบ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นหลังจากได้คำตอบ
๑.๒ จดหมายตอบสอบถาม หมายถึง เป็นจดหมายลักษณะเดียวกันแต่แทนที่จะสอบถาม ก็จะเขียนตอบข้อเท็จจริงของผู้ที่สอบถาม เพื่อให้ผู้ที่ติดต่อมาได้
ทราบในสิ่งที่ตนต้องการ
๒. จดหมายสั่งซื้อสินค้าและตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
๒.๑ จดหมายสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ เพื่อผู้ขายจะได้ส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อได้ถูกต้อง
๒.๒ จดหมายตอบรับการสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่ทางบริษัทตอบให้ผู้ซื้อทราบว่าได้รับการสั่งสินค้าแล้ว
๓. จดหมายสมัครงาน หมายถึง จดหมายที่บุคคลต้องการจะสมัครทำงานเขียนไปถึงบริษัทห้างร้าน เพื่อขอสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งที่ตนต้องการ
จะเห็นได้ว่าความหมายของจดหมายแต่ละประเภทมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ทางธุรกิจ หรือประโยชน์ทางธุรกิจในการเขียนจดหมายนั้น
วิธีใช้จดหมายดังกล่าวจะสอดคล้องของประเภทของจดหมาย แต่เพื่อให้มองเปรียบเทียบได้ ชัดเจนขึ้นขอให้ดูตารางหน้าถัดไป
รูปแบบและส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจ
หน่วยงานแต่ละแห่งในปัจจุบัน นิยมใช้จดหมายธุรกิจรูปแบบที่หลากหลาย สุดแล้วแต่ว่ารูปแบบใดจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วและเหมาะสมที่สำคัญคือควรใช้กระดาษปอนด์อย่างดีเป็นกระดาษที่พิมพ์หัวจดหมายของบริษัทและจัดวางรูปแบบให้สวยงาม ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป
จดหมายธุรกิจมีรูปแบบและส่วนประกอบแต่งต่างจากบันทึก เพราะมีรายละเอียดมากกว่า รูปแบบและส่วนประกอบหลักของจดหมายธุรกิจ มีดังนี้
๑. รูปแบบของจดหมายธุรกิจ รูปแบบของจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันทั่วไป พอสรุปได้มี ๓ รูปแบบ ดังนี้
๑.๑ แบบบล็อก (Block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ทุกบรรทัดชิดเส้นกั้นหน้า ยกเว้นเฉพาะที่อยู่ผู้ส่ง (กรณีที่ใช้หัวจดหมายที่พิมพ์สำเร็จรูปไว้) ดังภาพประกอบที่ ๑
๑.๒ แบบกึ่งบล็อก (Modified block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ส่วนเลขที่จดหมาย ที่อยู่ของผู้รับ คำขึ้นต้น และสิ่งที่ส่งมาด้วย อยู่ชิดเส้นกั้นหน้าและส่วนที่อยู่ของผู้ส่ง วัน เดือน ปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ ชื่อเต็ม และตำแหน่ง อยู่กลางหน้ากระดาษหรือค่อนไปทางขวาเล็กน้อย ส่วนเรื่อง จะพิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ในส่วนข้อความต้องพิมพ์ให้บรรทัดแรกของข้อความแต่ละย่อหน้าร่นเข้าไปประมาณ ๕–๑๐ ระยะตัวอักษร ดังภาพประกอบที่ ๒
๑.๓. แบบย่อหน้า (Indented style) เป็นรูปแบบเหมือนกับแบบกึ่งบล็อก แต่อาจนำเอาส่วนเรื่อง พิมพ์อยู่เหนือคำขึ้นต้นก็ได้ ดังภาพประกอบที่ ๓
ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูแบบฟอร์มจดหมายตัวอย่าง (เป็นเอกสาร MS-Word)
ภาพที่ ๑ จดหมายธุรกิจแบบบล็อก
ภาพที่ ๒ จดหมายธุรกิจแบบกึ่งบล็อก
ภาพที่ ๓ จดหมายธุรกิจแบบย่อหน้า
ภาพที่ ๔ การใช้กระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป
ภาพที่ ๕ การเว้นที่ว่างในจดหมายธุรกิจ
๒. ส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจโดยทั่วไป มีส่วนประกอบดังนี้
๒.๑ ที่อยู่ผู้ส่ง เป็นการระบุชื่อและที่*ตั้งของบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการเจ้าของจดหมาย เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าจดหมายฉบับดังกล่าวมาจากที่ใด และจะตอบจดหมายส่งหลับไปยังที่ใด โดยอาจอยู่กลางหน้ากระดาษ ทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวามือก็ได้ ตามปกติบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการทั่วไปนิยมใช้กระดาษพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูปไว้แล้ว ซึ่งมีการออกแบบต่าง ๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่นิยมใส่ตราบริษัท (Logo) หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรพิมพ์ หรือโทรสารของบริษัทไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการติดต่อและเพื่อเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปในตัว และเนื่องจากในปัจจุบันนอกจากการติดต่อต่อธุรกิจภายในประเทศแล้ว การติดต่อค้าขายยังขยายกว้างไปสู่นานาประเทศมากขึ้น และเพื่อให้เกิดความสะดวกอย่างเต็มที่บริษัทส่วนใหญ่จึงนิยมพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูป ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป หากเป็นกรณีที่ไม่มีกระดาษพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูปไว้ ให้พิมพ์ชื่อและที่ตั้งของบริษัทเอง โดยมีรายละเอียดไม่เกิน ๓-๔ บรรทัด
๒.๒ เลขที่จดหมาย/ปี พ.ศ. ให้เขียนเลขที่จดหมายและปีพุทธศักราชที่จัดทำจดหมายฉบับ ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บเอกสารและอ้างอิงต่อไป เลขที่จดหมายนิยมกำหนดขึ้น โดยเรียงตามลำดับของจดหมายที่จัดทำขึ้นในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่เลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึงปีปฏิทิน อย่างไรก็ตามแต่ละหน่วยงานหรือกิจการอาจมีวิธีการกำหนดเลขที่จดหมายแตกต่างกันออกไป
๒.๓ วัน เดือน ปี หมายถึง วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงหรือการติดต่ออันอาจมีขึ้นในภายหลัง ให้ลงเฉพาะตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปี พ.ศ.
๒.๔ ที่อยู่ผู้รับ หมายถึง การระบุชื่อ ตำแหน่ง และที่อยู่ของผู้รับเพื่อประโยชน์สำหรับการเก็บจดหมายไว้เป็นหลักฐาน ในส่วนของที่อยู่ผู้รับนี้ นิยมระชื่อตำแหน่งและที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งรวมถึงรหัสไปรษณีย์ด้วย ควรให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและไม่ควรใช้ตัวย่อหากไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใดควรตรวจสอบหาข้อมูลที่ถูกต้องไม่ควรใช้วิธีการคาดเดา เพราะอาจทำให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งย่อมส่งผลให้ผู้รับจดหมายเกิดความไม่พอใจได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจดหมายธุรกิจบางรายไม่นิยมใส่ที่อยู่ผู้รับไว้เนื่องจากไม่เห็นความจำเป็นทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ความสะดวก ความเหมาะสม และความต้องการของผู้เขียนแต่ละรายด้วย
๒.๕ เรื่อง หมายถึง เรื่องหรือสาระสำคัญสั้น ๆ ของจดหมายฉบับนั้น มีลักษณะคล้ายกับเรื่องในจดหมายติดต่อราชการหรือบันทึก เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้รับ ก่อนที่จะอ่านเนื้อความในจดหมายเพื่อให้พอทราบว่าจดหมายฉบับนั้นมีจุดประสงค์อย่างไร เรื่องควรมีลักษณะสั้น กะทัดรัด แต่ได้ใจความสำคัญ ครอบคลุมรายละเอียดและจุดประสงค์ของจดหมาย ควรมีความยางอยู่ระหว่าง ๑/๒ - ๑ บรรทัด แต่หากสาระสำคัญมาก อาจมีความยาวถึง ๒ บรรทัดได้ แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกินกว่านี้ ในจดหมายธุรกิจส่วนมากนิยมวางตำแหน่งของเรื่องไว้ก่อนขึ้นส่วนข้อความ อย่างไรก็ดี อาจมีหน่วยงานบางแห่งยึดถือตามรูปแบบของจดหมายติดต่อราชการ กล่าวคือ วางตำแหน่งของเรื่องไว้ก่อนส่วนคำขึ้นต้น ทั้งนี้สุดแล้วแต่ความต้องการของแต่ละหน่วยงาน
๒.๖ คำขึ้นต้น เป็นการทักทายที่แสดงการเริ่มต้นจดหมาย มีลักษณะเช่นเดียวกับการเริ่มต้นการสนทนาด้วยการกล่าวว่า “สวัสดี” แต่การใช้คำขึ้นต้นในจดหมายธุรกิจทั่วไปนิยมใช้ “เรียน”ตามด้วยตำแหน่งหรือชื่อของผู้ที่จดหมายนั้นมีถึง แต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้ถูกต้องกับระดับชั้นของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
๒.๗ เนื้อหาหรือใจความสำคัญ หมายถึง ส่วนที่เสนอเนื้อหาหรือสาระสำคัญของจดหมายที่เขียน ตามปกติแล้ว จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย อาจมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้ ในการพิมพ์จดหมายให้เว้นแต่ละบรรทัดห่างกัน ๑ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว และแต่ละย่อหน้าห่างกัน ๒ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว
๒.๘ คำลงท้าย เป็นการอำลาผู้อ่าน โดยทั่วไปนิยมใช้คำว่า “ขอแสดงความนับถือ” แต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้สอดคล้องกับคำขึ้นต้น และถูกต้องกับระดับชั้นของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
๒.๙ ลายมือชื่อ เป็นการลงลายมือชื่อเจ้าของจดหมาย
๒.๑๐ ชื่อเต็ม หมายถึง การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่ออันได้แก่ ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าบอกสถานภาพตลอดจนตำแหน่ง โดยพิมพ์ห่างจากคำลงท้ายประมาณ ๔ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยวทั้งนี้เพื่อเว้นที่ว่างไว้สำหรับลงลายมือชื่อ นอกจากการพิมพ์ชื่อเต็มแล้ว บริษัทบางแห่งนิยมพิมพ์ชื่อบริษัทไว้ในส่วนนี้ด้วย โดยอาจพิมพ์ให้อยู่เหนือหรือใต้ชื่อที่พิมพ์เต็ม
๒.๑๑ ข้อสังเกตอื่น ๆ ในส่วนต่อจากลายมือชื่อและการพิมพ์ชื่อเต็ม ผู้เขียนจดหมายธุรกิจอาจรวมข้อสังเกตอื่น ๆ ไว้ชิดเส้นกั้นหน้าด้วยในกรณีที่มีความจำเป็นอันได้แก่
๒.๑๑.๑ สิ่งที่ส่งมาด้วย หมายถึง ส่วนที่ระบุชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปพร้อมกับจดหมายฉบับนั้น ในกรณีที่มีสิ่งของหรือเอกสารมากกว่า ๑ รายการ นิยมบอกเป็นเลขลำดับ อย่างไรก็ดี บางหน่วยงานที่ยึดถือตามรูปแบบของจดหมายติดต่อราชการ อาจวางตำแหน่งของสิ่งที่ส่งมาด้วยต่อจากส่วนคำขึ้นต้น
๒.๑๑.๒ อักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ หมายถึง ส่วนที่ระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ ให้นำพยัญชนะต้นของชื่อและชื่อสกุลของผู้ลงนามและผู้พิมพ์มาเขียนย่อไว้ โดยระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามไว้เป็นอันดับแรกและอักษรย่อชื่อผู้พิมพ์ไว้เป็นอันดับหลังเช่น ถ้าผู้ลงนามมีชื่อว่านายวิฑูรย์ มานะวิทย์ ก็จะได้อักษรย่อชื่อผู้ลงนามว่า วม และถ้าผู้พิมพ์มีชื่อว่า นางสาวสุนทรี วิริยะ อักษรย่อชื่อผู้พิมพ์ คือ สว ดังนั้น จึงสามารถระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ได้ว่า วม/สว
๒.๑๑.๓ สำเนาส่ง หมายถึง ส่วนที่แจ้งให้ผู้รับจดหมายทราบว่า ผู้ส่งได้จัดทำสำเนาจดหมายส่งไปให้หน่วยงานหรือบุคคลใดทราบบ้างแล้ว โดยพิมพ์ชื่อของหน่วยงานหรือชื่อหรือตำแหน่งของบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อเป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หากมีสำเนาจดหมายส่งไปให้หน่วยงานหรือบุคคลมากกว่าหนึ่ง นิยมบอกเป็นเลขลำดับเพื่อความชัดเจน
๒.๑๑.๔ ปัจฉิมลิขิต ซึ่งใช้อักษรย่อว่า ป.ล. หมายถึง ส่วนข้อความที่ผู้เขียนต้องการเพิ่มเติมหรือเน้นเป็นพิเศษ ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ควรใช้ส่วนนี้ในจดหมายธุรกิจ เพราะอาจทำให้ผู้รับ จดหมายเกิดความรู้สึกว่า ผู้เขียนไม่รอบคอบพอ จึงลืมระบุประเด็นบางอย่างไว้ในตัวจดหมายและ จำเป็นต้องมาเพิ่มไว้ในต้อนท้าย การระบุส่วนปัจฉิมลิขิตอาจใช้ได้กรณีของจดหมายเสนอขายเท่านั้น เช่น ในกรณีที่ต้องการย้ำเตือนผู้อ่านเกี่ยวกับข้อเสนอพิเศษในการเสนอขายของบริษัท
๓. การใช้กระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป
ตามปกติ จดหมายธุรกิจควรสั้นและกระชับ และไม่ควรมีความยาวเกินกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ แต่ในบางโอกาสซึ่งมีน้อยมาก จดหมายอาจมีความยาวมากกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ ในกรณีเช่นนี้ ในกระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป ต้องมีข้อความไม่น้อยกว่า ๓ บรรทัด และให้ใช้กระดาษที่ไม่มีตัวจดหมายสำเร็จรูป แต่เป็นกระดาษชนิดและขนาดเดียวกันกับแผ่นแรก และประกอบด้วยข้อมูล ๓ อย่าง ชื่อต้องพิมพ์ไว้ที่ส่วนบนของกระดาษ ห่างจากของกระดาษด้านบนประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง คือ ๑ ชื่อหรือตำแหน่งของผู้รับจดหมาย แล้วแต่กรณี โดยให้สอดคล้องกับแผ่นแรก คือ ๒ เลขหน้าซึ่งใช้คำว่า “หน้า” ตามด้วยหมายเลขบอกหน้า คือ ๓ วัน เดือน ปี ดังภาพที่ ๔
๔. ข้อควรปฏิบัติในการพิมพ์จดหมายธุรกิจ
การพิมพ์จดหมายธุรกิจมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
๔.๑ ใช้กระดาษอย่างดีสีขาว ขนาด ๘.๕ x ๑๑ นิ้ว หรือกระดาษมาตรฐาน A๔ และเป็นสีเดียวกับซอง
๔.๒ ใช้กระดาษเพียงหน้าเดียว
๔.๓ รักษาความสะอาด และระมัดระวังในเรื่องของรูปแบบการจัดวางรูปจดหมาย ตัวสะกด การันต์ และการแบ่งวรรคตอน
๔.๔ เว้นเนื้อที่ว่างขอบกระดาษด้านบนและของกระดาษด้านซ้าย ไม่น้อยกว่า ๑.๕ นิ้ว ดังภาพประกอบที่ ๕
๔.๕ จัดทำสำเนาจดหมายส่งออกทุกครั้ง เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการติดต่อ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการอ้างอิงหรือติดตามเรื่องต่อไป
จดหมายติดตามหนี้
การเขียนจดหมายติดตามหนี้ที่ค้างชำระ มีวิธีเขียนเป็นขั้นตอนดังนี้ เริ่มจากการเท้าความถึงเรื่องที่ตกลงไว้แต่เดิม พร้อมทั้งแจ้งเหตุที่มีการเตือนหรือทวงด้วยการเขียนจดหมาย โดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และไม่ตำหนิอีกฝ่ายหนึ่ง ควรเขียนไปเตือนสองหรือสามครั้ง หากยังไม่ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายอาจจะบอกว่าจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย
จดหมายแสดงไมตรีจิต
จดหมายไมตรีจิต เป็นจดหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายโดยตรง แต่เขียนขึ้นเพื่อกระชับความสำพันธ์ระหว่างบุคคล และหน่วยงานให้แน่นแฟ้นขึ้น เพื่อประโยชน์ทางการค้าต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงเขียนด้วยความจริงใจ เพื่อแสดงให้ผู้รับเห็นว่าตนมีความสำคัญ ไม่ควรเขียนเพื่อเชิญชวนหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ แต่ควรเขียนเพื่อให้ผู้รับระลึกถึงผู้เขียน
จดหมายไมตรีจิตมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีหลักการเขียนดังนี้ (วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา ๒๕๔๔ : ๑๓๗ - ๑๓๙ )
๑. จดหมายแสดงความยินดี เขียนเนื่องในโอกาสที่บุคคลหรือหน่วยงานประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสถาบัน หรือมีการขยายกิจการ เป็นต้น ควรเขียนถึงเหตุที่ทราบข่าวที่น่ายินดีนั้น มีความรู้สึกอย่างไร และสนับสนุนว่าบุคคลหรือหน่วยงานนั้นมีความเหมาะสม พร้อมทั้งกล่าวแสดงความยินดี
๒. จดหมายแสดงความเสียใจ เป็นการเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ติดต่อธุรกิจการค้ากันต้องประสบเคราะห์กรรมจากการสูญเสีย หรือเจ็บป่วย เช่น บริษัทประสบอัคคีภัย ญาติพี่น้องเสียชีวิต หรือรถขนส่งสินค้าประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น การเขียนต้องแสดงความเสียใจในข่าวที่ได้รับแสดงความเห็นใจ และความปรารถนาที่จะช่วยเหลือตามความสามารถ
๓. จดหมายขอความร่วมมือหรือความช่วยเหลือ เป็นการเขียนจดหมายเพื่อขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือจากบุคคล หรือหน่วยงานเพื่อทำกิจกรรมใดกิจการหนึ่ง เช่น ขอความร่วมมือในการให้ข้อมูล จัดนิทรรศการออกร้าน หรือขอเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น การเขียนจึงต้องเริ่มต้นด้วยความจำเป็นหรือเหตุที่ต้องขอความช่วยเหลือ โดยระบุรายละเอียดหรือเหตุผลตามความเหมาะสม และลงท้ายด้วยการขอบคุณล่วงหน้า
๔. จดหมายขอบคุณ เป็นการเขียนจดหมายขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือ หรือร่วมมือในกิจการใด ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการซื้อขายหรือไม่เกี่ยวกับการค้าก็ได้
๕. จดหมายเชิญ เป็นการเขียนจดหมายเพื่อเชิญร่วมงานในโอกาสต่าง ๆ เป็นจดหมายคู่บัตรเชิญก็ได้ ถ้าเป็นจดหมายควรเกริ่นนำถึงโอกาส วัน เวลาของงานนั้น และให้รายละเอียดที่สำคัญ พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ขอเชิญไปร่วมในงาน
ตัวอย่าง จดหมายติดตามหนี้ ( ครั้งที่ ๑ )
ตัวอย่าง จดหมายติดตามหนี้ (ครั้งสุดท้าย)
ตัวอย่าง จดหมายไมตรีจิต กรณีที่ต้องการแสดงความยินดี
จดหมายสมัครงาน
ความมุ่งหมายของจดหมายสมัครงาน คือ เพื่อทำให้เจ้าของงานให้โอกาสผู้เขียนจดหมายเข้ารับการสัมภาษณ์ การเขียนจดหมายสมัครงานเป็นวิธีการหนึ่งที่หน่วยงานจะสามารถกลั่นกรองข้อมูลของผู้สมัครก่อนจะเรียกสัมภาษณ์ในการเขียนจดหมายสมัครงานแม้จะอ้างถึงข้อมูลในประวัติส่วนตัว แต่ผู้เขียนควรเลือกเฉพาะที่ตรงกับความประสงค์ ของรับสมัครมากที่สุดโดยปกติจะตรงกับที่เจ้าของงานแจ้งไว้
ส่วนประกอบของจดหมายสมัครงาน อาจแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. คำนำ ควรพูดถึงเรื่องสำคัญ 2 ประการ
1.1 ชื่อตำแหน่งที่ต้องการสมัคร
1.2 แหล่งข่าวที่ทำให้ผู้สมัครทราบว่ามีตำแหน่งดังกล่าว
2. เนื้อหา ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ ผู้เขียนจดหมายควรบอกข้อมูลของงาน ข้อมูลประวัติส่วนตัวสถานภาพทางกฎหมาย (เป็นโสดหรือแต่งงานแล้ว) การศึกษาโดยย่อเริ่มจากระดับมัธยม วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ประสบการณ์ที่เหมาะกับตำแหน่งงาน ความสามารถพิเศษที่จะช่วยเสริมตำแหน่งงานได้ โดยคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนว่าผู้เขียนเหมาะสมกับตำแหน่งงานจริง ๆ ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวควรตัดออกให้หมด
3. สรุป ส่วนนี้คือ การแสดงจุดประส่งในการเขียนจดหมาย กล่าวคือ การได้มีโอกาสเข้ารับการสัมภาษณ์ จึงควรจบด้วยการขอโอกาสเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรระบุหมายเลขโทรศัพท์และเวลาที่ทางเจ้าของานสามารถติดต่อผู้เขียนได้สะดวก
หากผู้เขียนมีผู้รับรองงาน อาจเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เคยทำงาน ขอให้ระบุชื่อ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ที่จะติดต่อได้สะดวก จะเป็นผลดีต่อผู้เขียนจดหมาย ทั้งนี้ควรแจ้งให้ผู้รับรองทราบล่วงหน้า
วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน
1. เริ่มต้นบอกก่อนว่าได้รับทราบข่าวตำแหน่งที่ว่างจากที่ใด หรือจากใครพร้อมทั้งระบุว่าตนเองสมัครเพราะสนใจ และคิดว่ามีความสามารถตามที่ผู้รับต้องการ
2. บอกรายละเอียดส่วนตัว เกี่ยวกับอายุ สภาวะทางกำหมาย ( เป็นโสดหรืแต่งงานแล้ว ) การศึกโดยย่อ โดยเริ่มจากระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ร่วมทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตร เวลาเขียนควรเน้นวิชาที่เหมาะสมกับงานในหน้าที่ หรือความดีเด่นในการศึกษา หรือพูดถึงความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่คิดว่าจะเป็นข้อที่ประการพิจารณา สิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นความจริงด้วย ไม่ใช่เขียนเพราะต้องการให้เขารับ
3. ประสบการณ์ในการทำงาน ควรจะเขียนไว้ด้วย เพราะบริษัทห้างร้าน มักจะสนใจผู้ที่เคยผ่านหรือมีประสบการณ์มาแล้ เพราะไม่เสียเวลาฝึกอีก
หากไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนเลย ก็อาจพูดถึงการทำกิจกรรมสมัยที่ศึกษาอยู่ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ในการทำกิจกรรมจะเป็นผลดีในการทำงานต่อไป
ถ้าเคยทำงานมาแล้วและลาออกจากงานที่เก่า ควรเขียนในลักษณะที่ต้องการประสบการณ์เพิ่มขึ้น ไม่ควรเขียนถึงที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานในแง่ไม่ดี
4. ผู้รับรอง ควรระบุชื่อผู้เคยเป็นหัวหน้างานที่เราเคยฝึกงานหรือเคยทำงานร่วมกับเขาหากยังไม่เคยทำงานควรอ้างอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ที่เคยสอนเรามา และท่านรู้จักเราดี การอ้างชื่อผู้รับรองควรจะเขียนให้เจ้าตัวทราบและขออนุญาตก่อน นอกจากนั้นจะต้องแจ้งตำแหน่งหน้าที่ที่ทำงาน หรือที่อยู่พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่บริษัทจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้
5. การลงท้าย ควรเขียนในลักษณะที่ขอให้นัดเรามารับสัมภาษณ์ ทดลองงานพร้อมกับบอกวันเวลาที่เราสะดวกในการให้เขาติดต่อมา อาจจะแสดงความตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มความสามารถ และควรแสดงความหวังว่าตนเองจะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการพิจารณา
ในปัจจุบันการสมัครงานบางครั้งนิยมใช้ใบประวัติย่อแนบไปด้วย
ตัวอย่าง จดหมายสมัครงาน ๑
ตัวอย่าง จดหมายสมัครงาน ๒
ตัวอย่าง จดหมายสมัครงานแนบประวัติย่อ
จดหมายสั่งซื้อสินค้า และตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
จดหมายสั่งซื้อสินค้า มีวิธีการเขียนดังนี้
๒.๑.๑ ควรเริ่มต้นจดหมายด้วยการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ทันที
๒.๑.๒ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า และการสั่งซื้อให้ชัดเจนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการสั่งซื่อ นอกจากจะให้รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ยังต้องเรียงลำดับให้ง่ายแก่การเข้าใจด้วยเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละคน เช่น อาจทำได้ดังนี้
- เลขรหัสของสินค้า
- ชื่อสินค้า (เครื่องหมายการค้า)
- จุดที่ต้องการเป็นพิเศษ (สี ขนาด น้ำหนัก ฯลฯ)
-ราคาต่อหน่วย
๒.๑.๓ ช่วงท้ายควรจบจดหมายด้วยข้อความที่เป็นมิตรสั้น ๆ เกี่ยวกับการสั่งซื้อ และ อาจจะกล่าวเรื่องกำหนดเวลาที่ต้องการให้สินค้าส่งมาถึง โดยเขียนในรูปของการขอร้องมิใช่คำสั่ง
จดหมายตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
จะเขียนในลักษณะยืนยันเกี่ยวกับการสั่งซื้อของลูกค้ารายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่สั่งมาและวิธีการส่ง และชี้แจงสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้าเรื่องสินค้า เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทได้รับจดหมายสั่งซื้อแล้วจริงกำลังจะส่งมาให้ บางแห่งนิยมแนบสำเนาจดหมายสั่งซื้อมาด้วย
การตอบรับการสั่งซื้อสินค้าทั่ว ๆ ไป นิยมยืนยันการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า หากเป็นการตอบรับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้ารายใหม่ควรแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจลูกค้าเสมอ เขียนข้อความในทำนองยินดีที่จะบริการอย่างดีและเป็นกันเอง ส่วนการตอบรับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้ารายใหญ่ ควรแสดงความขอบคุณที่ลูกค้าซื้อสินค้าของบริษัท แสคงความยินดีที่ลูกค้ามีความสามารถในการจำหน่าย๒
ที่มา : จินตนา บุญบงการ การติดต่อในธุรกิจ (กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๒) หน้า ๙๔-๙๕
. แสงจันทร์ ณ สงขลา ภาษาไทย ๑ (กรุงเทพมหานคร ม.ป.ท. ๒๕๓๓ ) หน้า
ตัวอย่าง จดหมายสั่งซื่อที่แนบใยสั่งซื้อไปด้วย
ตัวอย่าง ใบสั่งซื้อที่แนบไปพร้อมจดหมาย
ตัวอย่าง จดหมายตอบรับการสั่งซื้อ(โอกาสขอบคุณลูกค้ารายใหญ่)
ตัวอย่าง จดหมายสั่งซื้อ (หลายรายการ)
ซองจดหมายและการจ่าหน้าซอง
ซองจดหมายถือเป็นส่วนหนึ่งของจดหมายที่จะขาดเสียไม่ได้ ในการเลือกใช้ซองจดหมายใช้ซองจดหมายสีขาวหรือสีเดียวกับกระดาษจดหมายและเป็นซองขนาดมาตรฐาน ซึ่งมี 2 ขนาด คือขนาดเล็ก (6 ?*3 5/8 นิ้ว) และซองขนาดใหญ่ (9 ?*4 ? นิ้ว)
เนื่องจากซองจดหมายเป็นสิ่งแรกที่ปรากฏต่อสายตาของผู้รับจดหมาย การจ่าหน้าซองจดหมายจึงมความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเสมือนตัวแทนของเจ้าของหรือผู้เขียนจดหมาย การจ่าหน้าซองจดหมายย่อมแสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและบุคลิกภาพที่ดีของเจ้าของจดหมาย


