วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ภาพน่ารักๆของเพื่อนๆฉันเอง


ส่วนภาพนี้เป็นภาพของเด็กเวียดนามทั้งหมด พวกเขาก็เป้นเพื่อนของฉันเช่นกัน

ส่วนนี้สาวเวียดนามอีกหนึ่งคนที่เป็นเพื่อนของฉันอีกหนึ่งคน ชื่อ แป้ง

ส่วนนี้ตอนมาอยู่ได้2-3เดือนจ๊ะ

เพื่อนชาวต่างชาติของฉัน หญิง ดูท่าเทอร์นั่ง และท่ายิ้มของเทอร์ สิค่ะ นี้ตอนที่เข้ามารับน้องนะจ๊ะ


ตัวเล็กไปตอบคำถาม ได้หม้อหุงข้าว ไม่เห้นทำกับข้าวให้กินเลย แหม

ตัวเล็กไม่ต้องตั้งใจขนาดนั้นก็ได้

ภาพตลกๆของ...องค์การ



ดูนายกองค์การของเราทำอะไรก็ไม่รู้

จดหมายธุรกิจ

ความหมายของการเขียนจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจถือเป็นการสื่อสารธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างกันในวงธุรกิจโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ เช่น
เสนอขายสินค้าหรือบริการ สั่งซื้อ สินค้าและตอบรับการสั่งซื้อ ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือความเสียหาย เป็นต้น จดหมายธุรกิจมีความแตกต่าง
จากจดหมายส่วนตัวบ้างในด้านรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษา กล่าวคือจดหมายธุรกิจส่วนใหญ่มีรูปแบบและการใช้ภาษาเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ
ไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดดังที่มักปรากฏในจดหมายส่วนตัว
ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการธุรกิจ ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
๑. ด้านการประหยัด เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง
๒. ด้านความสะดวกและรวดเร็ว เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ติดต่อ ในกรณีที่ผู้ที่ต้องการติดต่อธุรกิจด้วยมีงานมากหรืออยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง จึงไม่สะดวก
ที่จะโทรศัพท์ติดต่อหรือขอเข้าพบด้วยตนเอง
๓. ด้านการให้รายละเอียดข้อมูล เป็นการเอื้อต่อการสื่อข้อความ สามารถให้รายละเอียดข้อมูลได้มาก ชัดเจน และมีระบบ เพราะผู้เขียนมีเวลาเตรียมการเขียนก่อน
ลงมือเขียนอีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนส่งไปยังผู้รับจดหมาย
๔. ด้านการใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ค้นเรื่อง และที่สำคัญที่สุดคือเป็นหลักฐานทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน
๕. ด้านการเป็นสื่อสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อธุรกิจ เป็นการส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและการติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ในการติดต่อธุรกิจซื้อขาย บางครั้งลูกค้า
อาจขาดการติดต่อไป บริษัทจำเป็นต้องมีจดหมายไปถึงลูกค้าเพื่อขอทราบสาเหตุที่แท้จริงพร้อมทั้งแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาหรือเสนอบริการพิเศษ
ต่าง ๆเพื่อจูงใจให้ลูกค้ากลับมาติดต่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทอีก
ประเภทของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจแบ่งตามจุดประสงค์ของการเขียนได้ ๓ ประเภท ดังนี้
๑. จดหมายสอบถามและจดหมายตอบ
๑.๑ จดหมายสอบถาม หมายถึง จดหมายที่ติดต่อระหว่างบริษัทห้างร้านด้วยกัน หรือที่เอกชนติดต่อกับบริษัทห้างร้าน เพื่อสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการ
ทราบ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นหลังจากได้คำตอบ
๑.๒ จดหมายตอบสอบถาม หมายถึง เป็นจดหมายลักษณะเดียวกันแต่แทนที่จะสอบถาม ก็จะเขียนตอบข้อเท็จจริงของผู้ที่สอบถาม เพื่อให้ผู้ที่ติดต่อมาได้
ทราบในสิ่งที่ตนต้องการ
๒. จดหมายสั่งซื้อสินค้าและตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
๒.๑ จดหมายสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ เพื่อผู้ขายจะได้ส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อได้ถูกต้อง
๒.๒ จดหมายตอบรับการสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่ทางบริษัทตอบให้ผู้ซื้อทราบว่าได้รับการสั่งสินค้าแล้ว
๓. จดหมายสมัครงาน หมายถึง จดหมายที่บุคคลต้องการจะสมัครทำงานเขียนไปถึงบริษัทห้างร้าน เพื่อขอสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งที่ตนต้องการ
จะเห็นได้ว่าความหมายของจดหมายแต่ละประเภทมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ทางธุรกิจ หรือประโยชน์ทางธุรกิจในการเขียนจดหมายนั้น
วิธีใช้จดหมายดังกล่าวจะสอดคล้องของประเภทของจดหมาย แต่เพื่อให้มองเปรียบเทียบได้ ชัดเจนขึ้นขอให้ดูตารางหน้าถัดไป
รูปแบบและส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจ
หน่วยงานแต่ละแห่งในปัจจุบัน นิยมใช้จดหมายธุรกิจรูปแบบที่หลากหลาย สุดแล้วแต่ว่ารูปแบบใดจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วและเหมาะสมที่สำคัญคือควรใช้กระดาษปอนด์อย่างดีเป็นกระดาษที่พิมพ์หัวจดหมายของบริษัทและจัดวางรูปแบบให้สวยงาม ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป
จดหมายธุรกิจมีรูปแบบและส่วนประกอบแต่งต่างจากบันทึก เพราะมีรายละเอียดมากกว่า รูปแบบและส่วนประกอบหลักของจดหมายธุรกิจ มีดังนี้
๑. รูปแบบของจดหมายธุรกิจ รูปแบบของจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันทั่วไป พอสรุปได้มี ๓ รูปแบบ ดังนี้
