วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล (อังกฤษ: good governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
สำหรับบทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. ในเรื่องธรรมาภิบาลนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างการตระหนักในเรื่องธรรมาภิบาล โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ การนำธรรมาภิบาลมากำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ เช่น ความโปร่งใส การจัดเวทีให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นต้น
ทั้งนี้ ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาล คือ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการวางกลไกให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การวางโครงสร้าง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ เรื่องตัวบุคคล เป็นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลเป็นการวางระบบวางโครงสร้างเพื่อควบคุมให้คนไม่ประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมจะลึกกว่านั้น โดยมีการปลูกฝังจิตสำนึก ต้องไม่ทุจริต ไม่ประพฤติมิชอบ ทั้งสองด้านจะต้องไปด้วยกันจึงจะยั่งยืน [สำการสร้างธรรมาภิบาล (Good governance)
ความนำ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญ และนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์การ
ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ
นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว มีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงาน ส่วนในองค์การภาคเอกชนก็เช่นเดียวกันที่หันมาให้ความสนใจ ในเรื่องของบรรษัทภิบาล Coporate good governance
วิธีการและเป้าหมายของการปฏิรูประบบการบริหารของส่วนราชการ
จะใช้ธรรมาภิบาลเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถโดยมีการส่งเสริมบทบาทให้เกิดการทำงานที่ปราศจากการคอร์รัปชั่น หรือการไม่นำผลประโยชน์ของสาธารณะมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
มีการใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินงาน หรือสร้างกรอบในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ลดกฎระเบียบที่มากจนเกินไป ที่เป็นต้นเหตุของการทำงานที่ล่าช้า มีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจนเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใส มีกฏ กติกา มารยาท ในการบริหารงาน
ความหมายของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน
ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่งยั่งยึน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ
เพื่อบรรเทาป้องกัน หรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542)
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างธรรมาภิบาล
การส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น มาจากความร่วมมือของทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม
บทบาทของรัฐที่สำคัญนั้น คือรัฐเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน และรักษากฎระเบียบต่าง ๆ การสร้างธรรมาภิบาลของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย
ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐนั้นจะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล และหน้าที่ มีระบบความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน ยกระดับความชำนาญของภาครัฐให้มีความทันสมัย เป็นต้น
ส่วนบทบาทขององค์การภาคเอกชน และบทบาทของประชาสังคมที่มีต่อการสร้างธรรมาภิบาล คือ การรวมตัวกันของสาธารณชนในการต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบ โดยรัฐควรมีการหามาตรการที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการทำผิดจรรยาบรรณ เป็นต้น
หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ 6 ประกอบ คือ
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรือตามอำนาจของตัวบุคคล
2.หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียมมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น
4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการเคาระในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
5.หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
การบริหารงานในรูปแบบของธรรมาภิบาลนั้นจะเน้นที่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคง ไม่ล้มละลาย ไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย พนักงานมีความมั่นใจในองค์การว่าสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ในระยะยาว การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารนั้น เพื่อให้องค์การมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม
ปัจจุบันการบริหารงานในภาครัฐได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมากในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงาน ดังนั้นการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานของรัฐก็เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธาว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริต คอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐจะลดลง ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการบริหารงานของหน่วยงานในภาครัฐ ได้แก่
1. ภาระรับผิดชอบตรวจสอบได้
2. ความโปร่งใส
3. การปราบปรามการทุจริตและการประพฤติมิชอบ
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
5. การสร้างกรอบทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
6. การตอบสนองที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
1. ความรับผิดชอบตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ ต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใด ๆ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย
2. ความโปร่งใส
ความโปร่งใส หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย
3. การปราบปราบทุจริตและการประพฤติมิชอบ
การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐเองและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉล และเสริมสร้างธรรมาภิบาล
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ และเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการทำดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี
5. การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง
ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการละเมิด หรือฝ่าฝืน การมีระบบกฎหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม
6. การตอบสนองที่ทันการ
ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน
สรุป
การใช้หลักธรรมภิบาลทำให้องค์การสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตาม และตรวจสอบ โดยมีประชาชน หรือองค์การภายนอกมีส่วนร่วม
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารองค์การ เพราะการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในองค์การเป็นการสร้างสำนึกที่ดีในการบริหารงาน และการทำงานในองค์การ และจัดระบบที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส โดยคำนึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ทีได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐนั้นจะเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
นักงาน ก.พ.ร.]