การจ่าหน้าซองจดหมาย มีข้อปฏิบัติดังนี้
5.1 วางรูปแบบในการจ่าหน้าซองให้ถูกต้อง ที่นิยมใช้มี 2 รูปแบบคือ แบบตั้ง แบบเฉียง ดังภาพประกอบที่ 6
5.2 เว้นเนื้อที่ว่างหน้าซองให้สวยงามและได้สัดส่วน และรักษาความสะอาดไม่ให้มีรอยลบแก้ไขหรือขีดฆ่า
5.3 ให้รายละเอียดทั้งชื่อและที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง โดยให้พิมพ์ชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ประมาณกึ่งกลางซองจดหมาย คือในระยะจุดตัดระหว่างแนวตั้งกับแนวนอนหรืออาจเยื้องไปทางด้านซ้ายของจดหมายของจุดตัดประมาณ 5 ระยะตัวอักษร ส่วนชื่อและที่อยู่ผู้ส่ง ให้พิมพ์ไว้มุมบนซ้ายมือ บริษัทห้างร้านส่วนใหญ่จะมีหัวซองจดหมายพิมพ์สำเร็จรูป บอกถึงที่อยู่ของผู้ส่งและตราบริษัทไว้เรียบร้อยแล้ว ในการเขียนรายละเอียดของที่อยู่ ควรระบุรหัสไปรษณีย์ตามที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นโดยแจ้งที่บรรทัดสุดท้ายของชื่อที่อยู่ผู้รับและชื่อที่อยู่ผู้ฝากส่งทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานคัดแยกและจัดส่งสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
5.4 ผนึกดวงตราไปรษณีย์ยากรไว้ที่มุมบนขวามือ
หัวใจสำคัญของการเขียนจดหมายธุรกิจ
การเขียนจดหมายธุรกิจที่ดี ต้องคำนึงถึงหัวในสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน สมบูรณ์และสอดคล้องกับจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ของจดหมาย อาจกระทำได้โดย
1.1การกำหนดจุดหมาย ผู้เขียนควรเริ่มด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการเขียนจดหมายให้ชัดเจนก่อนลงมือเขียน การกำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพียงประโยคเดียวมีส่วนช่วยได้อย่างมาก ดังเช่น “จุดมุ่งหมายของจดหมายฉบับนี้เพื่อสอบถามราคาและวิธีการสั่งซื้อปูนซีเมนต์” หรือ “เราเขียนจดหมายฉบับนี้เพราะต้องการได้รับสินค้าที่สั่งซื้ออย่างช้าที่สุดไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2536” หรือ “เราต้องการเขียนจดหมายฉบับนี้เพื่อเรียกเก็บหนี้จากผู้รับจดหมาย” และเมื่อมีแนวทางในการเขียนที่ชัดเจนแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้เขียนยึดตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ไม่เขียนเบี่ยงเบนไปจากจุดมุ่งหมาย อันอาจทำให้ผู้รับจดหมายสับสนหรือข้องใจได้
1.2 รวบรวมข้อเท็จจริง บางครั้งการกำหนดจุดมุ่งหมายให้ขัดเจนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ผู้เขียนจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลความจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ ผู้เขียนมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ เช่น กำหนดวันที่แน่นอน หรือข้อมูลอ้างอิงที่สามารถนำมาใช้ เพื่อช่วยให้จดหมายที่เขียนขึ้นมีความกระจ่างขัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. ผู้รับจดหมาย จดหมายถือเป็นเอกสารค่อนข้างเฉพาะตัว ต่างจากบันทึกที่ ถือเป็นเอกสารเปิดเผยที่เขียนเผยแพร่ไปยังผู้อ่านทั้งภายในและระหว่างหน่วยงาน บ่อยครั้งจะเห็นว่ามีการติดบันทึกไว้บนบอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้บุคลากรของหน่วยงานทราบ ด้วยเหตุที่จดหมายเป็นเอกสารส่วนตัวส่งถึงบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลเป็นการเฉพาะ ผู้เขียนจดหมายจึงควรให้ความสำคัญอย่างมากต่อผู้รับจดหมายในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
2.1 ภูมิหลังของผู้รับจดหมาย ความรู้เกี่ยวกับเพศวัยระดับการศึกษาอาชีพ บุคลิกลักษณะทัศนคติ ความสามารถ ความต้องการของผู้รับจดหมายล้วนมีส่วนสำคัญใน การเขียนจดหมาย ทำให้ผู้เขียนสามารถพิจรณาแนวทางการเขียนที่เหมาะสมกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแต่ละลักษณะ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี
2.2. ความสนใจในตนเองของผู้รับจดหมาย ผู้รับจดหมายมักให้ความสนใจใน ตนเองหรือเรื่องราว เหตุการณ์ที่ตนเองเกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งย่อมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนที่ให้ความสนใจในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ผู้เขียนควรกำหนดเป้าหมายโดยพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้รับจดหมาย เป็นสำคัญ เน้นถึงประโยชน์ที่ผู้รับจะได้รับมากกว่าเน้นถึงประโยชน์ที่ผู้เขียนจะได้รับ เพื่อเป็นการโน้มน้าวใจผู้รับจดหมายให้คล้อยตามและปฏิบัติตามความต้องการของผู้เขียน แม้ในกรณีที่จดหมายตอบปฏิเสธ ก็ต้องใช้ศิลปะในการเขียนเป็นพิเศษคำนึงถึงผู้รับให้มาก ที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้รับเสียหน้าหรือโกรธเคือง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันตลอดไป
2.3 ความสะดวกของผู้รับจดหมาย การอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับจดหมาย ในการตอบจดหมายและส่งกลับไปยังผู้เขียน เช่น การอ้างอิงถึงจดหมายที่เคยติดต่อกันมาก่อน เพื่อช่วยให้สามารถค้นหาเรื่องเดิมได้รวดเร็วขึ้น การแนบซองบริการธุรกิจตอบรับไปพร้อมกับจดหมายที่มีไปถึงลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถตอบจดหมายได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการจะหาซองจดหมายและสแตมป์ (ดังภาพประกอบที่ 7) หรือแม้กระทั่งในการเขียนจดหมายสั่งซื้อสินค้า หากบริษัทผู้ขาย มีแบบฟอร์มการสั่งซื้อของบริษัทอยู่แล้ว ผู้สั่งซื้อก็ควรกรอกรายละเอียดแยกตามรายการลงในแบบฟอร์มการสั่งซื้อให้ชัดเจนและครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่บริษัทผู้ขายในการตรวจสอบและจัดส่งสินค้าซึ่งย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้สั่งซื้อได้รับสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3. การใช้ภาษา หมายถึง การเลือกใช้ถ้อยคำ ภาษา โครงสร้าง ประโยค ตัวสะกดการันต์ และเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา ตามความนิยมและ เหมาะสมกับผู้รับจดหมายจดหมายธุรกิจที่ดีควรใช้ภาษาง่าย ชัดเจน กะทัดรัด สุภาพ ถูกต้อง และให้ความรู้สึกในเชิงบวก หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำ ภาษา ซึ่งส่อไปในทางโจมตีผู้รับจดหมาย เพราะจะทำให้ผู้รับขัดเคืองใจได้ นอกจากนี้ควรระมัดระวังในเรื่องของน้ำเสียงของจดหมาย อย่าให้กร้าวจนเกินไป นอกเสียจากเป็นจดหมายติดตามหนี้ซึ่งพยายามติดต่อถึงลูกค้า เพื่อขอให้ลูกค้ารีบชำระหนี้สินที่ค้างชำระอยู่หลายครั้งแล้ว แต่ก็ได้รับการเพิกเฉยมาโดยตลอด
4. ลักษณะและรูปแบบของจดหมาย หมายถึง ลักษณะภายนอกทั่วไปของ จดหมายธุรกิจซึ่งเน้นที่ความสะอาด เรียบร้อย และสวยงามเป็นสำคัญ การเลือกใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสมตลอดจนการให้รายละเอียดของส่วนประกอบแต่ละส่วนได้อย่างถูกต้องครบถ้วน การวางโครงสร้างจดหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่านของผู้รับจดหมาย ให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านเท่าที่จำเป็นมีการวางแผนการเขียนที่ดี โดยทั่วไป ควรจำกัดความยาวของจดหมายไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
วิธีการเขียนจดหมายธุรกิจ
ในการเขียนจดหมายธุรกิจนั้นแต่ละประเภทมีลักษณะการเขียนที่เฉพาะแตกต่างกันออกไป จะกล่าวถึงแต่ละประเภทดังนี้
1.จดหมายสอบถามและจดหมายตอบสอบถาม
1.1 จดหมายสอบถาม มีวิธีการเขียนดังนี้
1.1.1 ในส่วนแรกควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนจดหมาย และอาจเขียนถึงแหล่งที่เราได้พบข่าวสินค้ามา เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา ฯลฯ แล้วกล่าวถึงสินค้าหรือบริการที่เราสนใจหรือพอใจ
1.1.2 ส่วนที่ต้องการถามควรแยกเป็นเรื่อง ๆ แล้วลำดับเป็นข้อ ๆ โดยใช้คำถามสั้นชัดเจน และตรงประเด็น
1.1.3 ผู้เขียนควรระบุสถานที่ที่บริษัทจะส่งจดหมายตอบกลับมาให้ชัดเจน อาจเป็นที่อยู่ตอนส่วนบนของจดหมาย หรืออาจเขียนให้ใหม่ในข้อความ
1.1.4 ส่วนท้ายอาจกล่าวขอบคุณและแสดงความหวังว่าจะได้รับคำตอบจากบริษัทโดยเร็ว
1.2 จดหมายตอบสอบถาม มีวิธีการเขียนดังนี้
1.2.1 ตอบให้ตรงเป้าหมายที่ผู้เขียนถามมา เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้า
1.2.2 อาจแทรกแผ่นปลิวโฆษณา แคคลอก หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของลูกค้า
1.2.3 ควรเขียนบอกสถานที่ที่ลูกค้าอาจมาเยี่ยมชม หรือมาทดลองสินค้าของเรา
1.2.4 ตอนท้ายควรเขียนขอบคุณที่ลูกค้าสนในสินค้าหรือบริการของเรา และแสดงความหวังว่าบริษัทคงมีโอกาสให้บริการลูกค้าอีก
ภาพที่ 1 การจ่าหน้าซองจดหมายธุรกิจแบบตั้งและแบบเฉียง
ภาพที่ 2 ซองบริการธุรกิจตอบรับ
ตัวอย่าง จดหมายสอบถามเกี่ยวกับการซื้อขาย
ตัวอย่าง จดหมายตอบสอบถามเกี่ยวกับการซื้อขาย