๑.๑ แบบบล็อก (Block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ทุกบรรทัดชิดเส้นกั้นหน้า ยกเว้นเฉพาะที่อยู่ผู้ส่ง (กรณีที่ใช้หัวจดหมายที่พิมพ์สำเร็จรูปไว้) ดังภาพประกอบที่ ๑
๑.๒ แบบกึ่งบล็อก (Modified block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ส่วนเลขที่จดหมาย ที่อยู่ของผู้รับ คำขึ้นต้น และสิ่งที่ส่งมาด้วย อยู่ชิดเส้นกั้นหน้าและส่วนที่อยู่ของผู้ส่ง วัน เดือน ปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ ชื่อเต็ม และตำแหน่ง อยู่กลางหน้ากระดาษหรือค่อนไปทางขวาเล็กน้อย ส่วนเรื่อง จะพิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ในส่วนข้อความต้องพิมพ์ให้บรรทัดแรกของข้อความแต่ละย่อหน้าร่นเข้าไปประมาณ ๕–๑๐ ระยะตัวอักษร ดังภาพประกอบที่ ๒
๑.๓. แบบย่อหน้า (Indented style) เป็นรูปแบบเหมือนกับแบบกึ่งบล็อก แต่อาจนำเอาส่วนเรื่อง พิมพ์อยู่เหนือคำขึ้นต้นก็ได้ ดังภาพประกอบที่ ๓
ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูแบบฟอร์มจดหมายตัวอย่าง (เป็นเอกสาร MS-Word)
ภาพที่ ๑ จดหมายธุรกิจแบบบล็อก
ภาพที่ ๒ จดหมายธุรกิจแบบกึ่งบล็อก
ภาพที่ ๓ จดหมายธุรกิจแบบย่อหน้า
ภาพที่ ๔ การใช้กระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป
ภาพที่ ๕ การเว้นที่ว่างในจดหมายธุรกิจ
๒. ส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจโดยทั่วไป มีส่วนประกอบดังนี้
๒.๑ ที่อยู่ผู้ส่ง เป็นการระบุชื่อและที่*ตั้งของบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการเจ้าของจดหมาย เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าจดหมายฉบับดังกล่าวมาจากที่ใด และจะตอบจดหมายส่งหลับไปยังที่ใด โดยอาจอยู่กลางหน้ากระดาษ ทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวามือก็ได้ ตามปกติบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการทั่วไปนิยมใช้กระดาษพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูปไว้แล้ว ซึ่งมีการออกแบบต่าง ๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่นิยมใส่ตราบริษัท (Logo) หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรพิมพ์ หรือโทรสารของบริษัทไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการติดต่อและเพื่อเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปในตัว และเนื่องจากในปัจจุบันนอกจากการติดต่อต่อธุรกิจภายในประเทศแล้ว การติดต่อค้าขายยังขยายกว้างไปสู่นานาประเทศมากขึ้น และเพื่อให้เกิดความสะดวกอย่างเต็มที่บริษัทส่วนใหญ่จึงนิยมพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูป ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป หากเป็นกรณีที่ไม่มีกระดาษพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูปไว้ ให้พิมพ์ชื่อและที่ตั้งของบริษัทเอง โดยมีรายละเอียดไม่เกิน ๓-๔ บรรทัด
๒.๒ เลขที่จดหมาย/ปี พ.ศ. ให้เขียนเลขที่จดหมายและปีพุทธศักราชที่จัดทำจดหมายฉบับ ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บเอกสารและอ้างอิงต่อไป เลขที่จดหมายนิยมกำหนดขึ้น โดยเรียงตามลำดับของจดหมายที่จัดทำขึ้นในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่เลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึงปีปฏิทิน อย่างไรก็ตามแต่ละหน่วยงานหรือกิจการอาจมีวิธีการกำหนดเลขที่จดหมายแตกต่างกันออกไป
๒.๓ วัน เดือน ปี หมายถึง วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงหรือการติดต่ออันอาจมีขึ้นในภายหลัง ให้ลงเฉพาะตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปี พ.ศ.
๒.๔ ที่อยู่ผู้รับ หมายถึง การระบุชื่อ ตำแหน่ง และที่อยู่ของผู้รับเพื่อประโยชน์สำหรับการเก็บจดหมายไว้เป็นหลักฐาน ในส่วนของที่อยู่ผู้รับนี้ นิยมระชื่อตำแหน่งและที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งรวมถึงรหัสไปรษณีย์ด้วย ควรให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและไม่ควรใช้ตัวย่อหากไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใดควรตรวจสอบหาข้อมูลที่ถูกต้องไม่ควรใช้วิธีการคาดเดา เพราะอาจทำให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งย่อมส่งผลให้ผู้รับจดหมายเกิดความไม่พอใจได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจดหมายธุรกิจบางรายไม่นิยมใส่ที่อยู่ผู้รับไว้เนื่องจากไม่เห็นความจำเป็นทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ความสะดวก ความเหมาะสม และความต้องการของผู้เขียนแต่ละรายด้วย
๒.๕ เรื่อง หมายถึง เรื่องหรือสาระสำคัญสั้น ๆ ของจดหมายฉบับนั้น มีลักษณะคล้ายกับเรื่องในจดหมายติดต่อราชการหรือบันทึก เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้รับ ก่อนที่จะอ่านเนื้อความในจดหมายเพื่อให้พอทราบว่าจดหมายฉบับนั้นมีจุดประสงค์อย่างไร เรื่องควรมีลักษณะสั้น กะทัดรัด แต่ได้ใจความสำคัญ ครอบคลุมรายละเอียดและจุดประสงค์ของจดหมาย ควรมีความยางอยู่ระหว่าง ๑/๒ - ๑ บรรทัด แต่หากสาระสำคัญมาก อาจมีความยาวถึง ๒ บรรทัดได้ แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกินกว่านี้ ในจดหมายธุรกิจส่วนมากนิยมวางตำแหน่งของเรื่องไว้ก่อนขึ้นส่วนข้อความ อย่างไรก็ดี อาจมีหน่วยงานบางแห่งยึดถือตามรูปแบบของจดหมายติดต่อราชการ กล่าวคือ วางตำแหน่งของเรื่องไว้ก่อนส่วนคำขึ้นต้น ทั้งนี้สุดแล้วแต่ความต้องการของแต่ละหน่วยงาน