ธรรมาภิบาล คืออะไร?
“ ธรรมาภิบาล ” กำลังเป็นเรื่องที่พูดถึงกันบ่อย และเป็นเรื่องที่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและการปกครอง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควรทำความรู้จักในเรื่องนี้ เนื่องจากแนวทางประชาคมโลกหันมาสนใจกับกระแสโลกาภิวัฒน์และการบริหารจัดการที่ดีมากขึ้นแทนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเดียว
ธรรมาภิบาลคืออะไร
“ ธรรมาภิบาล ” แปลจากภาษาอังกฤษว่า “ good governance” หมายถึง การบริหารบ้านเมืองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรมบางครั้ง ภาคเอกชน จะใช้คำว่า “ บรรษัทภิบาล ” หรือ “ การกำกับดูแลกิจการที่ดี ” แปลจากภาษาอังกฤษ “ corporate governance” หรือ “ corporate social responsibility” รวมทั้งคำย่อที่มักเรียกสั้นๆว่า “CG” หรือ “ CSR” ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน
ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน หมายความถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยที่ผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้นๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกราย รวมถึงผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้า คู่ค้า ตลอดจนประชาชน
ธรรมาภิบาล สำคัญอย่างไร
ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกองค์กร ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจาก “ ธรรมาภิบาล ” เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อกันในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระ การปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ
ความโปร่งใส ( Transparency) อธิบายได้ ( accountability) และ ความรับผิดชอบ ( responsibility) องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง ธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะเป็น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ( OECD), ธนาคารโลก (the World Bank), UNDP, UNCTAD, UNIDO and ILO
ในทัศนะของธนาคารโลก ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจที่ดี ( Sound economic policies) ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารจัดการภาครัฐที่คำนึงถึง ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ รวมทั้งมี กรอบกฎหมายและนโยบายที่มีความแน่นอนและชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประสิทธิภาพของระบบตลาดและการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสนใจของธนาคารโลกในเรื่องธรรมาภิบาลเป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของความพยายามส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืนและเท่าเทียมกัน
ความสำคัญของธรรมาภิบาลต่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกย่อๆว่า ว่า SMEs มีผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมดของประเทศศ และมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 70 ของการจ้างงานรวมในภาคอุตสาหกรรม แต่มีการระดมเงินทุนผ่านตลาดทุนเป็นจำนวนน้อยมาก เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินการมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากการกู้ยืมสถาบันการเงิน ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่
ความสำคัญของ ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน ก็คือ การสร้าง “ ความเชื่อถือ ” จากลูกค้า สถาบันการเงิน สังคม และคู่ค้า ฯลฯ เพราะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก็ต้องการให้ธุรกิจที่ตนจะค้าขายด้วยมีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม มีจริยธรรม คุณธรรม สินค้าที่ผลิตเป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ค้ากำไรเกินควร เนื่องจาก มีคุณธรรมกำกับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นอย่างนี้ทุกธุรกิจ ก็จะทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองเป็นที่เชื่อถือของลูกค้า มีกำไรสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามวิกฤตและในยามปกติ รวมทั้งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ไม่ว่าสถาบันใดก็อยากจะให้สินเชื่อ และให้ดอกเบี้ยที่ถูกลงเพราะเขาสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบ การประนอมหนี้ ก็สามารถทำได้ง่าย เพราะเจ้าหนี้มีความไว้วางใจในผู้บริหารของบริษัท ประชาชนก็จะได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ สังคมก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เพราะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ในภาคธุรกิจ เอส เอ็ม อี เมื่อธุรกิจเจริญเติบโต มีระบบการเงินและระบบบัญชีที่ได้มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือ ก็สามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนได้เองโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงินซึ่งจะได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากสถาบันการเงินเสียอีก เพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจในต่างประเทศได้ดีขึ้น
ผลการศึกษาของนักวิชาการจากธนาคารโลก ชี้ให้เห็นว่าระดับธรรมาภิบาลสูงมีสัมพันธ์กับระดับรายได้ที่สูง