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจ

Semi-Block Format
March 16, 2001
Ernie English
1234 Writing Lab Lane
Write City, IN 12345
Dear Mr. English:
(Indent) The first paragraph of a typical business letter is used to state the main point of the letter. Begin with a friendly opening; then quickly transition into the purpose of your letter. Use a couple of sentences to explain the purpose, but do not go in to detail until the next paragraph.
(Indent) Beginning with the second paragraph, state the supporting details to justify your purpose. These may take the form of background information, statistics or first-hand accounts. A few short paragraphs within the body of the letter should be enough to support your reasoning.
(Indent) Finally, in the closing paragraph, briefly restate your purpose and why it is important. If the purpose of your letter is employment related, consider ending your letter with your contact information. However, if the purpose is informational, think about closing with gratitude for the reader's time.
Sincerely,
Lucy Letter

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจ

Modified Block Format
March 16, 2001
Ernie English
1234 Writing Lab Lane
Write City, IN 12345
Dear Mr. English:
The first paragraph of a typical business letter is used to state the main point of the letter. Begin with a friendly opening; then quickly transition into the purpose of your letter. Use a couple of sentences to explain the purpose, but do not go in to detail until the next paragraph.
Beginning with the second paragraph, state the supporting details to justify your purpose. These may take the form of background information, statistics or first-hand accounts. A few short paragraphs within the body of the letter should be enough to support your reasoning.
Finally, in the closing paragraph, briefly restate your purpose and why it is important. If the purpose of your letter is employment related, consider ending your letter with your contact information. However, if the purpose is informational, think about closing with gratitude for the reader's time.
Sincerely,

Lucy Letter

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจ

Block Format
Ernie English
1234 Writing Lab Lane
Write City, IN 12345
March 16, 2001
Dear Mr. English:
The first paragraph of a typical business letter is used to state the main point of the letter. Begin with a friendly opening; then quickly transition into the purpose of your letter. Use a couple of sentences to explain the purpose, but do not go in to detail until the next paragraph.
Beginning with the second paragraph, state the supporting details to justify your purpose. These may take the form of background information, statistics or first-hand accounts. A few short paragraphs within the body of the letter should be enough to support your reasoning.
Finally, in the closing paragraph, briefly restate your purpose and why it is important. If the purpose of your letter is employment related, consider ending your letter with your contact information. However, if the purpose is informational, think about closing with gratitude for the reader's time.
Sincerely,

Lucy Letter
123 Winner's Road
New Employee Town, PA 12345

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551



รหัสนักศึกษา 5112601114
ชื่อ-สกุล วรุณยุภา นามบุญเรือง
ชื่อเล่น ฝน
เบอร์โทร 087-2497208
วรุณยุภา นามบุญเรือง
ลิงค์เว็บบล็อก

--------------------------------------------------------------------------------
เรียนโปรแกรมวิชาบัญชีบัณฑิต gmail
เว็บบล็อกของฉัน เช็คเมล์ิ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