๒.๖ คำขึ้นต้น เป็นการทักทายที่แสดงการเริ่มต้นจดหมาย มีลักษณะเช่นเดียวกับการเริ่มต้นการสนทนาด้วยการกล่าวว่า “สวัสดี” แต่การใช้คำขึ้นต้นในจดหมายธุรกิจทั่วไปนิยมใช้ “เรียน”ตามด้วยตำแหน่งหรือชื่อของผู้ที่จดหมายนั้นมีถึง แต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้ถูกต้องกับระดับชั้นของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
๒.๗ เนื้อหาหรือใจความสำคัญ หมายถึง ส่วนที่เสนอเนื้อหาหรือสาระสำคัญของจดหมายที่เขียน ตามปกติแล้ว จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย อาจมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้ ในการพิมพ์จดหมายให้เว้นแต่ละบรรทัดห่างกัน ๑ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว และแต่ละย่อหน้าห่างกัน ๒ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว
๒.๘ คำลงท้าย เป็นการอำลาผู้อ่าน โดยทั่วไปนิยมใช้คำว่า “ขอแสดงความนับถือ” แต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้สอดคล้องกับคำขึ้นต้น และถูกต้องกับระดับชั้นของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
๒.๙ ลายมือชื่อ เป็นการลงลายมือชื่อเจ้าของจดหมาย
๒.๑๐ ชื่อเต็ม หมายถึง การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่ออันได้แก่ ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าบอกสถานภาพตลอดจนตำแหน่ง โดยพิมพ์ห่างจากคำลงท้ายประมาณ ๔ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยวทั้งนี้เพื่อเว้นที่ว่างไว้สำหรับลงลายมือชื่อ นอกจากการพิมพ์ชื่อเต็มแล้ว บริษัทบางแห่งนิยมพิมพ์ชื่อบริษัทไว้ในส่วนนี้ด้วย โดยอาจพิมพ์ให้อยู่เหนือหรือใต้ชื่อที่พิมพ์เต็ม
๒.๑๑ ข้อสังเกตอื่น ๆ ในส่วนต่อจากลายมือชื่อและการพิมพ์ชื่อเต็ม ผู้เขียนจดหมายธุรกิจอาจรวมข้อสังเกตอื่น ๆ ไว้ชิดเส้นกั้นหน้าด้วยในกรณีที่มีความจำเป็นอันได้แก่
๒.๑๑.๑ สิ่งที่ส่งมาด้วย หมายถึง ส่วนที่ระบุชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปพร้อมกับจดหมายฉบับนั้น ในกรณีที่มีสิ่งของหรือเอกสารมากกว่า ๑ รายการ นิยมบอกเป็นเลขลำดับ อย่างไรก็ดี บางหน่วยงานที่ยึดถือตามรูปแบบของจดหมายติดต่อราชการ อาจวางตำแหน่งของสิ่งที่ส่งมาด้วยต่อจากส่วนคำขึ้นต้น
๒.๑๑.๒ อักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ หมายถึง ส่วนที่ระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ ให้นำพยัญชนะต้นของชื่อและชื่อสกุลของผู้ลงนามและผู้พิมพ์มาเขียนย่อไว้ โดยระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามไว้เป็นอันดับแรกและอักษรย่อชื่อผู้พิมพ์ไว้เป็นอันดับหลังเช่น ถ้าผู้ลงนามมีชื่อว่านายวิฑูรย์ มานะวิทย์ ก็จะได้อักษรย่อชื่อผู้ลงนามว่า วม และถ้าผู้พิมพ์มีชื่อว่า นางสาวสุนทรี วิริยะ อักษรย่อชื่อผู้พิมพ์ คือ สว ดังนั้น จึงสามารถระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ได้ว่า วม/สว
๒.๑๑.๓ สำเนาส่ง หมายถึง ส่วนที่แจ้งให้ผู้รับจดหมายทราบว่า ผู้ส่งได้จัดทำสำเนาจดหมายส่งไปให้หน่วยงานหรือบุคคลใดทราบบ้างแล้ว โดยพิมพ์ชื่อของหน่วยงานหรือชื่อหรือตำแหน่งของบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อเป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หากมีสำเนาจดหมายส่งไปให้หน่วยงานหรือบุคคลมากกว่าหนึ่ง นิยมบอกเป็นเลขลำดับเพื่อความชัดเจน
๒.๑๑.๔ ปัจฉิมลิขิต ซึ่งใช้อักษรย่อว่า ป.ล. หมายถึง ส่วนข้อความที่ผู้เขียนต้องการเพิ่มเติมหรือเน้นเป็นพิเศษ ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ควรใช้ส่วนนี้ในจดหมายธุรกิจ เพราะอาจทำให้ผู้รับ จดหมายเกิดความรู้สึกว่า ผู้เขียนไม่รอบคอบพอ จึงลืมระบุประเด็นบางอย่างไว้ในตัวจดหมายและ จำเป็นต้องมาเพิ่มไว้ในต้อนท้าย การระบุส่วนปัจฉิมลิขิตอาจใช้ได้กรณีของจดหมายเสนอขายเท่านั้น เช่น ในกรณีที่ต้องการย้ำเตือนผู้อ่านเกี่ยวกับข้อเสนอพิเศษในการเสนอขายของบริษัท
๓. การใช้กระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป
ตามปกติ จดหมายธุรกิจควรสั้นและกระชับ และไม่ควรมีความยาวเกินกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ แต่ในบางโอกาสซึ่งมีน้อยมาก จดหมายอาจมีความยาวมากกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ ในกรณีเช่นนี้ ในกระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป ต้องมีข้อความไม่น้อยกว่า ๓ บรรทัด และให้ใช้กระดาษที่ไม่มีตัวจดหมายสำเร็จรูป แต่เป็นกระดาษชนิดและขนาดเดียวกันกับแผ่นแรก และประกอบด้วยข้อมูล ๓ อย่าง ชื่อต้องพิมพ์ไว้ที่ส่วนบนของกระดาษ ห่างจากของกระดาษด้านบนประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง คือ ๑ ชื่อหรือตำแหน่งของผู้รับจดหมาย แล้วแต่กรณี โดยให้สอดคล้องกับแผ่นแรก คือ ๒ เลขหน้าซึ่งใช้คำว่า “หน้า” ตามด้วยหมายเลขบอกหน้า คือ ๓ วัน เดือน ปี ดังภาพที่ ๔
๔. ข้อควรปฏิบัติในการพิมพ์จดหมายธุรกิจ
การพิมพ์จดหมายธุรกิจมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
๔.๑ ใช้กระดาษอย่างดีสีขาว ขนาด ๘.๕ x ๑๑ นิ้ว หรือกระดาษมาตรฐาน A๔ และเป็นสีเดียวกับซอง
๔.๒ ใช้กระดาษเพียงหน้าเดียว
๔.๓ รักษาความสะอาด และระมัดระวังในเรื่องของรูปแบบการจัดวางรูปจดหมาย ตัวสะกด การันต์ และการแบ่งวรรคตอน
๔.๔ เว้นเนื้อที่ว่างขอบกระดาษด้านบนและของกระดาษด้านซ้าย ไม่น้อยกว่า ๑.๕ นิ้ว ดังภาพประกอบที่ ๕