ธรรมาภิบาล ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจที่บริหารงานเองโดยตรงดังกรณีข้างต้น แต่ยังสำคัญต่อนักลงทุน หากบริษัทไม่มีธรรมาภิบาล การเพิ่มทุนจากต่างประเทศอาจต้องประสบอุปสรรคเพราะชาวต่างชาติลังเลที่จะเข้ามามีหุ้นส่วนในบริษัท โดยไม่มีอำนาจในการบริหาร การมีธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี กล่าวคือ กรรมการทำหน้าที่เพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ไม่ใช้ตำแหน่งในการหาประโยชน์หรือฉวยโอกาสจากบริษัทเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง ดูแลผู้บริหารและฝ่ายจัดการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินลงทุน ให้สิทธิแก่เจ้าของเงินหรือผู้ถือหุ้นในการรับทราบข้อมูลของบริษัท การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆรวมถึงการตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น
หลักการสากลของ “ ธรรมาภิบาล ”
องค์การสหประชาชาติ กำหนดหลักการทั่วไปของธรรมาภิบาล ไว้ 8 หลักการ ดังนี้
1. การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งชายหญิงคือการตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้างความสามัคคีให้เกิดกับประชาชน การมีส่วนร่วมสามารถทำได้โดยอิสระไม่มีการบังคับ สมาชิกเต็มใจให้ความร่วมมือด้วยตนเอง หรือมีส่วนร่วมผ่านหน่วยงาน สถาบันหรือผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย
2. การปฏิบัติตามกฏ ธรรมาภิบาลต้องการความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ลำเอียง มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกับประชาชนโดยเท่าเทียมกัน ทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายเดียวกัน
3. ความโปร่งใส ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน สื่อจะเข้ามีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและรายงานผลงานดำเนินงานโดยการนำเสนอข่าวสารให้แก่สังคมได้รับทราบ
4. ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบเป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการทำงาน กล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจนั้นๆ
5. ความสอดคล้อง ความสอดคล้องต้องกันเป็นการกำหนดและสรุปความต้องการของคนในสังคม ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมาก โดยพยายามหาจุดสนใจร่วมกันและความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมมาเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม การจะพัฒนาสังคมได้ ต้องทราบความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมนั้นๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้ วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆก่อน
6. ความเสมอภาค ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากรัฐบาล ทั้งการบริการด้านสวัสดิการ ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ
7. หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ โดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มีคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือการใช้ทรพยากรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ โดยมีการพัฒนากระบวนการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8. การมีเหตุผล การมีเหตุผลเป็นความต้องการในทุกสังคม ประชาชนทุกคน ต้องตัดสินใจและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองด้วยเหตุด้วยผลที่สมเหตุสมผล การมีเหตุผลไม่สามารถกระทำได้ถ้าปราศจากการปฏิบัติตามกฎหมายและความโปร่งใส
ทำอย่างไรจึงถือว่า มี “ ธรรมาภิบาล ”
การที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมี “ ธรรมาภิบาล ” นั้น นอกจากต้องปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว ต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม โดยไม่ไปเบียดเบียนฝ่ายใด วิสาหกิจที่มี ธรรมาภิบาล ย่อมไม่เอาเปรียบหุ้นส่วน ไม่ขูดรีดแรงงานลูกจ้าง ไม่ฉ้อโกงลูกค้า ไม่เอาเปรียบคู่ค้า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำร้ายชุมชนโดยรอบที่ตั้งของวิสาหกิจด้วยการก่อมลพิษ
โดยสรุป การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ต้องยึดหลัก “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ”
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. “ บรรษัทภิบาลกับเศรษฐกิจพอเพียง ”. เอกสารการสัมมนาวิชาการประจำปี 2542 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigoernance.org
2. ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ. “ ธรรมาภิบาล ( Good Governance) ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม:ปัญหาและทางแพร่งในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเกาะพีพี จ. กระบี่(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.sakonarea1.go.th/rnd/krusakon/article/good.pdf
3. สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ , รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น 2546, สำนักงานธรรมสาร .
4. อภิชาติ สถิตนิรามัย ความคิดเปิดผนึก เข้าถึงได้จาก: www.onopen.com
5. การประชุม EXPERT MEETING ON GOOD GOVERNANCE FOR SMEs ณ กรุง เจนีวา ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2547 เข้าถึงได้จาก http://www.unece.org/indust/sme/governance.html
6. ดร. โสภณ พรโชคชัย. “ CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา ” ThaiAppraisal Vol 5,No. 5, September-October 2006.