การเขียนภาษา HTML

ความหมายของ HTML
HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย
HTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย
Tag
Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ Tag เดี่ยว เป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส Tag เปิด/ปิด เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash
( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น …, … เป็นต้น
Attributes
Attributes เป็นส่วนขยายความสามารถของ Tag จะต้องใส่ภายในเครื่องหมาย < > ในส่วน Tag เปิดเท่านั้น Tag คำสั่ง HTML แต่ละคำสั่ง จะมี Attribute แตกต่างกันไป และมีจำนวนไม่เท่ากัน การระบุ Attribute มากกว่า 1 Attribute ให้ใช้ช่องว่างเป็นตัวคั่น เช่น Attributes ของ Tag เกี่ยวกับการจัดพารากราฟ คือ
ประกอบด้วย ALIGN="Left/Right/Center/Justify"
ซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้
โครงสร้างเอกสาร HTML
ไฟล์เอกสาร HTML ประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนคือ Head กับ Body โดยสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายๆ ก็คือ ส่วน Head จะคล้ายกับส่วนที่เป็น Header ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือบรรทัด Title ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows สำหรับส่วน Body จะเป็นส่วนเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายใน Tag …
โครงสร้างไฟล์ HTML
ส่วนหัวเรื่องเอกสารเว็บ (Head Section)
Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้นๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ (Author), คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ คือ
ข้อความที่ใช้เป็น TITLE ไม่ควรพิมพ์เกิน 64 ตัวอักษร, ไม่ต้องใส่ลักษณะพิเศษ เช่น ตัวหนา, เอียง หรือสี และควรใช้เฉพาะภาษาอังกฤษที่มีความหมายครอบคลุมถึงเนื้อหาของเอกสารเว็บ หรือมีลักษณะเป็นคำสำคัญในการค้นหา (Keyword)
การแสดงผลจาก Tag TITLE บนเบราเซอร์จะปรากฏข้อความที่กำกับด้วย Tag TITLE ในส่วนบนสุดของกรอบหน้าต่าง (ใน Title Bar ของ Window นั่นเอง)
Tag META จะไม่ปรากฏผลบนเบราเซอร์ แต่จะเป็นส่วนสำคัญ ในการทำคลังบัญชีเว็บ สำหรับผู้ให้บริการสืบค้นเว็บ (Search Engine) และค่าอื่นๆ ของการแปลความหมาย
การพิมพ์ชุดคำสั่ง HTML สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือผสม การย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่าง สามารถกระทำได้อิสระ โปรแกรมเบราเซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัดหรือย่อหน้า หรือช่องว่าง ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section)
Body Section เป็นส่วนเนื้อหาหลักของหน้าเว็บ ซึ่งการแสดงผลจะต้องใช้ Tag จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล เช่น ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, วีดิโอ หรือไฟล์ต่างๆ
ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ เป็นส่วนการทำงานหลักของหน้าเว็บ ประกอบด้วย Tag มากมายตามลักษณะของข้อมูล ที่ต้องการนำเสนอ การป้อนคำสั่งในส่วนนี้ ไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนติดกัน หรือ 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ แต่มักจะยึดรูปแบบที่อ่านง่าย คือ การทำย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้ป้อนคำสั่งทั้งหมดภายใต้ Tag … และแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้
กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการพารากราฟ
กลุ่มคำสั่งจัดแต่ง/ควบคุมรูปแบบตัวอักษร
กลุ่มคำสั่งการทำเอกสารแบบรายการ (List)
กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำลิงค์
กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ
กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง (Table)
กลุ่มคำสั่งควบคุมเฟรม
กลุ่มคำสั่งอื่นๆ
เริ่มสร้างเว็บเพจด้วย NotePad
การสร้างเอกสาร HTML หรือเว็บเพจ เป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวก เพียงแต่เปิดโปรแกรม NotePad แล้วพิมพ์คำสั่ง HTML ลงไป จากนั้นก็ทำการจัดเก็บไฟล์โดยตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็ก และกำหนดนามสกุลเป็น .html (ในตอนพิมพ์ชื่อไฟล์ แนะนำให้พิมพ์ชื่อและนามสกุลของไฟล์ไว้ในเครื่องหมายคำพูด เพื่อป้องกันมิให้โปรแกรม NotePad เติมนามสกุล .txt ต่อท้าย) จากนั้นก็เปิดโปรแกรมเบราเซอร์ เช่น IE หรือ Netscape แล้วเปิดไฟล์เอกสารเว็บที่สร้าง เพื่อดูคำสั่งในการเริ่มต้นในการสร้างเว็บเพจ
คำสั่งเริ่มต้น
คำสั่ง เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เป็นการสิ้นสุดโปรแกรม HTML คำสั่งนี้จะไม่แสดงผลในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ แต่ต้องเขียนเพื่อให้เกิดความเป็นระบบของงาน และเพื่อจะให้รู้ว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารของภาษา HTML
ส่วนหัวของโปรแกรม
คำสั่ง เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความในส่วนที่เป็นชื่อเรื่องของไฟล์ HTML และภายในคำสั่ง ... จะมีคำสั่งย่อยอีกคำสั่งหนึ่งคือ
กำหนดข้อความในส่วนหัวของโปรแกรมหรือไตเติลบาร์
คำสั่ง การกำหนดสีพื้นหลังโดยการกำหนดสี
การระบุแบบตัวเลขโดยจะใช้ค่าสีในระบบฐาน 16 หรือเรียกว่าหลักการผสมสีแบบ RBG
การกำหนดสีพื้นหลังโดยใช้หลัก "#RBG"
การกำหนดสีของตัวอักษร
การกำหนดสีของตัวอักษรนั้น จะทำการเขียนในส่วนของคำสั่ง โดยเราจะใช้แอตทริบิวต์ Text มาเป็นตัวกำหนด เราสามารถมีรูปแบบการกำหนดสีได้อยู่ 2 รูปแบบ
ระบุชื่อของสีที่ต้องการ อาทิเช่น red, green, yellow, blue เป็นต้น
การกำหนดสีตัวอักษร
การระบุแบบตัวเลขโดยจะใช้ค่าสีในระบบฐาน 16 หรือเรียกว่าหลักการผสมสีแบบ RBG
การกำหนดสีตัวอักษร
ข้อความลักษณะหัวเรื่อง (Heading)
....Heading Text ...
ข้อความลักษณะหัวเรื่อง จะกำกับด้วยแท็ก โดย
n คือตัวเลขแสดงขนาดของตัวอักษร ค่าของ n นั้นจะมีค่าอยู่ที่ 1 - 6
n = 1 จะมีขนาดตัวอักษรหัวเรื่องใหญ่สุด
n = 6 จะมีขนาดตัวอักษรหัวเรื่องเล็กสุด
สามารถเพิ่ม/ลดขนาดโดยใช้เครื่องหมาย + หรือ - นำหน้าตัวเลขได้ เช่น -1 หรือ +5 เป็นต้น
Computer - Default Size
Computer - H1
Computer - H2
Computer - H3
Computer - H4
Computer - H5
Computer - H6
ผลลัพธ์
Computer - Default Size
Computer - H1
Computer - H2
Computer - H3
Computer - H4
Computer - H5
Computer - H6
หมายเหตุ ปัจจุบันการพัฒนาเว็บไซต์มักจะกำหนดขนาดของตัวอักษร (Font size) ให้มีขนาดคงที่ เช่น 1 หรือ 14-16 Point เพื่อให้แสดงผลได้สวยงาม ได้สัดส่วนเดียวกัน จึงไม่นิยมใช้แท็ก ควบคุม แต่จะเปลี่ยนไปใช้ในลักษณะการมาร์ค (Mark) เพื่อควบคุมกับโปรแกรมมิ่ง เช่น XML หรือ CSS แทน
การตกแต่งข้อความ
แท็กที่ใช้ตกแต่งข้อความเพื่อเน้นคำ หรือข้อความสั้นๆ หรือให้ดูสวยงาม มาตรฐาน HTML 4.0 มีแท็กสำหรับใช้ตกแต่งข้อความมากมาย ทำได้แทบจะครบทุกรูปแบบ และสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
Logical Format - เป็นแท็กที่มีชื่อที่สื่อความหมาย ซึ่งเบราเซอร์แต่ละยี่ห้อจะแปลแท็กเหล่านี้ต่างกัน และให้ผลเป็นเว็บเพจที่มีหน้าตาต่างกัน แต่ก็แตกต่างกันไม่มากนัก โดยยังคงให้ผลใกล้เคียงกับชื่อของแท็กนั้นๆ เช่น หมายถึงข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ซึ่งเว็บเบราเซอร์อาจจะแสดงเป็นตัวหนา หรือตัวเอียงก็ได้ ขึ้นกับเบราเซอร์แต่ละตัว และการกำหนดสไตล์ชีท
Fixical Format - แท็กที่กำหนดลักษณะตายตัว ทุกเบราเซอร์จะแปลความหมายแท็กเหล่านี้เหมือนกันหมด เว็บเพจที่ได้จึงเหมือนกัน เช่น หมายถึงข้อความแบบตัวหนา
การกำหนดตัวอักษรให้มีความหนา
ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายในคำสั่ง ให้แสดงผลด้วยตัวอักษรแบบตัวหนา (bold) มีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น
ตัวอักษรปรกติ COMPUTER
ตัวอักษรหนา COMPUTER
การกำหนดตัวอักษรให้ขีดเส้นใต้
ใช้แสดงข้อความแบบขีดเส้นใต้ (underline) ทั้งนี้เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น
ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้ COMPUTER
หมายเหตุ แท็กนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความสับสนกับข้อความที่เป็นจุดลิงก์ได้
การกำหนดตัวอักษรให้มีการเอน
ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายในคำสั่งให้แสดงผลด้วยตัวอักษรแบบเอน (Italic) มีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น
ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรเอน COMPUTER
การกำหนดตัวอักษรกระพริบ
ใช้กำหนดแสดงข้อความแบบกระพริบ จะมีลักษณะการแสดงผลเป็นแบบติด - ดับ สลับกันไป
COMPUTER
แสดงผลได้เฉพาะบน Netscape
หมายเหตุ ในการกำหนดตัวอักษรกระพริบนั้น เราไม่สามารถเปิดในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่เป็น Internet Explorer ได้

การกำหนดรูปแบบของตัวอักษร
เป็นการกำหนดฟอนต์ของตัวอักษรในเว็บเพจ ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ด้วยคุณสมบัติที่ชื่อว่า FACE และตามด้วยชื่อฟอนต์ที่เราต้องการ เอกสารเว็บอนุญาตให้กำหนดฟอนต์ ได้หลายฟอนต์ โดยเบราเซอร์จะมีการตรวจสอบการใช้ฟอนต์ให้อัตโนมัติ
ฟอนต์สำหรับข้อความภาษาไทย/อังกฤษ ที่เหมาะสมได้แก่ MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, Thonburi
ฟอนต์สำหรับข้อความภาษาอังกฤษที่เหมาะสม คือ Arial, Helvetica, sans-serif ชนิดของฟอนต์ปกติ
ฟอนต์ชื่อ MS Sans Serif
ผลลัพธ์
ชนิดของฟอนต์ปกติ
ฟอนต์ชื่อ MS Sans Serif
การกำหนดสีของตัวอักษร
ใช้การกำหนดให้ตัวอักษรหรือข้อความมีสีอื่นต่างจากสีตัวอักษรทั่วไป หรือต้องการเน้นสีสันเพื่อเพิ่มจุดเด่น ทำให้แปลกแตกต่างไป การระบุค่าสี สามารถใช้ได้ทั้งระบุชื่อสี หรือค่าสีในระบบเลขฐาน 16
การกำหนดขนาดของตัวอักษร
การกำหนดขนาดของตัวอักษรในเว็บเพจนั้น เราสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้อยู่ 2 รูปแบบคือ กำหนดเป็นตัวเลขซึ่งจะมีค่า 1 - 7 โดยค่ามาตรฐานจะมีค่าจะอยู่ที่ 3 ค่าตัวเลขที่เป็น 1 และ 2 นั้นจะเป็นการย่อขนาดของตัวอักษร และค่าตัวเลข 4 ถึง 7 นั้นจะเป็นการขยายขนาดของตัวอักษร
กำหนดโดยใช้เครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบ โดยสามารถกำหนดได้ดังีน้ ถ้าเป็นการย่อขนาดของตัวอักษรนั้นจะใช้เครื่องหมายลบ ซึ่งจะใช้ไม่เกิน - 2 ถ้าเป็น การขยายขนาดของตัวอักษรนั้นจะใช้เครื่องหมายบวกซึ่งจะใช้ไม่เกิน + 4 คำสั่งลดขนาดตัวอักษรลง 1 ระดับ
คำสั่ง < SMALL > เป็นคำสั่งที่สามารถลดขนาดของตัวอักษรลง 1 ระดับจากขนาดของอักษรปัจจุบันได้ทันที โดยไม่ต้องไประบุด้วยคำสั่ง < font size >
Computer
Computer
Computer
คำสั่งเพิ่มขนาดของตัวอักษร 1 ระดับ
คำสั่ง เป็นคำสั่งที่สามารถเพิ่มขนาดของตัวอักษรขึ้น 1 ระดับจากตัวอักษรปัจจุบันได้ทันที โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง Computer
Computer
Computer
คำสั่งที่กำหนดตัวอักษรยกระดับ
คำสั่ง < SUP > ย่อมาจาก (superscript) เป็นคำสั่งที่จะกำหนดให้ตัวอักษร หรือข้อความยกระดับสูงขึ้นกว่าระดับปกติและมีขนาดเล็ก
Computer
A2 = A2
Computer
คำสั่งที่กำหนดตัวอักษรพ่วงท้าย (ตัวห้อย)
คำสั่ง < SUB > ย่อมาจาก (subscript) เป็นคำสั่งที่จะกำหนดให้ตัวอักษร หรือข้อความพ่วงท้ายจะมีลักษณะต่ำกว่าระดับปกติและมีขนาดเล็ก
Computer
H20 = H2O
Computer
การกำหนดตัวอักษรให้ขีดเส้นใต้ ใช้แสดงข้อความแบบขีดเส้นใต้ (underline) ทั้งนี้เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น
ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้ COMPUTER
หมายเหตุ แทรกนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความสับสนกับข้อความที่เป็นจุดลิงก์ได้
การกำหนดตัวอักษรให้มีการเอน
ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายในคำสั่งให้แสดงผลด้วยตัวอักษรแบบเอน (Italic) มีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น
AD>
ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรเอน COMPUTER

มหากาพย์กระต่ายกับเต่า

มหากาพย์เรื่องนี้สอนในเรื่องของการมีความพยายาม ความไม่ประมาทเหมือนอย่างเจ้าเต่าเป็นสัตว์ที่เดินช้าแต่ก็ยังสามารถเอาชนะเจ้ากระต่ายได้เพราะเจ้าเต่ามีความพยายามไม่เหมือนกับเจ้ากระต่ายมีความประมาทคืดว่าตัวเองวิ่งเร้วก็เลยไม่มีความกระตือรือล้นทำให้แพ้เจ้าเต่าไปนอกจากนี้เราต้องรู้จักหันมามองจุดด้อยของตัวเองและพัฒนาก็จะทำให้เราประสบผลสำเร็จเช่นเจ้ากระต่ายแม่อแพ้เจ้าเต่าก็หันมามองจุดด้อยของตัวเองแล้วพัฒนาทำให้ชนะเจ้าเต่าได้

แบบทดสอบภาษาHTML

1. คำสั่ง แสดงข้อความที่ต้องการออกทาง สื่อที่ระบุคือคำสั่งใด
ก.REM
ข. ECHO
ค. CALL
ง. PAUSE

2.เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์คือไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นใด
ก. 8088
ข. 8086
ค. 80286
ง. 80386
3.. ความสามารถของซีพียูที่จะทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันคือข้อใด
ก. Multiusers
ข. Multitasking
ค. Incompatibility
ง. Performance

4.การที่เครื่องไม่หยุดทำงานทันทีทันใด หรือหากเกิดขึ้นก็จะต้องไม่ทำลายข้อมูลคือคุณสมบัติข้อใดของเซิร์ฟเวอร์
ก. ความปลอดภัย
ข. ความคงทน
ค. ความแข็งแกร่ง
ง. ความแข็งแรง

5.. ไดร์ฟซีดีรอมจะต้องใช้ส่วนประกอบของซอฟแวร์ใดมาช่วย
ก. ซอฟแวร์ไดรเวอร์ซีดีรอม
ข. Microsoft CD-ROM Extension
ค. MSCDEX
ง. ถูกทุกข้อ

6.. Toner คืออะไรในเครื่องพิมพ์เลเซอร์
ก. ลำแสงเลเซอร์
ข. ผิวหน้ของดรัม
ค. ขอลวดโคโรนาไพรมารี
ง. ผงหมึก

7.. เมณูในเมณู Start ที่ใช้ในการเรียกโปรแกรม โดยใช้คำสั่งของ MS-DOS
ก. Help
ข. Run
ค. Find
ง. Settings

8.แฟ้มที่เก็บในห้องนี้จะแสดง Icon บน Desktop ให้ผู้ใช้สามารถเลือกตัวเลือกได้ง่าย ๆ คือแฟ้มใด
ก. C:\WINDOWS\Desktop
ข. C:\WINDOWS\Help
ค. C:\WINDOWS\Command
ง. C:\WINDOWS\Msapps
9.ความสามารถในการทำงานด้านกราฟิกของวินโดว์คือข้อใด
ก. Windows Kernel
ข. Application Programming Interface
ค. Graphics Uses Interface
ง. Windows Application

10.. สิ่งที่ได้จากระบบเครื่อข่ายคือข้อใด
ก. ใช้โปรแกรม หรือเอกสารจากเครื่องอื่นได้โดยไม่ต้องใช้ floppy อีกต่อไป
ข. สามารถใช้บริการ Internet หรือ Intranet ได้
ค. สามารถใช้บริการ E-mail หรือเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน กับที่สำนักงานได้
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

11.. เปิดเครื่อง แล้วแสดงรายการที่ทำงานทีละบรรทัด และหยุดให้ดูเพื่อถามว่าจะทำต่อหรือไม่เป็นการเข้าสู่ Windows แบบใด
ก. Safe mode command prompt only
ข. Previous version of MS-DOS
ค. Step by step Confirmation
ง. Safe mode

12.ข้อใดคือคำจำกัดความของบัสที่กำหนดอินเตอร์แฟซอาร์ดแวร์ที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ภายนอก
ก. PCI
ข. OLE
ค. DLL
ง. PCMCIA

13.. Unix คืออะไร
ก. ระบบโอเอสในเทคโนโลยีแบบเปิด
ข. ระบบที่ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่ง
ค. ระบบที่ออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ใด้หลายคนในเวลาเดียวกัน
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