๔.๕ จัดทำสำเนาจดหมายส่งออกทุกครั้ง เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการติดต่อ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการอ้างอิงหรือติดตามเรื่องต่อไป
จดหมายติดตามหนี้
การเขียนจดหมายติดตามหนี้ที่ค้างชำระ มีวิธีเขียนเป็นขั้นตอนดังนี้ เริ่มจากการเท้าความถึงเรื่องที่ตกลงไว้แต่เดิม พร้อมทั้งแจ้งเหตุที่มีการเตือนหรือทวงด้วยการเขียนจดหมาย โดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ และไม่ตำหนิอีกฝ่ายหนึ่ง ควรเขียนไปเตือนสองหรือสามครั้ง หากยังไม่ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายอาจจะบอกว่าจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย
จดหมายแสดงไมตรีจิต
จดหมายไมตรีจิต เป็นจดหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายโดยตรง แต่เขียนขึ้นเพื่อกระชับความสำพันธ์ระหว่างบุคคล และหน่วยงานให้แน่นแฟ้นขึ้น เพื่อประโยชน์ทางการค้าต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงเขียนด้วยความจริงใจ เพื่อแสดงให้ผู้รับเห็นว่าตนมีความสำคัญ ไม่ควรเขียนเพื่อเชิญชวนหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ แต่ควรเขียนเพื่อให้ผู้รับระลึกถึงผู้เขียน
จดหมายไมตรีจิตมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีหลักการเขียนดังนี้ (วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา ๒๕๔๔ : ๑๓๗ - ๑๓๙ )
๑. จดหมายแสดงความยินดี เขียนเนื่องในโอกาสที่บุคคลหรือหน่วยงานประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสถาบัน หรือมีการขยายกิจการ เป็นต้น ควรเขียนถึงเหตุที่ทราบข่าวที่น่ายินดีนั้น มีความรู้สึกอย่างไร และสนับสนุนว่าบุคคลหรือหน่วยงานนั้นมีความเหมาะสม พร้อมทั้งกล่าวแสดงความยินดี
๒. จดหมายแสดงความเสียใจ เป็นการเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ติดต่อธุรกิจการค้ากันต้องประสบเคราะห์กรรมจากการสูญเสีย หรือเจ็บป่วย เช่น บริษัทประสบอัคคีภัย ญาติพี่น้องเสียชีวิต หรือรถขนส่งสินค้าประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น การเขียนต้องแสดงความเสียใจในข่าวที่ได้รับแสดงความเห็นใจ และความปรารถนาที่จะช่วยเหลือตามความสามารถ
๓. จดหมายขอความร่วมมือหรือความช่วยเหลือ เป็นการเขียนจดหมายเพื่อขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือจากบุคคล หรือหน่วยงานเพื่อทำกิจกรรมใดกิจการหนึ่ง เช่น ขอความร่วมมือในการให้ข้อมูล จัดนิทรรศการออกร้าน หรือขอเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น การเขียนจึงต้องเริ่มต้นด้วยความจำเป็นหรือเหตุที่ต้องขอความช่วยเหลือ โดยระบุรายละเอียดหรือเหตุผลตามความเหมาะสม และลงท้ายด้วยการขอบคุณล่วงหน้า
๔. จดหมายขอบคุณ เป็นการเขียนจดหมายขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือ หรือร่วมมือในกิจการใด ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการซื้อขายหรือไม่เกี่ยวกับการค้าก็ได้
๕. จดหมายเชิญ เป็นการเขียนจดหมายเพื่อเชิญร่วมงานในโอกาสต่าง ๆ เป็นจดหมายคู่บัตรเชิญก็ได้ ถ้าเป็นจดหมายควรเกริ่นนำถึงโอกาส วัน เวลาของงานนั้น และให้รายละเอียดที่สำคัญ พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ขอเชิญไปร่วมในงาน
ตัวอย่าง จดหมายติดตามหนี้ ( ครั้งที่ ๑ )
ตัวอย่าง จดหมายติดตามหนี้ (ครั้งสุดท้าย)
ตัวอย่าง จดหมายไมตรีจิต กรณีที่ต้องการแสดงความยินดี
จดหมายสมัครงาน
ความมุ่งหมายของจดหมายสมัครงาน คือ เพื่อทำให้เจ้าของงานให้โอกาสผู้เขียนจดหมายเข้ารับการสัมภาษณ์ การเขียนจดหมายสมัครงานเป็นวิธีการหนึ่งที่หน่วยงานจะสามารถกลั่นกรองข้อมูลของผู้สมัครก่อนจะเรียกสัมภาษณ์ในการเขียนจดหมายสมัครงานแม้จะอ้างถึงข้อมูลในประวัติส่วนตัว แต่ผู้เขียนควรเลือกเฉพาะที่ตรงกับความประสงค์ ของรับสมัครมากที่สุดโดยปกติจะตรงกับที่เจ้าของงานแจ้งไว้
ส่วนประกอบของจดหมายสมัครงาน อาจแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. คำนำ ควรพูดถึงเรื่องสำคัญ 2 ประการ
1.1 ชื่อตำแหน่งที่ต้องการสมัคร
1.2 แหล่งข่าวที่ทำให้ผู้สมัครทราบว่ามีตำแหน่งดังกล่าว
2. เนื้อหา ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ ผู้เขียนจดหมายควรบอกข้อมูลของงาน ข้อมูลประวัติส่วนตัวสถานภาพทางกฎหมาย (เป็นโสดหรือแต่งงานแล้ว) การศึกษาโดยย่อเริ่มจากระดับมัธยม วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ประสบการณ์ที่เหมาะกับตำแหน่งงาน ความสามารถพิเศษที่จะช่วยเสริมตำแหน่งงานได้ โดยคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนว่าผู้เขียนเหมาะสมกับตำแหน่งงานจริง ๆ ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวควรตัดออกให้หมด
3. สรุป ส่วนนี้คือ การแสดงจุดประส่งในการเขียนจดหมาย กล่าวคือ การได้มีโอกาสเข้ารับการสัมภาษณ์ จึงควรจบด้วยการขอโอกาสเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรระบุหมายเลขโทรศัพท์และเวลาที่ทางเจ้าของานสามารถติดต่อผู้เขียนได้สะดวก
หากผู้เขียนมีผู้รับรองงาน อาจเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เคยทำงาน ขอให้ระบุชื่อ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ที่จะติดต่อได้สะดวก จะเป็นผลดีต่อผู้เขียนจดหมาย ทั้งนี้ควรแจ้งให้ผู้รับรองทราบล่วงหน้า
วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน
1. เริ่มต้นบอกก่อนว่าได้รับทราบข่าวตำแหน่งที่ว่างจากที่ใด หรือจากใครพร้อมทั้งระบุว่าตนเองสมัครเพราะสนใจ และคิดว่ามีความสามารถตามที่ผู้รับต้องการ