ผู้อำนวยการโครงการธรรมาภิบาลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

ธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล (อังกฤษ: good governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
สำหรับบทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. ในเรื่องธรรมาภิบาลนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างการตระหนักในเรื่องธรรมาภิบาล โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ การนำธรรมาภิบาลมากำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ เช่น ความโปร่งใส การจัดเวทีให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นต้น
ทั้งนี้ ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาล คือ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการวางกลไกให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การวางโครงสร้าง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ เรื่องตัวบุคคล เป็นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลเป็นการวางระบบวางโครงสร้างเพื่อควบคุมให้คนไม่ประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมจะลึกกว่านั้น โดยมีการปลูกฝังจิตสำนึก ต้องไม่ทุจริต ไม่ประพฤติมิชอบ ทั้งสองด้านจะต้องไปด้วยกันจึงจะยั่งยืน [สำการสร้างธรรมาภิบาล (Good governance)
ความนำ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญ และนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์การ
ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ
นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว มีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงาน ส่วนในองค์การภาคเอกชนก็เช่นเดียวกันที่หันมาให้ความสนใจ ในเรื่องของบรรษัทภิบาล Coporate good governance
วิธีการและเป้าหมายของการปฏิรูประบบการบริหารของส่วนราชการ
จะใช้ธรรมาภิบาลเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถโดยมีการส่งเสริมบทบาทให้เกิดการทำงานที่ปราศจากการคอร์รัปชั่น หรือการไม่นำผลประโยชน์ของสาธารณะมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
มีการใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินงาน หรือสร้างกรอบในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ลดกฎระเบียบที่มากจนเกินไป ที่เป็นต้นเหตุของการทำงานที่ล่าช้า มีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจนเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใส มีกฏ กติกา มารยาท ในการบริหารงาน
ความหมายของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน
ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่งยั่งยึน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ
เพื่อบรรเทาป้องกัน หรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542)
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างธรรมาภิบาล
การส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น มาจากความร่วมมือของทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม
บทบาทของรัฐที่สำคัญนั้น คือรัฐเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน และรักษากฎระเบียบต่าง ๆ การสร้างธรรมาภิบาลของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย
ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐนั้นจะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล และหน้าที่ มีระบบความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน ยกระดับความชำนาญของภาครัฐให้มีความทันสมัย เป็นต้น
ส่วนบทบาทขององค์การภาคเอกชน และบทบาทของประชาสังคมที่มีต่อการสร้างธรรมาภิบาล คือ การรวมตัวกันของสาธารณชนในการต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบ โดยรัฐควรมีการหามาตรการที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการทำผิดจรรยาบรรณ เป็นต้น
หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ 6 ประกอบ คือ
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรือตามอำนาจของตัวบุคคล
2.หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียมมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น
4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการเคาระในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
5.หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
การบริหารงานในรูปแบบของธรรมาภิบาลนั้นจะเน้นที่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคง ไม่ล้มละลาย ไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย พนักงานมีความมั่นใจในองค์การว่าสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ในระยะยาว การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารนั้น เพื่อให้องค์การมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม
ปัจจุบันการบริหารงานในภาครัฐได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมากในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงาน ดังนั้นการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานของรัฐก็เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธาว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริต คอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐจะลดลง ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการบริหารงานของหน่วยงานในภาครัฐ ได้แก่
1. ภาระรับผิดชอบตรวจสอบได้
2. ความโปร่งใส
3. การปราบปรามการทุจริตและการประพฤติมิชอบ
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
5. การสร้างกรอบทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
6. การตอบสนองที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
1. ความรับผิดชอบตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ ต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใด ๆ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย
2. ความโปร่งใส
ความโปร่งใส หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย
3. การปราบปราบทุจริตและการประพฤติมิชอบ
การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐเองและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉล และเสริมสร้างธรรมาภิบาล
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ และเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการทำดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี
5. การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง
ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการละเมิด หรือฝ่าฝืน การมีระบบกฎหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม
6. การตอบสนองที่ทันการ
ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน
สรุป
การใช้หลักธรรมภิบาลทำให้องค์การสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตาม และตรวจสอบ โดยมีประชาชน หรือองค์การภายนอกมีส่วนร่วม
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารองค์การ เพราะการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในองค์การเป็นการสร้างสำนึกที่ดีในการบริหารงาน และการทำงานในองค์การ และจัดระบบที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส โดยคำนึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ทีได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐนั้นจะเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
นักงาน ก.พ.ร.]