14.. ตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับส่วนของเคอร์เนลคือขัอใด
ก. Kernel
ข. Hardware
ค. Utilities
ง. Shell

15.. คำสั่งของยูนิกซ์ในยุคต้น ๆ ทำงานได้กี่ลักษณะ
ก. 5 ลักษณะ
ข. 4 ลักษณะ
ค. ลักษณะ
ง. 2 ลักษณะ
เฉลยคำตอบ ข้อ1-15
1.ข 6.ง 11.ค
2.ก 7.ข 12.ง
3.ข 8.ก 13.ง
4.ง 9.ค 14.ง
5.ง 10.ง 15.ง

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

โปรแกรมภาษา HTML

ภาษา HTML คืออะไร ?
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา web page เพื่อให้โปรแกรม web brower ต่างๆ (Internet Explorer, Netscape, Opera) สามารถแปลงคำสั่ง แสดงผลในลักษณะของรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว โดยไฟล์ที่สร้างจะมีนามสกุล .html หรือ .htm การสร้างและแก้ไขสามารถใช้โปรแกรม NotePad, WordPad ในวินโดวส์ ลักษณะของไฟล์จะเป็น Text ไฟล์ธรรมดา
ตัวอย่างโครงสร้างภาษา HTML


โปรแกรมแรกของดิฉัน



Sawasdee ค่ะ นี่คือ Web Page แรกของดิฉัน


หมายเหตุ :- ตัวหนังสือสีแดง คือคำสั่งในภาษา HTML
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า แต่ละคำสั่งจะอยู่ในเครื่องหมาย "< >" ซึ่งเราเรียกว่า แทก "TAG" แต่ละคำสั่งจะเป็นการบอกจุดเริ่มต้นของคำสั่ง และจุดสิ้นสุดของคำสั่งจะมีสัญลักษณ์ ""
A. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นเอกสาร HTML (คำสั่งนี้จะอยู่ตอนบนสุดและล่างสุดของไฟล์)
B. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อเรื่องของไฟล์ HTML
C. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อของเอกสาร (คำสั่งนี้จะอยู่ระหว่างคำสั่ง HEAD)
D. - หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นส่วนของรายละเอียด (คำสั่งนี้จะอยู่หลังคำสั่ง HEAD)
E. ภาพตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจาก Notepad
โปรแกรม NotePad เป็น Text Editor (โปรแกรมที่ใส่ข้อมูลได้เฉพาะตัวอักษรและตัวเลข รูปภาพไม่สามารถบันทึกได้) ตัวหนึ่งที่มีมาพร้อมกับ Windows ทุกเวอร์ชั่น เราสามารถเรียกโปรแกรม Notepad ขึ้นมาใช้งานได้โดย
1. คลิกปุ่ม Start
2. เลือกโปรแกรม Programs
3. เลือก Accessories
4. และเลือก NotePad
หลังจากนั้นเวลาบันทึก ให้เลือกเมนู File เลือก Save เลือกตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งชื่อไฟล์หลักของ Web Page มักจะใช้ชื่อว่า index.html หรือ index.htm หลังจากสร้างเสร็จแล้ว เราสามารถเลือกโปรแกรม browser ซึ่ง ณ ที่นี้เราจะเรียกโปรแกรม Microsoft Internet Explorer ซึ่งมีมาพร้อมกับ Windows เวอร์ชั่น 95 ขึ้นไป โดยการ...
1. คลิกปุ่ม Start
2. เลือก Programs
3. เลือก Internet Explorer
4. จากนั้นเลือกเมนู File เลือก Open
5. และเลือกชื่อไฟล์ ทีเราตั้งชื่อไว้ อาจะเป็น index.html หรือ index.htm
ภาพรวมการสร้างเวป
ขั้นตอนการสร้างเวป | โดเมนเนมคืออะไร ? | ภาษา HTML ?
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ต เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งอีเมล นอกจากนี้การท่องไปยังโลกอินเตอร์เน็ต ผ่านโปรแกรมเวปบราวเซอร์ก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ตัวอักษร หรือรูปภาพที่คุณๆ เห็นอยู่นี้ เราเรียกว่า เวปเพจ ซึ่งผู้สร้างมักต้องการให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆ ทั้งนี้อาจทำเพื่อการค้า หรือเพื่อความสนุกสนานก็ได้ การสร้างเวปเพจ เราสามารถมีเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก เชื่อเถอะครับ ถ้าท่านพอมีเวลา ลองศึกษาจากเวปเพจนี้ เราจะนำท่านเข้าสู่การเป็นผู้สร้างเวป หรือที่เราเรียกว่า Web Master ได้อย่างแน่นอน...
ขั้นตอนการสร้างเวป ตั้งแต่ต้นจนจบ
จัดสร้างเวปเพจ ด้วยโปรแกรมต่างๆ หรืออาจเขียนเวปโดยใช้ภาษา HTML
การจดทะเบียนชื่อเวป เช่น http://www.siam.com หรือ http://www.siam.co.th เป็นต้น
เช่าพื้นที่ เพื่อฝากเวปเพจที่เราสร้างขึ้นกับบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือถ้าต้องการของฟรีเพื่อทดสอบฝีมือก่อน ก็หาได้ ที่นี่ (ถ้าขอใช้พื้นที่ฟรี จะมีชื่อเวปฟรีให้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนชื่อเวป)
โอนย้ายข้อมูลไปยัง Host หรือ เวปที่เราจะฝาก เวปเพจของเรา วิธีการโอนย้ายข้อมูล
ปรับปรุง แก้ไขอยู่เสมอ
การโปรโมทเวปไซท์ ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก
Domain Name คืออะไร
domain name คือชื่อเวปไซท์ เช่น www.yahoo.com ชื่อเวปไซท์คือ yahoo เป็นต้น
การจด domain name ต่อท้าย เช่น .com หรือ .co.th นั้น มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
.com จะต้องเสียค่าใช้จ่าย $70 ต่อ 2 ปีแรก
.co.th เสีย 800 บาทต่อปี และต้องใช้ ภพ.20 (หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท)
ลักษณะของโดเมน
- www.***.com หมายถึง Top-Level-Domain
- www.***.com หมายถึง ชื่อที่ขอจดโดเมน
- www.***.com หมายถึง สับย่อย (Sub) ของโดเมน
ขอจดโดเมนได้ที่ไหน ?
1. จดโดเมนจาก thnic.net คือโดเมนที่ตามด้วย .th
2. จดโดเมนจาก internic.net
การจดโดเมนจาก thnic.net
thnic.net เป็นองค์กรในประเทศไทย รับจดโดเมนเนม แต่มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งจะต้องใช้ ภพ. 20 หรือ ท.ค.0401 มาขอจด และจดที่ขอจดต้องตรงกับ ภพ.20 เท่านั้น ซึ่งต่างกับการจด internic.net สำหรับประเภทของการขอจดมีดังนี้
- ac.th สำหรับสถานศึกษา
- co.th สำหรับ บริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
- go.th สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาล
- net.th สำหรับบริษัทเครือข่ายในประเทศไทย
- or.th สำหรับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
- in.th สำหรับเวปไซท์ของบุคคลธรรมดา
ก่อนจดชื่อโดเมนเนม สามารถตรวจสอบชื่อได้ที่นี่ thnic.net
การจดโดเมนจาก internic.net
internic หรือ networksolutions.com รับจดโดเมนมีรายละเอียดดังนี้
- .org สำหรับองค์กรไม่หวังผลกำไร มูลนิธิ
- .net สำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องระบบเน็ตเวิร์ก คอมพิวเตอร์
- .edu สำหรับองค์กรด้านการศึกษา
- .com สำหรับองค์กรการค้าต่างๆ
- .gov สำหรับองค์กรราชการ
- .mil สำหรับองค์กรด้านการทหาร ความมั่นคงของประเทศ
ก่อนจดชื่อโดเมนเนม สามารถตรวจสอบชื่อได้ที่นี่ internic.net หรือ networksolutions
ภาษา HTML คืออะไร ?
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเวปเพจ เพื่อให้โปรแกรมเวปบราวเซอร์ (web brower) ต่างๆ สามารถแปลงคำสั่ง แสดงผลในลักษณะของรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว โดยไฟล์ที่สร้างจะมีนามสกุล .html การสร้างและ แก้ไขสามารถใช้โปรม NotePad, WordPad ในวินโดวส์ได้ เนื่องจากไฟล์จะมีลักษณะเป็น Text ไฟล์ธรรมดา
ตัวอย่างคำสั่งภาษา HTML


ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ภาษา HTML



Sawasdee ครับคนไทยทั้งประเทศ นี่คือเวปเพจของผม


ผลการรันโดยใช้ web browser
ที่ title bar ด้านบนสุดของโปรแกรม web browser จะมีข้อความว่า
"ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ภาษา HTML"
ส่วนในเนื้อความ จะมีข้อความ
"Sawasdee ครับคนไทยทั้งประเทศ นี่คือเวปเพจของผม"
การ Save ไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTML ต้อง Save นามสกุลเป็น .html หรือ .htm ดังตัวอย่างนี้ "sample.html"
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า แต่ละคำสั่งจะอยู่ในเครื่องหมาย "< >" ซึ่งเราเรียกว่า แทก "TAG" แต่ละคำสั่งจะเป็นการบอกจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดจะมีสัญลักษณ์ "" เช่น
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นเอกสาร HTML
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อเรื่องของไฟล์ HTML
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าชื่อของเอกสาร
- หมายถึง คำสั่งที่ใช้กำหนดว่าเป็นส่วนของรายละเอียด รูปแบบหนึ่งของการบริการบนเครือข่ายที่มาแรงคือ World Wide Web หรือ WWW เพราะเป็นการปฏิวัติการสื่อสารบนเครือข่ายที่ในอดีตทำได้เฉพาะตัวอักษร (Text) หรือข้อความล้วนๆ ซึ่งขาดความน่าสนใจ มาสู่การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพและเสียง มัลติมีเดียไฟล์ชนิดต่างๆ
HTML : อักษรวิเศษของทิม
Tim Berners-Lee WWW ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางอนุภาคฟิสิกส์ของยุโรป (CERN) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในครั้งแรก ทิมเพียงคิดอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์ของสถาบันให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น จึงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลได้ เรียกว่า "ไฮเปอร์เท็กซ์" (Hypertext)
เมื่อได้ตัวอักษรที่มีคุณสมบัติพิเศษแล้ว สิ่งที่พัฒนาขึ้นต่อจากไฮเปอร์เทกซ์ก็คือเครื่องมือสำหรับอ่านตัวอักษรที่เขาประดิษฐ์ขึ้น และเรียกเครื่องมือนี้ว่า "บราวเซอร์" (Browser) เพียง 3 ปีหลังจากกำเนิดไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้นมา โปรแกรมบราวเซอร์ตัวแรกชื่อ Mosaic ซึ่งทำงานบนระบบ X-Windows ก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมาในระบบการสื่อสารข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และยังเป็นแม่แบบของบราวเซอร์ตัวอื่นๆ เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera, Firefox, Mozilla เป็นต้น และก่อให้เกิดกระแสโลกไร้พรมแดนขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเราเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้บราวเซอร์ในการสืบค้นข้อมูลสิ่งที่พบในหน้าต่างบราวเซอร์คือ โฮมเพจ หรือ เว็บเพจนั่นเอง การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจนี้จะใช้คำสั่งภาษาของทิมคือ ไฮเปอร์เทกซ์ แม้ว่าต่อมาจะมีการพัฒนาโปรแกรมที่ทำให้เราสามารถสร้างเว็บเพจได้อย่างง่ายดาย แต่สุดท้ายการจัดเก็บไฟล์ การแก้ไขให้ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุดก็ด้วยการใช้ตัวอักษรของทิม ที่เรียกกันติดปากว่า ภาษา HTML อยู่นั่นเอง
ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ HyperText
ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย ตลอดจนความสามารถในการเชื่อมโยงไปเว็บไซต์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText (ข้อความหลายมิติ) ซึ่งเป้นข้อความที่มีความสามารถมากกว่าปกตินั่นเอง ซึ่งมีผู้ให้คำนิยามของเว็บไว้ดังนี้ The Web is a Graphical HyperText Information System.
การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู
The Web is Cross-Platform
เอกสาร HTML ไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเป็น UNIX หรือ Windows ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องบริการเว็บได้
The Web is distributed.
ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล
The Web is interactive.
การทำงานบนเว็บเป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบโต้ตอบ (Interactive) ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่านบราวเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง
Homepage - Webpage - Website : อะไรกันแน่?
เว็บเพจ เว็บไซต์ และโฮมเพจ คำสามคำนี้จะมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่มักจะถูกเรียกสลับกันจนสับสน ไม่ทราบว่าคำไหนคืออะไรกันแน่ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรงกัน จึงขอให้ความหมายไว้ดังนี้
โฮมเพจ หมายถึง หน้าแรก ถ้าเปรียบหนังสือก็จะหมายถึงปกหน้าซึ่งเป็นส่วนแรกที่ผู้ชมจะพบเห็นก่อนเป็นลำดับแรก การทำโฮมเพจให้สวยงามน่าประทับใจคุณก็มีชัยมากกว่าครึ่งแล้ว
เว็บเพจ หมายถึง หน้าเว็บทุกๆ หน้าซึ่งรวมหน้าแรกด้วย เปรียบเหมือนหนังสือหน้าต่างๆ นั่นเอง ซึ่งจะขยายส่วนเนื้อหาต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เว็บไซต์ หมายถึง กลุ่มของหน้าเว็บเพจที่รวมกันและถูกอ้างถึงว่าตั้งอยู่ที่ใด เปรียบเหมือนที่วางหนังสือเล่มนั้นๆ ว่าอยู่ที่ชั้นใด หิ้งใด เราจะพบว่าการบอกตำแหน่งนั้นจะระบุเป็นชื่อ URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งเราจะพิมพ์ลงไปในช่อง Address ของบราวเซอร์ เช่น http://www.krumontree.com
HTML : ภาษาหลักของการสร้างเว็บเพจ
ภาษา HTML เป็นภาษาหลักของการสร้างเว็บเพจ ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Hyper Text Markup Language" ถูกพัฒนามาจากอักษรวิเศษของทิมนั่นเอง HTML เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ มีประโยชน์สูง ภายในเว็บเพจหน้าหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยคำสั่ง HTML ต่างๆ มากมาย โครงสร้างของภาษา HTML ถูกควบคุมและกำหนดโดยองค์กรที่เรียกว่า W3C (World Wide Web Consortium) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทำให้บราวเซอร์ทุกตัวทุกค่ายอ่านเว็บเพจได้
ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีรูปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย คำสั่ง (tag) ที่อยู่ภายในเครื่องหมาย < (น้อยกว่า) และเครื่องหมาย > (มากกว่า) มีรูปแบบดังนี้ <คำสั่ง> ในแต่ละคำสั่งสามารถมีคำสั่งขยายเพิ่มเติมเติมได้ เพื่อช่วยให้เกิดผลในการแสดงผ่านโปรแกรมบราวเซอร์แตกต่างกัน เช่น
ตัวอย่าง 1 : ตัวอักษรสีแดง
ผลลัพธ์ 1 : ตัวอักษรสีแดง
ตัวอย่าง 2 :ตัวอักษรสีแดงขนาดเท่ากับ 3
ผลลัพธ์ 2 : ตัวอักษรสีแดงขนาดเท่ากับ 3
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าคำสั่ง (tag) จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนเปิด <คำสั่ง> และส่วนปิด เป็นคู่ๆ เสมอ (ส่วนปิดจะมีเครื่องหมาย / (slash) นำหน้า และไม่มีคำสั่งขยายเพิ่ม) แต่ก็มีบางคำสั่งที่ไม่จำเป็นต้องมีคู่ปิดได้ ซึ่งเราจะได้ศึกษารายละเอียดในลำดับต่อไป
โครงสร้างหลักของภาษา HTML
ในการเขียนภาษา HTML นั้น จะมีรูปแบบโครงสร้างการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ


<br /> ข้อความนี้จะแสดงบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์ <br />


ส่วนเนื้อหาของเว็บเพจ ประกอบด้วย
- ข้อความ
- รูปภาพ
- สื่อมัลติมีเดีย
ส่วนเนื้อหา
1 ส่วนประกาศ เป็นส่วนที่กำหนดให้บราวเซอร์ทราบว่า นี่คือภาษาเอชทีเอ็มแอล และจะต้องทำการแปรผลอย่างไรมีคำสั่งคู่เดียวคือ และ ปรากฏที่หัวและท้ายไฟล์
2.ส่วนหัวเรื่อง (head) เป็นส่วนที่แสดงผลข้อความบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์ และอาจมีคำสั่งสำหรับกำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคอื่นๆ อีก แทรกอยู่ระหว่างคำสั่ง และ
3.ส่วนเนื้อหา (body) เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนมากที่สุด และสามารถใส่เทคนิคลูกเล่นเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มาก ความแตกต่างระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ แสดงความมีฝีมือของผู้จัดทำ ศิลปะในการออกแบบจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมด ซึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างคำสั่ง และ
โครงสร้างของภาษา HTML
โครงสร้างของ ภาษา HTML นั้น ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้ คือ


การกำหนด background




โดยแต่และส่วนสามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้
และ เป็น tag ที่ใช้เพื่อกำหนดว่าเอกสารต่อไปนี้เป็นเอกสารที่ใช้ภาษา HTML เป็น Markup Language และจะไม่ปรากฏในโปรแกรม Web Browser
และ เป็น tag ที่ใช้กำหนดส่วนหัวของเอกสาร Head ไม่ได้เป็นส่วนของเอกสารภายใน แต่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารฉบับนี้
และ เป็นการระบุข้อความที่ต้องการให้เป็นส่วนหัวของเอกสาร Title จะเป็นส่วนหนึ่งของ Head โดยข้อความที่อยู่ใน Title จะไปปรากฏอยู่ที่ส่วนบนสุดของ Web Browser
และ เป็น tag ที่บอกถึงลักษณะต่าง ๆ ของเอกสารฉบับนี้ ซึ่งใน Body จะมี Attributes ต่าง ๆ ได้แก่ BGCOLOR (หมายถึงกากำหนดสีพื้นด้านหลังของเอกสาร) , TEXT (หมายถึงการกำหนดสีของตัวอักษรในเอกสาร) เป็นต้น
หมายเหตุ : <คำสั่ง> เรียกว่า tag เปิด เรียกว่า Tag ปิด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
คำศัพท์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรทราบ
Web Pageเป็นเอกสารข้อมูลต่างๆ ในแต่ละหน้า
ซึ่งจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ข้อมูลที่แสดงในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าอาจจะประกอบไปด้วยข้อความต่างๆ รูปภาพ กราฟฟิกต่างๆ และเสียง เป็นต้น
Home Pageเป็นเว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง
เปรียบเสมือนปกหนังสือ ส่วนของโฮมเพจนี้เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเรื่องใด พร้อมทั้งมีหัวข้อย่อยต่างๆ แยกออกไปตามแต่ผู้ใช้ต้องการจะเข้าไปค้นคว้าหรืออาจเรียกว่าเป็นสารบัญก็ได้
Web Siteเป็นที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจแต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลขอตน
มักใช้ชื่อองค์กรของตนเป็นชื่อเว็บไซต์เลยเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่ายที่สุด เช่น ชื่อเว็บไซต์ของโรงเรียนชลกันยานุกูล มีชื่อว่า chonkanya (www.chonkanya.net)
Web Browserเป็นโปรแกรมพิเศษที่ใช้สำหรับอ่านและแสดงข้อมูลที่เป็นภาษา HTML เพื่อให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเห็นผลลัพธ์ของเว็บเพจนั้นๆ ได้ โดยปัจจุบันมีโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอยู่สองโปรแกรมคือ Internet Explorer และ Netscape Navigator
URL(Uniform Resource Locator) คือ แหล่งที่อยู่ของเว็บไซต์ใดๆ เพราะฉะนั้นเราสามารถเข้าถึง website หนึ่งได้ โดยการพิมพ์ URL เช่น URL ของโรงเรียนชลกันยานุกูล คือ ้http://www.chonkanya.net
Domain Nameชื่อที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการระบุถึงเว็บไซต์ใดๆ เช่น เว็บไซต์ของโรงเรียนชลกันยานุกุล มีชื่อโดเมนเนม ว่า chonkanya.net ชื่อโดเมนจะแบ่งออกเป็นระดับชั้น โดยอาจจะเป็น 2 ระดับ หรือ 3 ระดับ ก็ได้ โดยแต่ละระดับจะถูกคั่นด้วยเครื่องหมายจุด เช่น
chonkanya.net = ชื่อโดเมนแบบ 2 ระดับ
google.co.th = ชื่อโดเมนแบบ 3 ระดับ
ส่วนแรก จะหมายถึงชื่อองค์กร
ส่วนที่สอง จะเป็นส่วนขยายบอกประเภทขององค์กร เช่น เป็นองค์กรของเอกชน หรือองค์กรของรัฐบาล
ส่วนที่สาม จะเป็นส่วนขยายบอกประเทศที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นตั้งอยู่
เช่น
google co th
| | |
ชื่อองค์กร ส่วนขยายบอกประเภทขององค์กร ส่วนขยายบอกประเทศ
ตัวอย่างส่วนขยายประเภทขององค์กร
com หรือ co หมายถึง องค์กรของเอกชน (Commercial organization)
edu หรือ ac หมายถึง สถาบันการศึกษา (Education organization)
gov หรือ go หมายถึง องค์กรของรัฐ (Government organization)
org หรือ or หมายถึง องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (Non-commercial organization)
mil หรือ mi หมายถึง องค์กรทางทหาร (Military organization)
net หมายถึง องค์กรให้บริการเครือข่าย (Network organization)
ตัวอย่างส่วนขยายบอกประเทศ
at หมายถึง ออสเตรเลีย
ca หมายถึง แคนาดา
de หมายถึง เยอรมนี
es หมายถึง สเปน
fr หมายถึง ฝรั่งเศส
it หมายถึง อิตาลี
jp หมายถึง ญี่ปุ่น
th หมายถึง ไทย
uk หมายถึง อังกฤษ
us หมายถึง สหรัฐอเมริกา
TML ย่อมาจาก คำว่า Hypertext Markup Language เริ่มพัฒนา โดย ทิม เบอร์
เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) เป็นภาษาที่ใช้เขียนไฟล์เอกสาร HTML ซึ่งเป็นไฟล์เอกสารที่
สามารถแสดงผลลัพธ์บนโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์ (World Wide Web) ตามระบบ
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) การแสดงข้อมูลของไฟล์เอกสาร HTML บนโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบ
ราเซอร์ของเว็บไซต์ (Web site) หนึ่งๆ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ดังนั้นไฟล์เอกสาร HTML จึงเป็น
ตัวแทนของโฮมเพจของเว็บไซต์นั้นๆ
ภาษา HTML เป็นภาษาคำสั่งชนิดกำกับข้อความ ซึ่งดัดแปลงมาจากภาษาเอสจีเอ็มแอล
(SGML : Standard Generalized Markup Language) เป็นภาษาคำสั่งกำกับอักขระแอสกีตาม
มาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ (ISO : International Standrad Organization) โดยได้รับการ
ลงทะเบียนเป็นภาษามาตรฐานหมายเลข ISO8879 : 1986
ไฟล์เอกสาร HTML เป็นไฟล์แสดงข้อมูลแบบกราฟฟิกในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ โดยได้รับ
การกำหนดชี่อไฟล์เป็น *.HTML ในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) โดยมีชื่อเป็น *.HTM ภายใต้
ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากโฮมเพจเป็นแหล่งข้อมูลที่เขียนด้วยภาษา
HTML ดังนั้นไฟล์เอกสาร HTML จึงนับว่าเป็นหัวใจของระบบเวิลด์ไวด์เว็บ
ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเราเรียกว่า “มาร์คอัพ” (Markup) ซึ่งไม่ใช่ภาษาเครื่องทั่วไป เรา
สามารถใช้ภาษามาร์คอัพระบุสิ่งต่าง ๆ ลงในเอกสารที่เห็นอยู่ได้โดยใส่เพียงรหัสที่อยู่ในรูปของ
อักษรเท่านั้น โดยอาจจะเขียนใน Notepad ของวินโดว์หรือโปรแกรมจัดเอกสารอื่น ๆ ที่เราถนัดก็
ได้ ซึ่งที่จริงแล้วขณะที่เราทำการสร้างเว็บเพจก็เหมือนกับกำลังทำในสิ่งที่คล้าย ๆ กับการที่ทำงาน
ลงในโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป
ทำไมต้องเป็น HTML
เราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือมากมายให้เลือกในการสร้าง Web Page โดยไม่
จำเป็นต้องมีความรู้ในโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งเลย ก็สามารถสร้าง Web Page ได้ อย่างไรก็
ตาม Tool หรือเครื่องมือสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่มีมาให้เลือกใช้นั้น จะสามารถทำได้เท่าที่โปรแกรม
เตรียมไว้เท่านั้น หากเราจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะต่าง ๆ นอกเหนือจากที่มีให้เลือกใช้
โดยที่เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาที่เขียน Web Page เลยก็คงลำบาก
บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาษา HTML - 2 -
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องศึกษาภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่สร้าง Web
Page ที่มีขั้นตอนการสร้างไม่ยากและใช้โปรแกรมในการสร้างเอกสาร HTML ที่มีมากับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องอยู่แล้ว โดยแทบจะไม่ต้องไปหาเครื่องมือใด ๆ มาเพิ่มเติมเลย
การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร
ในความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนด นอกจาก
โครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น หรือแม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็
สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั้งนี้เป็นเพราะว่าตัวโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุก
สิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น ยกเว้นใน ส่วนหัว ที่ต้อง มีการกำหนด
แยกออกไปให้ เห็นชัดเท่านั้น จะเขียน คำสั่ง หรือ ข้อความที่ต้องการให้แสดงอย่างไรก็ได้เป็น
เสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียง แต่ทำตำแหน่งใดมีการ ทำตำแหน่ง พิเศษขึ้นมาเว็บเบรา
เซอร์ถึงจะแสดงผล ออกมาตามที่ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับรหัสที่กำหนดเท่านั้น
เว็บไซต์ (Website)
หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้น
เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้
ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบาง
เว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่
ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ
ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์
โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูล
สารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้
ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บ
เปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น
1. อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) โดยบริษัทไมโครซอฟท์
2. มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) โดยมูลนิธิมอซิลลา
3. เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) โดยบริษัทเน็ตสเคป
บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาษา HTML - 3 -
4. ซาฟารี (Safari) โดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์
5. โอ_¨ö_ôöเปร่า (Opera) โดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์
6. คามิโน
7. แมกซ์ทอน
การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์
ไฟล์ของโปรแกรมภาษา HTML เป็นเท็กซ์(Text) ไฟล์ธรรมดาที่ใช้นามสกุลว่า .htm หรือ
.html เมื่อเราเขียนคำสั่งต่าง ๆ ลงในโปรแกรม Notepad แล้วเราจะต้อง Save ให้เป็นนามสกุล
ดังกล่าว ถ้าไม่เช่นนั้นเรา จะไม่สามารถ แสดงผลได้
URL (Uniform Resource Locator) หรือชื่อย่อ URL (ยูอาร์แอล) เดิมรู้จักกันในชื่อ Universal
Resource Locator เป็นคำศัพท์ทางเทคนิคทางด้านเว็บ ซึ่งมีความหมาย 2 อย่าง
โดยทั่วไปแล้ว มีค่าเทียบเท่ากับ Uniform Resource Identifier หรือ URI แต่ถ้าพิจารณาจาก
นิยมโดยละเอียด URL เดิมเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า ซึ่ง
ในปัจจุบันตาม REF1630 ถือว่าชื่อเรียกที่ถูกต้องคือ URI เพียงแต่ URL เป็นชื่อที่มีมานานกว่าและ
ได้รับความนิยมมากกว่า
ตัวอย่าง http://www.sawananan.ac.th
เราสามารถถอดความ URL ได้ดังนี้
HTTP หมายถึง HyperText Transfer Protocol เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์
เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
WWW หมายถึง World Wide Web เป็นพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต
sawananan.ac.th หมายถึง โดเมนเนม ซึ่งสามารถใช้ที่อยู่ในเครือข่ายหรือหมายเลขไอพีแทนได้
.com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร
.info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.net ย่อมาจาก network สำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องระบบเน็ตเวิร์ก คอมพิวเตอร์
.edu สำหรับองค์กรด้านการศึกษา
.ac.th ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
co.th ย่อมาจากcommercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
.or ย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.in.th ย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
.go.th สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาล
.gov สำหรับองค์กรราชการ
บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาษา HTML - 4 -
.mil สำหรับองค์กรด้านการทหาร ความมั่นคงของประเทศ
.biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.tv ย่อมาจาก television หมายถึง รายกายการโทรทัศน์
สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการเขียนโฮมเพจ
ก่อนที่จะลงมือเขียนโปรแกรมภาษา HTML เพื่อสร้างเว็บเพจ หรือ โฮมเพจ ได้นั้น ต้อง
เช็ค ความพร้อม ของอุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับการ สร้าง ก่อนว่า มีครบหรือไม่
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดตั้งแต่ 486 หรือ pentium ขึ้นไป
2. หน่วยความจำไม่น้อยกว่า 8 MB
3. พื้นที่ฮาร์ดดิสต์ขนาดไม่น้อยกว่า 20 MB
4. Mouse
5. โปรแกรม Internet Explorer Version 3.0 ขึ้นไป
6. โปรแกรม Netscape Navigator Version 3.0 ขึ้นไป
7. โปรแกรม Notepad
ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการเขียน ภาษา HTML
• โปรแกรม Notepad
• โปรแกรม Editpus
• โปรแกรม Microsoft Office FrontPage
• โปรแกรม Macromedia Dreamweaver__
คำศัพท์ควรรู้
Active X
พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เป็น LOE (Object Linking and Enbedding) ที่จะช่วยให้คุณใช้งานไฟล์รูปแบบ Word Excel Access กับอินเตอร์เน็ตได้ โดยแบ่ง 2 ส่วนคือ ส่วนของซอฟต์แวร์ (ActiveX Control) เป็น OLE ที่มีการทำงานตามข้อกำหนดของ ActiveX และส่วนแอพพลิเคชั่น (ActiveX container) โดยการนำเอา ActiveX control มาประยุกต์ใช้งานนั่นเอง ซึ่งจะเป็นรูปแบบ VBScript หรือ JavaScript ก็ได้
ASP