2. บอกรายละเอียดส่วนตัว เกี่ยวกับอายุ สภาวะทางกำหมาย ( เป็นโสดหรืแต่งงานแล้ว ) การศึกโดยย่อ โดยเริ่มจากระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ร่วมทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตร เวลาเขียนควรเน้นวิชาที่เหมาะสมกับงานในหน้าที่ หรือความดีเด่นในการศึกษา หรือพูดถึงความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่คิดว่าจะเป็นข้อที่ประการพิจารณา สิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นความจริงด้วย ไม่ใช่เขียนเพราะต้องการให้เขารับ
3. ประสบการณ์ในการทำงาน ควรจะเขียนไว้ด้วย เพราะบริษัทห้างร้าน มักจะสนใจผู้ที่เคยผ่านหรือมีประสบการณ์มาแล้ เพราะไม่เสียเวลาฝึกอีก
หากไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนเลย ก็อาจพูดถึงการทำกิจกรรมสมัยที่ศึกษาอยู่ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ในการทำกิจกรรมจะเป็นผลดีในการทำงานต่อไป
ถ้าเคยทำงานมาแล้วและลาออกจากงานที่เก่า ควรเขียนในลักษณะที่ต้องการประสบการณ์เพิ่มขึ้น ไม่ควรเขียนถึงที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานในแง่ไม่ดี
4. ผู้รับรอง ควรระบุชื่อผู้เคยเป็นหัวหน้างานที่เราเคยฝึกงานหรือเคยทำงานร่วมกับเขาหากยังไม่เคยทำงานควรอ้างอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ที่เคยสอนเรามา และท่านรู้จักเราดี การอ้างชื่อผู้รับรองควรจะเขียนให้เจ้าตัวทราบและขออนุญาตก่อน นอกจากนั้นจะต้องแจ้งตำแหน่งหน้าที่ที่ทำงาน หรือที่อยู่พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่บริษัทจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้
5. การลงท้าย ควรเขียนในลักษณะที่ขอให้นัดเรามารับสัมภาษณ์ ทดลองงานพร้อมกับบอกวันเวลาที่เราสะดวกในการให้เขาติดต่อมา อาจจะแสดงความตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มความสามารถ และควรแสดงความหวังว่าตนเองจะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการพิจารณา
ในปัจจุบันการสมัครงานบางครั้งนิยมใช้ใบประวัติย่อแนบไปด้วย
ตัวอย่าง จดหมายสมัครงาน ๑
ตัวอย่าง จดหมายสมัครงาน ๒
ตัวอย่าง จดหมายสมัครงานแนบประวัติย่อ
จดหมายสั่งซื้อสินค้า และตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
จดหมายสั่งซื้อสินค้า มีวิธีการเขียนดังนี้
๒.๑.๑ ควรเริ่มต้นจดหมายด้วยการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ทันที
๒.๑.๒ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า และการสั่งซื้อให้ชัดเจนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการสั่งซื่อ นอกจากจะให้รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ยังต้องเรียงลำดับให้ง่ายแก่การเข้าใจด้วยเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละคน เช่น อาจทำได้ดังนี้
- เลขรหัสของสินค้า
- ชื่อสินค้า (เครื่องหมายการค้า)
- จุดที่ต้องการเป็นพิเศษ (สี ขนาด น้ำหนัก ฯลฯ)
-ราคาต่อหน่วย
๒.๑.๓ ช่วงท้ายควรจบจดหมายด้วยข้อความที่เป็นมิตรสั้น ๆ เกี่ยวกับการสั่งซื้อ และ อาจจะกล่าวเรื่องกำหนดเวลาที่ต้องการให้สินค้าส่งมาถึง โดยเขียนในรูปของการขอร้องมิใช่คำสั่ง
จดหมายตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
จะเขียนในลักษณะยืนยันเกี่ยวกับการสั่งซื้อของลูกค้ารายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่สั่งมาและวิธีการส่ง และชี้แจงสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้าเรื่องสินค้า เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทได้รับจดหมายสั่งซื้อแล้วจริงกำลังจะส่งมาให้ บางแห่งนิยมแนบสำเนาจดหมายสั่งซื้อมาด้วย
การตอบรับการสั่งซื้อสินค้าทั่ว ๆ ไป นิยมยืนยันการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า หากเป็นการตอบรับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้ารายใหม่ควรแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจลูกค้าเสมอ เขียนข้อความในทำนองยินดีที่จะบริการอย่างดีและเป็นกันเอง ส่วนการตอบรับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้ารายใหญ่ ควรแสดงความขอบคุณที่ลูกค้าซื้อสินค้าของบริษัท แสคงความยินดีที่ลูกค้ามีความสามารถในการจำหน่าย๒
ที่มา : จินตนา บุญบงการ การติดต่อในธุรกิจ (กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๒) หน้า ๙๔-๙๕
. แสงจันทร์ ณ สงขลา ภาษาไทย ๑ (กรุงเทพมหานคร ม.ป.ท. ๒๕๓๓ ) หน้า
ตัวอย่าง จดหมายสั่งซื่อที่แนบใยสั่งซื้อไปด้วย
ตัวอย่าง ใบสั่งซื้อที่แนบไปพร้อมจดหมาย
ตัวอย่าง จดหมายตอบรับการสั่งซื้อ(โอกาสขอบคุณลูกค้ารายใหญ่)
ตัวอย่าง จดหมายสั่งซื้อ (หลายรายการ)
ซองจดหมายและการจ่าหน้าซอง
ซองจดหมายถือเป็นส่วนหนึ่งของจดหมายที่จะขาดเสียไม่ได้ ในการเลือกใช้ซองจดหมายใช้ซองจดหมายสีขาวหรือสีเดียวกับกระดาษจดหมายและเป็นซองขนาดมาตรฐาน ซึ่งมี 2 ขนาด คือขนาดเล็ก (6 ?*3 5/8 นิ้ว) และซองขนาดใหญ่ (9 ?*4 ? นิ้ว)
เนื่องจากซองจดหมายเป็นสิ่งแรกที่ปรากฏต่อสายตาของผู้รับจดหมาย การจ่าหน้าซองจดหมายจึงมความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเสมือนตัวแทนของเจ้าของหรือผู้เขียนจดหมาย การจ่าหน้าซองจดหมายย่อมแสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและบุคลิกภาพที่ดีของเจ้าของจดหมาย