ธรรมาภิบาล คืออะไร?
“ ธรรมาภิบาล ” กำลังเป็นเรื่องที่พูดถึงกันบ่อย และเป็นเรื่องที่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและการปกครอง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควรทำความรู้จักในเรื่องนี้ เนื่องจากแนวทางประชาคมโลกหันมาสนใจกับกระแสโลกาภิวัฒน์และการบริหารจัดการที่ดีมากขึ้นแทนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเดียว
ธรรมาภิบาลคืออะไร
“ ธรรมาภิบาล ” แปลจากภาษาอังกฤษว่า “ good governance” หมายถึง การบริหารบ้านเมืองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรมบางครั้ง ภาคเอกชน จะใช้คำว่า “ บรรษัทภิบาล ” หรือ “ การกำกับดูแลกิจการที่ดี ” แปลจากภาษาอังกฤษ “ corporate governance” หรือ “ corporate social responsibility” รวมทั้งคำย่อที่มักเรียกสั้นๆว่า “CG” หรือ “ CSR” ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน
ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน หมายความถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยที่ผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้นๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกราย รวมถึงผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้า คู่ค้า ตลอดจนประชาชน
ธรรมาภิบาล สำคัญอย่างไร
ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกองค์กร ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจาก “ ธรรมาภิบาล ” เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อกันในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระ การปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ
ความโปร่งใส ( Transparency) อธิบายได้ ( accountability) และ ความรับผิดชอบ ( responsibility) องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง ธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะเป็น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ( OECD), ธนาคารโลก (the World Bank), UNDP, UNCTAD, UNIDO and ILO
ในทัศนะของธนาคารโลก ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจที่ดี ( Sound economic policies) ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารจัดการภาครัฐที่คำนึงถึง ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ รวมทั้งมี กรอบกฎหมายและนโยบายที่มีความแน่นอนและชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประสิทธิภาพของระบบตลาดและการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสนใจของธนาคารโลกในเรื่องธรรมาภิบาลเป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของความพยายามส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืนและเท่าเทียมกัน
ความสำคัญของธรรมาภิบาลต่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกย่อๆว่า ว่า SMEs มีผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมดของประเทศศ และมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 70 ของการจ้างงานรวมในภาคอุตสาหกรรม แต่มีการระดมเงินทุนผ่านตลาดทุนเป็นจำนวนน้อยมาก เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินการมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากการกู้ยืมสถาบันการเงิน ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่
ความสำคัญของ ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน ก็คือ การสร้าง “ ความเชื่อถือ ” จากลูกค้า สถาบันการเงิน สังคม และคู่ค้า ฯลฯ เพราะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก็ต้องการให้ธุรกิจที่ตนจะค้าขายด้วยมีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม มีจริยธรรม คุณธรรม สินค้าที่ผลิตเป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ค้ากำไรเกินควร เนื่องจาก มีคุณธรรมกำกับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นอย่างนี้ทุกธุรกิจ ก็จะทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองเป็นที่เชื่อถือของลูกค้า มีกำไรสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามวิกฤตและในยามปกติ รวมทั้งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ไม่ว่าสถาบันใดก็อยากจะให้สินเชื่อ และให้ดอกเบี้ยที่ถูกลงเพราะเขาสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบ การประนอมหนี้ ก็สามารถทำได้ง่าย เพราะเจ้าหนี้มีความไว้วางใจในผู้บริหารของบริษัท ประชาชนก็จะได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ สังคมก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เพราะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ในภาคธุรกิจ เอส เอ็ม อี เมื่อธุรกิจเจริญเติบโต มีระบบการเงินและระบบบัญชีที่ได้มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือ ก็สามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนได้เองโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงินซึ่งจะได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากสถาบันการเงินเสียอีก เพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจในต่างประเทศได้ดีขึ้น
ผลการศึกษาของนักวิชาการจากธนาคารโลก ชี้ให้เห็นว่าระดับธรรมาภิบาลสูงมีสัมพันธ์กับระดับรายได้ที่สูง