ASP (Active WebServer Page) เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีส่วนขยายเป็น .asp ปกติมักจะนำมาใช้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ WindowsNT โดยอาศัยการควบคุมด้วยโปรแกรมอินเตอร์เน็ต Information เว็บเซิร์ฟเวอร์ (IIS) ของไมโครงซอฟท์ ลักษณะของไฟล์ *.asp จะประกอบด้วยโค้ดที่แทรกไว้ระหว่างโค้ดภาษา HTML การทำงาน ASP นั้นจะใช้การ เรียกใช้จากฝั่งผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยบราวเซอร์โดยจะมีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะแสดงผลที่บราวเซอร์ ช่วยลด ความอืดอาดในการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงได้มาก
Browser
บราวเซอร์ (Browser Web Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยาย เป็น *.htm *.html *.asp *.php *.pl ส่วนรูปภาพจะเป็นรูปแบบ *.jpg *.gif *.png เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอรืเน็ตกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ หรือระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้ สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความหรือรูปภาพได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกและยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้อีก มากมาย เช่น บริการ E-mail รับส่งข้อมูลผ่านบราวเซอรืได้ ในปัจจุบันยังสามารถที่จะฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุ หรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยบราวเซอร์และโปรแกรมเสริม(Plug-in)ต่าง ๆ ได้อีกด้วย มีโปรแกรมบราวเซอร์หลายโปรแกรม เช่น Internet Exporer (IE) , Netscape , Opera
CGI
CGI (Common Gateway interface) เป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้จัดเตรียมโปรแกรม CGI ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในขณะ ที่ยังสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เช่น การใช้งานห้องสนทนาที่จะรับข้อความมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และส่งข้อความของเขาและคนอื่น ๆ มาแสดงที่บราวเซอร์ได้ด้วย
เบื้องหลังของ CGI จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาสคริปต์หลายอย่าง เช่น โปรแกรม Perl ASP PHP เป็นต้นซึ่งจะมีส่วนประกอบ พื้นฐาน ดังนี้
GET -- ข้อมูลจะถูกส่งไปกับ query string ของ URL จะส่งข้อมูลใน query_string ไปยัง HTTP เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงาน อยู่ในเครื่อง
POST -- ข้อมูลจะถูกส่งไปในลักษณะของ message body ติดไปกับ request message ที่ถูกส่งโดย client ไปยังเว็บ
เซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า GET แต่สามารถใช้กับข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าได้ดีกว่า
ความแตกต่างระหว่าง GET และ POST โดยทั่วไป GET ใช้สำหรับเรียกไฟล์ หรือทรัพยากรอื่น ๆ จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย สามารถมี parameter ระบุไว้ตามที่ต้องการได้ ในกรณีของการรับข้อมูล จาก form URL ของการ GET จะเป็น GET คือวิธีการที่บราวเซอร์ใช้ในการดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูล เช่น เอกสาร HTML หรือรูปภาพและยังสามารถใช้ในการส่งข้อมูลจาก
form ได้ด้วย ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นไม่มากจนเกินไป (ข้อจำกัดของขนาดข้อมูลขึ้นอยู่กับบราวเซอร์) ผลกระทบของการใช้วิธีการ
GET คือบราวเซอร์และ proxy จะสามารถจดจำผลลัพธ์ของการ GET ไว้ใน cache ได้
เพราะฉะนั้นในการเรียกใช้โปรแกรมด้วยวิธี GET หลายอาจจะได้ผลลัพธ์เก่าออกมาก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้วิธี GET ถ้าหากว่าต้องการที่จะเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมแต่ละครั้ง เฉพาะเป็นครั้ง ๆ ไป หรือกับโปรแกรม CGI ที่ต้องการ ที่จะนำเสนอข้อมูลที่ใหม่ (update) เสมอทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โดยปกติแล้ว POST ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อประมวลผล เมื่อ HTML form ส่งออกไปยังเว็บเซิร์ฟเวอรืด้วยวิธีการ POST ข้อมูลของคุณจะแนบไปกับส่วนท้ายของข้อมูล เรื่องขอใช้งานโปรแกรม เวลาใช้งานวิธี POST อาจจะไม่ง่ายและเร็วเท่ากับการใช้วิธี GET แต่สามารถทำงานกับข้อมูลที่ สลับซับซ้อนได้ดีกว่า คุณสามารถส่งแฟ้มข้อมทูลไปกับวิธีการ POST ได้ด้วยเช่นกัน ขนาดของข้อมูลที่จะส่งจะไม่ถูกจำกัด เหมือนวิธีการ GET
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เขียนโปรแกรม CGI แล้ว ทั้งวิธีการ GET และ POST ต่างก็ไม่ยากที่จะใช้งานด้วยกันทั้งคู่ ข้อดีของ วิธีการ POST คือ วิธีการ POST ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไม่จำกัดขนาด และสามารถนับจากโปรแกรม CGI ได้จริง ๆ ว่ามีการ เรียกใช้โปรแกรมกี่ครั้ง ส่วนข้อดีสำหรับการใช้วิธี GET ข้อมูลจากการกรอก form ทั้งหมดจะถูกส่งไปเป็น URL เดียว สามารถ จะใช้ผ่าน hyperlink หรือ bookmark ได้โดยไม่ต้องกรอกฟอร์มทุกครั้ง
Chat
Chat นั้นเป็นการสนทนาด้วยข้อความหรือแลกเปลี่ยนไฟล์กันแบบสด ๆ ผ่านทางอินเตอรืเน็ต (มักจะเรียกว่าแบบ
Realtime หรือเรียกอีกชื่อว่า InterActive)ที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทำให้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากโดยมีโปรแกรม สำหรับการ Chat หลายตัว เช่น ICQ IRC mIRC Perch Odigo และอื่น ๆ
FTP
FTP (File Transfer Protocol , File Transfer Program) เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการโอนไฟล์ขึ้นไปไว้ที่ เว็บเซิร์ฟเวอรที่เรียกว่าการ upload และให้บริการโอนย้ายไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เว็บไซต์อื่น ๆ ที่เรียกว่าการ Download โปรแกรมที่จะช่วยให้การ Upload download มีหลายตัวเช่น WS_FTP Flashget Download-Acc Cute-ftp เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้งานโปรแกรม Telnet ในระบบปฏิบัติการ UNIX อีกด้วย
FAQ
FAQ (Frequently Asked Questions) ซึ่งก็คือการที่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทำการรวบรวมคำแนะนำดี ๆ ที่ได้รับจากผู้ที่เข้าชม เว็บไซต์หรือคำถามต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ถูกถามถึงบ่อย ๆ เอาไว้เพื่อให้ผู้ชมสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการ และรายละเอียด
ต่าง ๆ ของ Web ที่ผู้ใช้อยากรู้
Homepage
สำหรับเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตต่างตกแต่งเว็บเพจของตนให้ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ใฝ่รู้ทั้งหลาย เป็นที่ ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้กลับมาเยี่ยมชมอีกหรือด้วยจุดประสงค์ที่ผู้ตั้งเว็บไซต์ต้องการ โดยเว็บเพจหน้าแรก ที่พบเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นจะถูกเรียกว่า โฮมเพจ (Homepage) ซึ่งก็คือเอกสาร HTML ธรรมดาที่สามารถจะเข้าถึง ข้อมูลในเว็บไซต์ได้ มีจำนวนมากมักนิยมเรียกรวบเว็บไซต์สั้น ๆ ว่าโฮมเพจ ดังนั้น Homepage นั้นก็เสมือนเป็นประตู ที่จะเข้าไปสู่เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้น จริง ๆ แล้วโฮมเพจ เป็นเพียงโฟล์เดอร์หนึ่งในเว็บไซต์ โดยทั่วไปในเมืองไทยมัก เรียกโฮมเพจแทนเว็บไซต์ เนื่องมาจากความคุ้นเคยมากกว่า
HTML
HTML (Hyper Text Marup Language) เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ
HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด
ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์
พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4
ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย
HTTP
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารกัน (Protocol) ระหว่างบราวเซอร์และ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง HTTP โปรโตคอลนั้นก็จะทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP อีกทีหนึ่งโดยที่เราเปิดโฮมเพจขึ้นมา บราวเซอร์จะ ติดต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอล HTTP และจะส่งที่อยู่ไฟล์ข้อมูลหรือที่เรียกว่า URL ที่ต้องการไป และอาจมี
ีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ชื่อและรุ่นของบราวเซอร์ที่ใช้เปิดดูไฟล์ข้อมูลได้ จากนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกับมาตามข้อกำหนดของ
HTTP เช่น ขนาดของข้อมูล , วัน เวลาที่สร้าง และเมื่อบราวเซอร์ได้รับข้อมูลครบแล้ว การติดต่อจะสิ้นสุดทันที และหากหน้า เว็บเพจใดมีข้อมูลที่มีหลายไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพและเสียง ก็จะต้องมีการติดต่อไปหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจะไม่เกี่ยวข้องกัน
Internet
อินเตอร์เน็ต (Internet) เราเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารกับเครื่องที่อยู่ระยะไกล ๆ ได้ทั่วโลก การสื่อสารที่ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลอย่างกว้างขวางได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ อาจจะเรียกกันอีกชื่อว่า ระบบใยแมงมุม (WORLD WIDE WEB หรือ WWW) ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง ในตอนแรกนั้นอินเตอร์เน็ตเริ่มมาจาก เครือข่าย
อาร์พาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Project Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา กับมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย และต่อมาได้ขยายไปยัง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น ทางการทหารของสหรัฐจึงขอแยกตัวออกไปกลายเป็น
เครือข่าว Millet Military Network แต่ก็ยังคงเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต ด้วยเทคนิคการโต้ตอบด้วย IP (Internet Protocol) ที่เรียกว่า TCP/IP และต่อมาก็ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูกกับสหรัฐอเมริกา จนมีการเชื่อมต่อ กันด้วยระบบ "Internet Protocol" จนกลายเป็นอินเตอร์เน็ตอยู่ในปัจจุบันนี้ และเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ
30 ปีที่แล้วนี่เอง
Intranet
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในพื้นที่ หรือองค์กรเดียวกัน ซึ่งเราเรียกกันว่า ระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งจะใช้กันภายในองค์กรต่าง ๆ เช่น อาจจะมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน หรือบริการ รับฝากข้อความ (E-mail) หรือฐานข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งไม่ได้ติดต่อกับภายนอกและต่อระบบ Lan ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ เครือข่ายวงกว้าง หรือระบบ Wan (Wide Area Network) ที่ใช้ในต่างพื้นที่กัน แต่ว่ามีข้อจำกัดเรื่องของสายสัญญาณภายใน ที่ใช้ต่อในแต่ละจุด ยิ่งจุดที่เชื่อมต่อไกลมาก ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงและในปัจจุบันนนี้ระบบอินทราเน็ตนั้นก็ได้มีการเชื่อมต่อเข้า
กับ ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีเครื่องอยู่ในระยะไกล ๆ กัน
ISP
ISP (Internet Service Provider) เป็นบริษัทที่ให้การเชื่อมต่อแก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าชั่วโมงการใช้งานเป็นรายเดือน หรืออาจเป็นแบบ Package ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน ก็ได้ เช่น KSC , CS-internet , Ji-net , Internet-Thailand เป็นต้น
Java Script
Java Script นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากภาษา ไลฟ์สคริปตื (LiveScript) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเน็ตสเคป และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป้น ภาษา Java Script อย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่ง Java Scipt นั้นได้ใช้งานครั้งแรกใน Netscape
Navigator รุ่น 2.0 และพัฒนามาเป็น Java Script 1.3 ใน Netscape Navigator รุ่น 4.0 สำหรับภาษาสคริปต์นั้นมีจุดเด่น กว่าภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ตรงที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการแปลงภาษา (Compile) และรูปแบบของภาษาก็ง่ายต่อการเขียน เช่น ไม่เข้มงวดเรื่องแปร , ไม่ต้องประกาศชนิดของตัวแปร , ไม่ต้องระบุขนาดของอาร์เรย์ ไม่ต้องประกาศฟังก์ชัน และง่ายต่อการ เปลี่ยนแปลงแก้ไข และเพิ่มเติมโปรแกรมในภายหลัง
MIME
MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล มาตรฐาน MIME ถูกสร้าง ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการส่งไฟล์แนบไปกับอีเมล์ แต่ภายหลังได้ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ งาน รวมทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย โดยการ แบ่งชนิดของข้อมูลใน MIME นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ โดยใช้เครื่องหมาย / คั่น เช่น text/plain หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text) และเป็นข้อความธรรมดา ส่วน text/html หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป้นข้อมูล HTML หรือ image/jpg หมายถึงข้อมูลรูปภาพ และเป็นรูปภาพแบบ JPG เป็นต้น การทำงานหลาย ๆ อย่างของเว็บไซต์นั้นขึ้นอยู่กับ MIME เช่น การที่บราวเซอร์ได้รับข้อมูลที่เป็น Plug-in ประเภท application/x-shockwave-flash ก็จะทำการเรียก Plug-in Shockwave Flash ขึ้นมาแทน

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

โปแกรมระบบ HTML

ความหมายของ HTML
HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย
HTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย
Tag
Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
Tag เดี่ยว
เป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น

,
เป็นต้น
Tag เปิด/ปิด
เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash
( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น , เป็นต้น
Attributes
Attributes เป็นส่วนขยายความสามารถของ Tag จะต้องใส่ภายในเครื่องหมาย < > ในส่วน Tag เปิดเท่านั้น Tag คำสั่ง HTML แต่ละคำสั่ง จะมี Attribute แตกต่างกันไป และมีจำนวนไม่เท่ากัน การระบุ Attribute มากกว่า 1 Attribute ให้ใช้ช่องว่างเป็นตัวคั่น เช่น Attributes ของ Tag เกี่ยวกับการจัดพารากราฟ คือ

ประกอบด้วย ALIGN="Left/Right/Center/Justify"
ซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้

...


หรือ

...


หรือ

...