การจ่าหน้าซองจดหมาย มีข้อปฏิบัติดังนี้
5.1 วางรูปแบบในการจ่าหน้าซองให้ถูกต้อง ที่นิยมใช้มี 2 รูปแบบคือ แบบตั้ง แบบเฉียง ดังภาพประกอบที่ 6
5.2 เว้นเนื้อที่ว่างหน้าซองให้สวยงามและได้สัดส่วน และรักษาความสะอาดไม่ให้มีรอยลบแก้ไขหรือขีดฆ่า
5.3 ให้รายละเอียดทั้งชื่อและที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง โดยให้พิมพ์ชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ประมาณกึ่งกลางซองจดหมาย คือในระยะจุดตัดระหว่างแนวตั้งกับแนวนอนหรืออาจเยื้องไปทางด้านซ้ายของจดหมายของจุดตัดประมาณ 5 ระยะตัวอักษร ส่วนชื่อและที่อยู่ผู้ส่ง ให้พิมพ์ไว้มุมบนซ้ายมือ บริษัทห้างร้านส่วนใหญ่จะมีหัวซองจดหมายพิมพ์สำเร็จรูป บอกถึงที่อยู่ของผู้ส่งและตราบริษัทไว้เรียบร้อยแล้ว ในการเขียนรายละเอียดของที่อยู่ ควรระบุรหัสไปรษณีย์ตามที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นโดยแจ้งที่บรรทัดสุดท้ายของชื่อที่อยู่ผู้รับและชื่อที่อยู่ผู้ฝากส่งทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานคัดแยกและจัดส่งสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
5.4 ผนึกดวงตราไปรษณีย์ยากรไว้ที่มุมบนขวามือ
หัวใจสำคัญของการเขียนจดหมายธุรกิจ
การเขียนจดหมายธุรกิจที่ดี ต้องคำนึงถึงหัวในสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน สมบูรณ์และสอดคล้องกับจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ของจดหมาย อาจกระทำได้โดย
1.1การกำหนดจุดหมาย ผู้เขียนควรเริ่มด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการเขียนจดหมายให้ชัดเจนก่อนลงมือเขียน การกำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพียงประโยคเดียวมีส่วนช่วยได้อย่างมาก ดังเช่น “จุดมุ่งหมายของจดหมายฉบับนี้เพื่อสอบถามราคาและวิธีการสั่งซื้อปูนซีเมนต์” หรือ “เราเขียนจดหมายฉบับนี้เพราะต้องการได้รับสินค้าที่สั่งซื้ออย่างช้าที่สุดไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2536” หรือ “เราต้องการเขียนจดหมายฉบับนี้เพื่อเรียกเก็บหนี้จากผู้รับจดหมาย” และเมื่อมีแนวทางในการเขียนที่ชัดเจนแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้เขียนยึดตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ไม่เขียนเบี่ยงเบนไปจากจุดมุ่งหมาย อันอาจทำให้ผู้รับจดหมายสับสนหรือข้องใจได้
1.2 รวบรวมข้อเท็จจริง บางครั้งการกำหนดจุดมุ่งหมายให้ขัดเจนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ผู้เขียนจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลความจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ ผู้เขียนมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ เช่น กำหนดวันที่แน่นอน หรือข้อมูลอ้างอิงที่สามารถนำมาใช้ เพื่อช่วยให้จดหมายที่เขียนขึ้นมีความกระจ่างขัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. ผู้รับจดหมาย จดหมายถือเป็นเอกสารค่อนข้างเฉพาะตัว ต่างจากบันทึกที่ ถือเป็นเอกสารเปิดเผยที่เขียนเผยแพร่ไปยังผู้อ่านทั้งภายในและระหว่างหน่วยงาน บ่อยครั้งจะเห็นว่ามีการติดบันทึกไว้บนบอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้บุคลากรของหน่วยงานทราบ ด้วยเหตุที่จดหมายเป็นเอกสารส่วนตัวส่งถึงบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลเป็นการเฉพาะ ผู้เขียนจดหมายจึงควรให้ความสำคัญอย่างมากต่อผู้รับจดหมายในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
2.1 ภูมิหลังของผู้รับจดหมาย ความรู้เกี่ยวกับเพศวัยระดับการศึกษาอาชีพ บุคลิกลักษณะทัศนคติ ความสามารถ ความต้องการของผู้รับจดหมายล้วนมีส่วนสำคัญใน การเขียนจดหมาย ทำให้ผู้เขียนสามารถพิจรณาแนวทางการเขียนที่เหมาะสมกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแต่ละลักษณะ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างดี
2.2. ความสนใจในตนเองของผู้รับจดหมาย ผู้รับจดหมายมักให้ความสนใจใน ตนเองหรือเรื่องราว เหตุการณ์ที่ตนเองเกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งย่อมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนที่ให้ความสนใจในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ผู้เขียนควรกำหนดเป้าหมายโดยพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้รับจดหมาย เป็นสำคัญ เน้นถึงประโยชน์ที่ผู้รับจะได้รับมากกว่าเน้นถึงประโยชน์ที่ผู้เขียนจะได้รับ เพื่อเป็นการโน้มน้าวใจผู้รับจดหมายให้คล้อยตามและปฏิบัติตามความต้องการของผู้เขียน แม้ในกรณีที่จดหมายตอบปฏิเสธ ก็ต้องใช้ศิลปะในการเขียนเป็นพิเศษคำนึงถึงผู้รับให้มาก ที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้รับเสียหน้าหรือโกรธเคือง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันตลอดไป
2.3 ความสะดวกของผู้รับจดหมาย การอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับจดหมาย ในการตอบจดหมายและส่งกลับไปยังผู้เขียน เช่น การอ้างอิงถึงจดหมายที่เคยติดต่อกันมาก่อน เพื่อช่วยให้สามารถค้นหาเรื่องเดิมได้รวดเร็วขึ้น การแนบซองบริการธุรกิจตอบรับไปพร้อมกับจดหมายที่มีไปถึงลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถตอบจดหมายได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการจะหาซองจดหมายและสแตมป์ (ดังภาพประกอบที่ 7) หรือแม้กระทั่งในการเขียนจดหมายสั่งซื้อสินค้า หากบริษัทผู้ขาย มีแบบฟอร์มการสั่งซื้อของบริษัทอยู่แล้ว ผู้สั่งซื้อก็ควรกรอกรายละเอียดแยกตามรายการลงในแบบฟอร์มการสั่งซื้อให้ชัดเจนและครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่บริษัทผู้ขายในการตรวจสอบและจัดส่งสินค้าซึ่งย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้สั่งซื้อได้รับสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3. การใช้ภาษา หมายถึง การเลือกใช้ถ้อยคำ ภาษา โครงสร้าง ประโยค ตัวสะกดการันต์ และเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา ตามความนิยมและ เหมาะสมกับผู้รับจดหมายจดหมายธุรกิจที่ดีควรใช้ภาษาง่าย ชัดเจน กะทัดรัด สุภาพ ถูกต้อง และให้ความรู้สึกในเชิงบวก หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำ ภาษา ซึ่งส่อไปในทางโจมตีผู้รับจดหมาย เพราะจะทำให้ผู้รับขัดเคืองใจได้ นอกจากนี้ควรระมัดระวังในเรื่องของน้ำเสียงของจดหมาย อย่าให้กร้าวจนเกินไป นอกเสียจากเป็นจดหมายติดตามหนี้ซึ่งพยายามติดต่อถึงลูกค้า เพื่อขอให้ลูกค้ารีบชำระหนี้สินที่ค้างชำระอยู่หลายครั้งแล้ว แต่ก็ได้รับการเพิกเฉยมาโดยตลอด
4. ลักษณะและรูปแบบของจดหมาย หมายถึง ลักษณะภายนอกทั่วไปของ จดหมายธุรกิจซึ่งเน้นที่ความสะอาด เรียบร้อย และสวยงามเป็นสำคัญ การเลือกใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสมตลอดจนการให้รายละเอียดของส่วนประกอบแต่ละส่วนได้อย่างถูกต้องครบถ้วน การวางโครงสร้างจดหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่านของผู้รับจดหมาย ให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านเท่าที่จำเป็นมีการวางแผนการเขียนที่ดี โดยทั่วไป ควรจำกัดความยาวของจดหมายไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
วิธีการเขียนจดหมายธุรกิจ
ในการเขียนจดหมายธุรกิจนั้นแต่ละประเภทมีลักษณะการเขียนที่เฉพาะแตกต่างกันออกไป จะกล่าวถึงแต่ละประเภทดังนี้
1.จดหมายสอบถามและจดหมายตอบสอบถาม
1.1 จดหมายสอบถาม มีวิธีการเขียนดังนี้
1.1.1 ในส่วนแรกควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนจดหมาย และอาจเขียนถึงแหล่งที่เราได้พบข่าวสินค้ามา เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา ฯลฯ แล้วกล่าวถึงสินค้าหรือบริการที่เราสนใจหรือพอใจ
1.1.2 ส่วนที่ต้องการถามควรแยกเป็นเรื่อง ๆ แล้วลำดับเป็นข้อ ๆ โดยใช้คำถามสั้นชัดเจน และตรงประเด็น
1.1.3 ผู้เขียนควรระบุสถานที่ที่บริษัทจะส่งจดหมายตอบกลับมาให้ชัดเจน อาจเป็นที่อยู่ตอนส่วนบนของจดหมาย หรืออาจเขียนให้ใหม่ในข้อความ
1.1.4 ส่วนท้ายอาจกล่าวขอบคุณและแสดงความหวังว่าจะได้รับคำตอบจากบริษัทโดยเร็ว
1.2 จดหมายตอบสอบถาม มีวิธีการเขียนดังนี้
1.2.1 ตอบให้ตรงเป้าหมายที่ผู้เขียนถามมา เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้า
1.2.2 อาจแทรกแผ่นปลิวโฆษณา แคคลอก หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของลูกค้า
1.2.3 ควรเขียนบอกสถานที่ที่ลูกค้าอาจมาเยี่ยมชม หรือมาทดลองสินค้าของเรา
1.2.4 ตอนท้ายควรเขียนขอบคุณที่ลูกค้าสนในสินค้าหรือบริการของเรา และแสดงความหวังว่าบริษัทคงมีโอกาสให้บริการลูกค้าอีก
ภาพที่ 1 การจ่าหน้าซองจดหมายธุรกิจแบบตั้งและแบบเฉียง
ภาพที่ 2 ซองบริการธุรกิจตอบรับ
ตัวอย่าง จดหมายสอบถามเกี่ยวกับการซื้อขาย
ตัวอย่าง จดหมายตอบสอบถามเกี่ยวกับการซื้อขาย