ธรรมาภิบาล ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจที่บริหารงานเองโดยตรงดังกรณีข้างต้น แต่ยังสำคัญต่อนักลงทุน หากบริษัทไม่มีธรรมาภิบาล การเพิ่มทุนจากต่างประเทศอาจต้องประสบอุปสรรคเพราะชาวต่างชาติลังเลที่จะเข้ามามีหุ้นส่วนในบริษัท โดยไม่มีอำนาจในการบริหาร การมีธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี กล่าวคือ กรรมการทำหน้าที่เพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ไม่ใช้ตำแหน่งในการหาประโยชน์หรือฉวยโอกาสจากบริษัทเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง ดูแลผู้บริหารและฝ่ายจัดการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินลงทุน ให้สิทธิแก่เจ้าของเงินหรือผู้ถือหุ้นในการรับทราบข้อมูลของบริษัท การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆรวมถึงการตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น
หลักการสากลของ “ ธรรมาภิบาล ”
องค์การสหประชาชาติ กำหนดหลักการทั่วไปของธรรมาภิบาล ไว้ 8 หลักการ ดังนี้
1. การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งชายหญิงคือการตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้างความสามัคคีให้เกิดกับประชาชน การมีส่วนร่วมสามารถทำได้โดยอิสระไม่มีการบังคับ สมาชิกเต็มใจให้ความร่วมมือด้วยตนเอง หรือมีส่วนร่วมผ่านหน่วยงาน สถาบันหรือผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย
2. การปฏิบัติตามกฏ ธรรมาภิบาลต้องการความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ลำเอียง มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกับประชาชนโดยเท่าเทียมกัน ทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายเดียวกัน
3. ความโปร่งใส ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน สื่อจะเข้ามีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและรายงานผลงานดำเนินงานโดยการนำเสนอข่าวสารให้แก่สังคมได้รับทราบ
4. ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบเป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการทำงาน กล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจนั้นๆ
5. ความสอดคล้อง ความสอดคล้องต้องกันเป็นการกำหนดและสรุปความต้องการของคนในสังคม ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมาก โดยพยายามหาจุดสนใจร่วมกันและความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมมาเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม การจะพัฒนาสังคมได้ ต้องทราบความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมนั้นๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้ วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆก่อน
6. ความเสมอภาค ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากรัฐบาล ทั้งการบริการด้านสวัสดิการ ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ
7. หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ โดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มีคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือการใช้ทรพยากรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ โดยมีการพัฒนากระบวนการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8. การมีเหตุผล การมีเหตุผลเป็นความต้องการในทุกสังคม ประชาชนทุกคน ต้องตัดสินใจและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองด้วยเหตุด้วยผลที่สมเหตุสมผล การมีเหตุผลไม่สามารถกระทำได้ถ้าปราศจากการปฏิบัติตามกฎหมายและความโปร่งใส
ทำอย่างไรจึงถือว่า มี “ ธรรมาภิบาล ”
การที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมี “ ธรรมาภิบาล ” นั้น นอกจากต้องปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว ต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม โดยไม่ไปเบียดเบียนฝ่ายใด วิสาหกิจที่มี ธรรมาภิบาล ย่อมไม่เอาเปรียบหุ้นส่วน ไม่ขูดรีดแรงงานลูกจ้าง ไม่ฉ้อโกงลูกค้า ไม่เอาเปรียบคู่ค้า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำร้ายชุมชนโดยรอบที่ตั้งของวิสาหกิจด้วยการก่อมลพิษ
โดยสรุป การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ต้องยึดหลัก “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ”
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. “ บรรษัทภิบาลกับเศรษฐกิจพอเพียง ”. เอกสารการสัมมนาวิชาการประจำปี 2542 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigoernance.org
2. ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ. “ ธรรมาภิบาล ( Good Governance) ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม:ปัญหาและทางแพร่งในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเกาะพีพี จ. กระบี่(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.sakonarea1.go.th/rnd/krusakon/article/good.pdf
3. สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ , รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น 2546, สำนักงานธรรมสาร .
4. อภิชาติ สถิตนิรามัย ความคิดเปิดผนึก เข้าถึงได้จาก: www.onopen.com
5. การประชุม EXPERT MEETING ON GOOD GOVERNANCE FOR SMEs ณ กรุง เจนีวา ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2547 เข้าถึงได้จาก http://www.unece.org/indust/sme/governance.html
6. ดร. โสภณ พรโชคชัย. “ CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา ” ThaiAppraisal Vol 5,No. 5, September-October 2006.





ผู้อำนวยการโครงการธรรมาภิบาลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552