โครงสร้างเอกสาร HTML
ไฟล์เอกสาร HTML ประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนคือ Head กับ Body โดยสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายๆ ก็คือ ส่วน Head จะคล้ายกับส่วนที่เป็น Header ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือบรรทัด Title ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows สำหรับส่วน Body จะเป็นส่วนเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายใน Tag …
โครงสร้างไฟล์ HTML
ส่วนหัวเรื่องเอกสารเว็บ (Head Section)
Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้นๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ (Author), คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ คือ

ข้อความอธิบายชื่อเรื่องของเว็บ




ข้อความที่ใช้เป็น TITLE ไม่ควรพิมพ์เกิน 64 ตัวอักษร, ไม่ต้องใส่ลักษณะพิเศษ เช่น ตัวหนา, เอียง หรือสี และควรใช้เฉพาะภาษาอังกฤษที่มีความหมายครอบคลุมถึงเนื้อหาของเอกสารเว็บ หรือมีลักษณะเป็นคำสำคัญในการค้นหา (Keyword)
การแสดงผลจาก Tag TITLE บนเบราเซอร์จะปรากฏข้อความที่กำกับด้วย Tag TITLE ในส่วนบนสุดของกรอบหน้าต่าง (ใน Title Bar ของ Window นั่นเอง)
Tag META จะไม่ปรากฏผลบนเบราเซอร์ แต่จะเป็นส่วนสำคัญ ในการทำคลังบัญชีเว็บ สำหรับผู้ให้บริการสืบค้นเว็บ (Search Engine) และค่าอื่นๆ ของการแปลความหมาย
การพิมพ์ชุดคำสั่ง HTML สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือผสม การย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่าง สามารถกระทำได้อิสระ โปรแกรมเบราเซอร์จะไม่สนใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัดหรือย่อหน้า หรือช่องว่าง
ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section)
Body Section เป็นส่วนเนื้อหาหลักของหน้าเว็บ ซึ่งการแสดงผลจะต้องใช้ Tag จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล เช่น ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, วีดิโอ หรือไฟล์ต่างๆ

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ เป็นส่วนการทำงานหลักของหน้าเว็บ ประกอบด้วย Tag มากมายตามลักษณะของข้อมูล ที่ต้องการนำเสนอ การป้อนคำสั่งในส่วนนี้ ไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนติดกัน หรือ 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ แต่มักจะยึดรูปแบบที่อ่านง่าย คือ การทำย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้ป้อนคำสั่งทั้งหมดภายใต้ Tag … และแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้
กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการพารากราฟ
กลุ่มคำสั่งจัดแต่ง/ควบคุมรูปแบบตัวอักษร
กลุ่มคำสั่งการทำเอกสารแบบรายการ (List)
กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำลิงค์
กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ
กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง (Table)
กลุ่มคำสั่งควบคุมเฟรม
กลุ่มคำสั่งอื่นๆ
เริ่มสร้างเว็บเพจด้วย NotePad
การสร้างเอกสาร HTML หรือเว็บเพจ เป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวก เพียงแต่เปิดโปรแกรม NotePad แล้วพิมพ์คำสั่ง HTML ลงไป จากนั้นก็ทำการจัดเก็บไฟล์โดยตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็ก และกำหนดนามสกุลเป็น .html (ในตอนพิมพ์ชื่อไฟล์ แนะนำให้พิมพ์ชื่อและนามสกุลของไฟล์ไว้ในเครื่องหมายคำพูด เพื่อป้องกันมิให้โปรแกรม NotePad เติมนามสกุล .txt ต่อท้าย) จากนั้นก็เปิดโปรแกรมเบราเซอร์ เช่น IE หรือ Netscape แล้วเปิดไฟล์เอกสารเว็บที่สร้าง เพื่อดูผล


...............




คำสั่งในการเริ่มต้นในการสร้างเว็บเพจ
คำสั่งเริ่มต้น
..........

คำสั่ง เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เป็นการสิ้นสุดโปรแกรม HTML คำสั่งนี้จะไม่แสดงผลในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ แต่ต้องเขียนเพื่อให้เกิดความเป็นระบบของงาน และเพื่อจะให้รู้ว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารของภาษา HTML
ส่วนหัวของโปรแกรม
..........
คำสั่ง เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความในส่วนที่เป็นชื่อเรื่องของไฟล์ HTML และภายในคำสั่ง ... จะมีคำสั่งย่อยอีกคำสั่งหนึ่งคือ ........
กำหนดข้อความในส่วนหัวของโปรแกรมหรือไตเติลบาร์
..........
คำสั่ง เป็นคำสั่งที่แสดงชื่อของเอกสาร หรือชื่อเรื่องของไฟล์ HTML ซึ่งข้อความภายในคำสั่งจะปรากฎหรือแสดงผลในส่วนของไตเติลบาร์ (Title Bar) ของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ แต่จะไม่แสดงในส่วนของการแสดงผลในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ <br />ส่วนเนื้อหาของโปรแกรม <br /><BODY>..........</BODY> <br />คำสั่งนี้เป็นส่วนที่สำคัญในการแสดงผลในเว็บเบราเซอร์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวอักษร รูปภาพกราฟิกต่างๆ <br />การกำหนดสีของพื้นหลังของตัวอักษร <br />การกำหนดสีพื้นหลังและการกำหนดสีของตัวอักษรนั้น จะทำการเขียนในส่วนของคำสั่ง <BODY> โดยเราจะใช้แอตทริบิวต์มาเป็นตัวกำหนด <br />การกำหนดสีของพื้นหลัง - การกำหนดสีพื้นหลังนั้น เราสามารถมีรูปแบบการกำหนดสีพื้นหลังได้อยู่ 2 รูปแบบ <br />ระบุชื่อของสีที่ต้องการ อาทิเช่น red, green, yellow, blue เป็นต้น <br /><HTML> <br /><HEAD> <br /> <TITLE>การกำหนดสีพื้นหลังโดยการกำหนดสี


การกำหนดสีพื้นหลังโดยการกำหนดสี



การระบุแบบตัวเลขโดยจะใช้ค่าสีในระบบฐาน 16 หรือเรียกว่าหลักการผสมสีแบบ RBG


การกำหนดสีพื้นหลังโดยการกำหนดสี


การกำหนดสีพื้นหลังโดยใช้หลัก "#RBG"


การกำหนดสีของตัวอักษร
การกำหนดสีของตัวอักษรนั้น จะทำการเขียนในส่วนของคำสั่ง โดยเราจะใช้แอตทริบิวต์ Text มาเป็นตัวกำหนด

เราสามารถมีรูปแบบการกำหนดสีได้อยู่ 2 รูปแบบ
ระบุชื่อของสีที่ต้องการ อาทิเช่น red, green, yellow, blue เป็นต้น


การกำหนดสีตัวอักษร


การกำหนดสีตัวอักษร


การระบุแบบตัวเลขโดยจะใช้ค่าสีในระบบฐาน 16 หรือเรียกว่าหลักการผสมสีแบบ RBG


การกำหนดสีตัวอักษร



การกำหนดสีตัวอักษร


ข้อความลักษณะหัวเรื่อง (Heading)
....Heading Text ...
ข้อความลักษณะหัวเรื่อง จะกำกับด้วยแท็ก โดย
n คือตัวเลขแสดงขนาดของตัวอักษร ค่าของ n นั้นจะมีค่าอยู่ที่ 1 - 6
n = 1 จะมีขนาดตัวอักษรหัวเรื่องใหญ่สุด
n = 6 จะมีขนาดตัวอักษรหัวเรื่องเล็กสุด
สามารถเพิ่ม/ลดขนาดโดยใช้เครื่องหมาย + หรือ - นำหน้าตัวเลขได้ เช่น -1 หรือ +5 เป็นต้น


การกำหนด Heading


Computer - Default Size

Computer - H1


Computer - H2


Computer - H3


Computer - H4


Computer - H5

Computer - H6



ผลลัพธ์
Computer - Default Size
Computer - H1
Computer - H2
Computer - H3
Computer - H4
Computer - H5
Computer - H6
หมายเหตุ ปัจจุบันการพัฒนาเว็บไซต์มักจะกำหนดขนาดของตัวอักษร (Font size) ให้มีขนาดคงที่ เช่น 1 หรือ 14-16 Point เพื่อให้แสดงผลได้สวยงาม ได้สัดส่วนเดียวกัน จึงไม่นิยมใช้แท็ก ควบคุม แต่จะเปลี่ยนไปใช้ในลักษณะการมาร์ค (Mark) เพื่อควบคุมกับโปรแกรมมิ่ง เช่น XML หรือ CSS แทน
การตกแต่งข้อความ
แท็กที่ใช้ตกแต่งข้อความเพื่อเน้นคำ หรือข้อความสั้นๆ หรือให้ดูสวยงาม มาตรฐาน HTML 4.0 มีแท็กสำหรับใช้ตกแต่งข้อความมากมาย ทำได้แทบจะครบทุกรูปแบบ และสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
Logical Format - เป็นแท็กที่มีชื่อที่สื่อความหมาย ซึ่งเบราเซอร์แต่ละยี่ห้อจะแปลแท็กเหล่านี้ต่างกัน และให้ผลเป็นเว็บเพจที่มีหน้าตาต่างกัน แต่ก็แตกต่างกันไม่มากนัก โดยยังคงให้ผลใกล้เคียงกับชื่อของแท็กนั้นๆ เช่น หมายถึงข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ซึ่งเว็บเบราเซอร์อาจจะแสดงเป็นตัวหนา หรือตัวเอียงก็ได้ ขึ้นกับเบราเซอร์แต่ละตัว และการกำหนดสไตล์ชีท
Fixical Format - แท็กที่กำหนดลักษณะตายตัว ทุกเบราเซอร์จะแปลความหมายแท็กเหล่านี้เหมือนกันหมด เว็บเพจที่ได้จึงเหมือนกัน เช่น หมายถึงข้อความแบบตัวหนา
การกำหนดตัวอักษรให้มีความหนา
..........
ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายในคำสั่ง ให้แสดงผลด้วยตัวอักษรแบบตัวหนา (bold) มีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น


การกำหนดตัวหนา


ตัวอักษรปรกติ COMPUTER
ตัวอักษรหนา COMPUTER








การกำหนดตัวอักษรให้ขีดเส้นใต้
..........
ใช้แสดงข้อความแบบขีดเส้นใต้ (underline) ทั้งนี้เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น


การกำหนดการขีดเส้นใต้


ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้ COMPUTER


หมายเหตุ แท็กนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความสับสนกับข้อความที่เป็นจุดลิงก์ได้
การกำหนดตัวอักษรให้มีการเอน
..........
ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายในคำสั่งให้แสดงผลด้วยตัวอักษรแบบเอน (Italic) มีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น

การกำหนดอักษรเอน


ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรเอน COMPUTER


การกำหนดตัวอักษรกระพริบ
..........
ใช้กำหนดแสดงข้อความแบบกระพริบ จะมีลักษณะการแสดงผลเป็นแบบติด - ดับ สลับกันไป



การกำหนดตัวอักษรกระพริบ


COMPUTER
แสดงผลได้เฉพาะบน Netscape


หมายเหตุ ในการกำหนดตัวอักษรกระพริบนั้น เราไม่สามารถเปิดในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่เป็น Internet Explorer ได้

การกำหนดรูปแบบของตัวอักษร
..........

เป็นการกำหนดฟอนต์ของตัวอักษรในเว็บเพจ ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ด้วยคุณสมบัติที่ชื่อว่า FACE และตามด้วยชื่อฟอนต์ที่เราต้องการ เอกสารเว็บอนุญาตให้กำหนดฟอนต์ ได้หลายฟอนต์ โดยเบราเซอร์จะมีการตรวจสอบการใช้ฟอนต์ให้อัตโนมัติ
ฟอนต์สำหรับข้อความภาษาไทย/อังกฤษ ที่เหมาะสมได้แก่ MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, Thonburi
ฟอนต์สำหรับข้อความภาษาอังกฤษที่เหมาะสม คือ Arial, Helvetica, sans-serif


FONT FACE


ชนิดของฟอนต์ปกติ

ฟอนต์ชื่อ MS Sans Serif


ผลลัพธ์
ชนิดของฟอนต์ปกติ
ฟอนต์ชื่อ MS Sans Serif
การกำหนดสีของตัวอักษร
..........
ใช้การกำหนดให้ตัวอักษรหรือข้อความมีสีอื่นต่างจากสีตัวอักษรทั่วไป หรือต้องการเน้นสีสันเพื่อเพิ่มจุดเด่น ทำให้แปลกแตกต่างไป การระบุค่าสี สามารถใช้ได้ทั้งระบุชื่อสี หรือค่าสีในระบบเลขฐาน 16


FONT COLOR


Computer
Computer
Computer


การกำหนดขนาดของตัวอักษร
..........
การกำหนดขนาดของตัวอักษรในเว็บเพจนั้น เราสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้อยู่ 2 รูปแบบคือ กำหนดเป็นตัวเลขซึ่งจะมีค่า 1 - 7 โดยค่ามาตรฐานจะมีค่าจะอยู่ที่ 3 ค่าตัวเลขที่เป็น 1 และ 2 นั้นจะเป็นการย่อขนาดของตัวอักษร และค่าตัวเลข 4 ถึง 7 นั้นจะเป็นการขยายขนาดของตัวอักษร


FONT SIZE


Computer
Computer
Computer
Computer
Computer
Computer
Computer


กำหนดโดยใช้เครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบ โดยสามารถกำหนดได้ดังีน้ ถ้าเป็นการย่อขนาดของตัวอักษรนั้นจะใช้เครื่องหมายลบ ซึ่งจะใช้ไม่เกิน - 2 ถ้าเป็น การขยายขนาดของตัวอักษรนั้นจะใช้เครื่องหมายบวกซึ่งจะใช้ไม่เกิน + 4


FONT SIZE


Computer
Computer
Computer
Computer
Computer
Computer
Computer


คำสั่งลดขนาดตัวอักษรลง 1 ระดับ
..........
คำสั่ง < SMALL > เป็นคำสั่งที่สามารถลดขนาดของตัวอักษรลง 1 ระดับจากขนาดของอักษรปัจจุบันได้ทันที โดยไม่ต้องไประบุด้วยคำสั่ง < font size >



SMALL


Computer
Computer
Computer


คำสั่งเพิ่มขนาดของตัวอักษร 1 ระดับ
..........

คำสั่ง เป็นคำสั่งที่สามารถเพิ่มขนาดของตัวอักษรขึ้น 1 ระดับจากตัวอักษรปัจจุบันได้ทันที โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง



BIG


Computer
Computer
Computer


คำสั่งที่กำหนดตัวอักษรยกระดับ
..........
คำสั่ง < SUP > ย่อมาจาก (superscript) เป็นคำสั่งที่จะกำหนดให้ตัวอักษร หรือข้อความยกระดับสูงขึ้นกว่าระดับปกติและมีขนาดเล็ก



SUPERSCRIPT


Computer
A2 = A2
Computer


คำสั่งที่กำหนดตัวอักษรพ่วงท้าย (ตัวห้อย)
..........
คำสั่ง < SUB > ย่อมาจาก (subscript) เป็นคำสั่งที่จะกำหนดให้ตัวอักษร หรือข้อความพ่วงท้ายจะมีลักษณะต่ำกว่าระดับปกติและมีขนาดเล็ก


SUBSCRIPT


Computer
H20 = H2O
Computer

การกำหนดตัวอักษรให้ขีดเส้นใต้
..........
ใช้แสดงข้อความแบบขีดเส้นใต้ (underline) ทั้งนี้เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น


การกำหนดการขีดเส้นใต้


ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้ COMPUTER



หมายเหตุ แทรกนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความสับสนกับข้อความที่เป็นจุดลิงก์ได้
การกำหนดตัวอักษรให้มีการเอน
..........

ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายในคำสั่งให้แสดงผลด้วยตัวอักษรแบบเอน (Italic) มีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้น

การกำหนดอักษรเอน
AD>

ตัวอักษรปกติ COMPUTER
ตัวอักษรเอน COMPUTER