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจ

Semi-Block Format
March 16, 2001
Ernie English
1234 Writing Lab Lane
Write City, IN 12345
Dear Mr. English:
(Indent) The first paragraph of a typical business letter is used to state the main point of the letter. Begin with a friendly opening; then quickly transition into the purpose of your letter. Use a couple of sentences to explain the purpose, but do not go in to detail until the next paragraph.
(Indent) Beginning with the second paragraph, state the supporting details to justify your purpose. These may take the form of background information, statistics or first-hand accounts. A few short paragraphs within the body of the letter should be enough to support your reasoning.
(Indent) Finally, in the closing paragraph, briefly restate your purpose and why it is important. If the purpose of your letter is employment related, consider ending your letter with your contact information. However, if the purpose is informational, think about closing with gratitude for the reader's time.
Sincerely,
Lucy Letter

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจ

Modified Block Format
March 16, 2001
Ernie English
1234 Writing Lab Lane
Write City, IN 12345
Dear Mr. English:
The first paragraph of a typical business letter is used to state the main point of the letter. Begin with a friendly opening; then quickly transition into the purpose of your letter. Use a couple of sentences to explain the purpose, but do not go in to detail until the next paragraph.
Beginning with the second paragraph, state the supporting details to justify your purpose. These may take the form of background information, statistics or first-hand accounts. A few short paragraphs within the body of the letter should be enough to support your reasoning.
Finally, in the closing paragraph, briefly restate your purpose and why it is important. If the purpose of your letter is employment related, consider ending your letter with your contact information. However, if the purpose is informational, think about closing with gratitude for the reader's time.
Sincerely,

Lucy Letter

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจ

Block Format
Ernie English
1234 Writing Lab Lane
Write City, IN 12345
March 16, 2001
Dear Mr. English:
The first paragraph of a typical business letter is used to state the main point of the letter. Begin with a friendly opening; then quickly transition into the purpose of your letter. Use a couple of sentences to explain the purpose, but do not go in to detail until the next paragraph.
Beginning with the second paragraph, state the supporting details to justify your purpose. These may take the form of background information, statistics or first-hand accounts. A few short paragraphs within the body of the letter should be enough to support your reasoning.
Finally, in the closing paragraph, briefly restate your purpose and why it is important. If the purpose of your letter is employment related, consider ending your letter with your contact information. However, if the purpose is informational, think about closing with gratitude for the reader's time.
Sincerely,

Lucy Letter
123 Winner's Road
New Employee Town, PA 12345